คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เพื่อศึกษาวิจัยการบริหารจัดการน้ำท่วม-น้ำแล้งด้วยนวัตกรรมเติมน้ำใต้ดิน บริเวณพื้นที่ อบต. บ้านผึ้ง อำเภอเมือง จังหวัดนครพนมสำหรับแนวทางในป้องการและเตรียมความพร้อมในการรับมือกับปัญหาน้ำท่วม-น้ำแล้ง จำเป็นต้องคำนึงถึงหลักการบริหารจัดการน้ำ
เพื่อให้เกิดความสมดุลในพื้นที่ลุ่มน้ำและพื้นที่รับน้ำระดับเล็ก กลาง และใหญ่ ตามลำดับ ปัจจุบันมีแนวคิด รูปแบบและแนวทางในการป้องกัน แก้ไขปัญหาน้ำท่วมและภาวะขาดแคลนน้ำที่สามารถทำได้
หลายวิธี โดยหนึ่งในแนวทางการป้องกันและรับมือปัญหาน้ำท่วม-น้ำแล้งที่กำลังเป็นที่สนใจได้แก่ แนวคิดการขุดเจาะบ่อเดิมน้ำใต้ดินเพื่อเป็นแหล่งรองรับและกักเก็บน้ำซึ่งเป็นอีกแนวทางเลือกหนึ่งที่คณะผู้ศึกษาคาดว่าจะช่วยในการลดปัญหาน้ำท่วมและน้ำแล้งได้อย่างมีประสิทธิภาพ

คู่มีอการเลือกพื้นที่บ่อเติมน้ำใต้ดิน (ระบบปิดและระบบเปิด) และการจัดทำบ่อเติมน้ำใต้ดินระบบปิด เป็นผลจากการดำเนินการศึกษา “โครงการบริหารจัดการน้ำท่วม-น้ำแล้ง ด้วยนวัตกรรมเติมน้ำใต้ดิน บริเวณพื้นที่ อบต.บ้านผึ้ง อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม” ซึ่งคณะผู้วิจัยได้รวบรวม เก็บข้อมูล วิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลต่างๆ
เพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประชาชนและผู้สนใจ ได้ใช้คู่มือนี้ในการประกอบ-การดำเนินงานเพื่อจัดทำบ่อเติมน้ำใต้ดินในระบบปิดและระบบเปิด ซึ่งเนื้อหาสาระในคู่มือ ประกอบด้วย แนวทางและวิธีการเลือกพื้นที่เพื่อจัดทำบ่อเดิมน้ำใต้ดินทั้งในระบบปิดและระบบเปิด รวมถึงขั้นตอนและวิธีการจัดทำบ่อเติมน้ำใต้ดินระบบปิดและ

ระบบเปิดโดยคำนึงถึงผลสัมฤทธิ์ของการป้องกัน บรรเทาปัญหาน้ำท่วม-น้ำแล้ง อีกทั้งยังคำนึงถึงการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมทั้งดินและน้ำในปัจจุบันและอนาคตภายใต้การดำเนินงาน ท้ายที่สุดนี้ การจัดทำบ่อเติมน้ำใต้ดินทั้ระบบปิดและระบบเปิด คงไม่ยากอีกต่อไปสำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประชาชนและผู้สนใจ ที่จะแก้ไขปัญหาน้ำท่วม-น้ำแล้งภายในพื้นที่ของท่าน ด้วยนวัตกรรมเติมน้ำใต้ดินที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมูลนิธิพลังที่ยั่งยืนคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
1 ก่อนเลือกพื้นที่ต้องเตรียมอะไรบ้างสิ่งจำเป็นในการเลือกพื้นที่เพื่อจัดทำบ่อเติมน้ำทั้งระบบปิดและระบบเปิดนั้นคือการเข้าใจสภาพพื้นที่และปัญหาที่เกิดในพื้นที่ ดังนั้นจึงต้องมีข้อมูลดังต่อไปนี้เพื่อประกอบการวิเคราะห์สภาพพื้นที่และปัญหาที่เกิดในพื้นที่สภาพภูมิประเทศ
ระยะห่างจากแหล่งน้ำผิวดินตามธรรมชาติ (หนอง บึง – ไม่ใช่สระน้ำที่ขุดขึ้น)ตำแหน่งที่ตั้ง (ตั้งอยู่บริเวณต้นน้ำ กลางน้ำ หรือปลายน้ำ)คุณสมบัติชั้นหินให้น้ำ (ชั้นหินให้น้ำจืด กร่อย หรือเค็ม)
ปริมาณการใช้น้ำบาดาลระดับตื้น (ความหนาแน่นของบ่อขุดตื้น)ประเภทของน้ำที่ไหลลงบ่อการถือครองที่ดิน

2 เลือกพื้นที่อย่างไรทำการคัดเลือกพื้นที่โดยตรวจสอบตำแหน่งที่ตั้งของบริเวณพื้นที่เป้าหมายจากค่าปัจจัยและการให้คะแนนในแต่ละด้าน ดังแสดงในตารางที่ 1 และพิจารณาความเหมาะสมของพื้นที่ในการจัดทำบ่อเติมน้ำดังนี้
พื้นที่ที่มีความเหมาะสมน้อย ได้คะแนนน้อยกว่า 55
พื้นที่ที่มีความเหมาะสมปานกลาง ได้คะแนน55 ถึง 70
พื้นที่ที่มีความเหมาะสมมาก ได้คะแนนมากกว่า 70
สำหรับการคัดเลีอกพื้นที่ดำเนินการก่อสร้างบ่อระบบปิดพิจารณาจากพื้นที่ที่มีน้ำท่วมขัง ที่ราบต่ำที่เป็นทางไหลผ่านของน้ำท่ ในช่วงฤดูฝนจะสามารถคัดเลือกพื้นที่ได้ง่ายเนื่องจากเห็นสภาพน้ำท่วมขัง ดังตัวอย่างการคัดเลีอกพื้นที่ที่มีน้ำท่วมขังบริเวณวัดนาโพธิ์ที่แสดงในรูปที่ 1 โดยในพื้นที่ตำบลบ้านผึ้ง ที่รองรับด้วยชั้นหินให้น้ำคำตากล้า ซึ่งเป็นชั้นหินให้น้ำในหินแข็งบางบริเวณนั้นชั้นหินให้น้ำคำตากล้าอยู่ตื้นมาก จึงกำหนดความลึกของบ่อเติมน้ำไว้ที่ 1.7 เมตร

สิ่งสำคัญในการขุดเจาะและนำน้ำใต้ดินและน้ำบาดาลมาใช้นั้นควรคำนึงถึงผลกระทบอันเกิดจากการแพร่กระจายความเค็มและการปนเปื้อนสารเคมีที่จะเข้ามาในบ่อใต้ดินและน้ำบาดาล ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้ไม่สามารถใช้น้ำในบ่อนั้นได้และถูกทิ้งร้างในที่สุดเกณฑ์เพื่อพิจารณาเป็นเกณฑ์เบื้องต้น โดยตัวแปร และค่าคะแนน สามารถปรับเปลี่ยนตามแต่ละพื้นที่ ดังนั้นจึงควรพิจารณาข้อมูลให้แน่ชัดก่อนการคัดเลือกพื้นที่ดำเนินการก่อสร้างบ่อเติมน้ำ
3 การจัดทำบ่อเติมน้ำใต้ดินระบบปิดคณะผู้วิจัยได้พิจารณาดัดแปลงรูปแบบและวิธีการเติมน้ำใด้ดิน ของกรมทรัพยากรน้ำบาดาล รูปแบบการเติมน้ำผ่านบ่อเติมน้ำ (บ่อวง)ดังแสดงในรูปที่ 2 และรูปที่ 3
เตรียมพื้นที่ วัสดุ และอุปกรณ์
1) บ่อขุดขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1.4 เมตร หรือกว้าง 1.4 เมตร ยาว 1.4 เมตรความลึกประมาณ 1.7 เมตร (รูปที่ 4) ทั้งนี้ขนาดและความลึกของบ่อสามารถปรับได้ตามความเหมาะสมของพื้นที่

2) ท่อซิเมนต์ (บ่อวง) ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 เมตร ความสูง 0.5 เมตร จำนวน 3 ท่อ โดยทำการเจาะรูระบายน้ำที่ค้นข้าง ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 นิ้ว จำนวน 1 ท่อ เพื่อไว้ส่วนล่างสุดของบ่อ ส่วนท่อวงบนสุดมีฝาปิดและทำการเจาะรูเป็นวงกลมตรงกลางมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 3 นิ้ว
เพื่อใช้เป็นช่องสำหรับใส่ท่อ PงC ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 3 นิ้วที่ฝาท่อทำการเจาะรูเป็นวงกลมขนาดส้นผ่าศูนย์กลาง 1 นิ้ว เพิ่มเติมให้กระจายทั่วทั้งฝาก่อ เพื่อใช้เป็นช่องทางให้น้ำเข้าไปเติมลงในบ่อ โดยฝาท่อดังกล่าวมีลักษณะเป็นแบบเสริมโครงเหล็กเพื่อเพิ่มความแข็งแรง
3) ท่อ PVC ขนาดเส้นผ่ศูนย์กลาง 3 นิ้ว ความหนา 8.5 มิลลิเมตร ความยาว 2 เมตร ใช้ติดตั้งในบ่อเพื่อการเก็บตัวอย่างน้ำ หรือวัดระดับน้ำ หรือระบายอากาศเพื่อให้น้ำไหลลงบ่อได้ง่ายขึ้น โดยค้นล่างของปลายท่อที่ระยะ 50 เซนติเมตร ทำการเซาะร่องเป็นแนวยาว แต่ละร่องยาวประมาณ 5-8 เซนติเมตร กว้างประมาณ 3 มิลลิเมตร เพื่อเป็นช่องให้น้ำเข้าและออกได้
4) กรวดคัด เติมลงไปในท่อซิเนต์ (บ่อวง) เพื่อใช้เป็นวัสดุสำหรับกรองน้ำ รวมทั้ง ป้องกันตะกอนทราย ดินโคลน เศษใบไม้ กิ่งไม้ หรือวัสดุต่างๆ ที่มากับน้ำลงไปอุดตันในบ่อ มี 3 ขนาด
1 กรวดคัด ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1-8 เชนติเมตร สามารถหาได้จากร้านขายวัสดุก่อสร้าง ที่เป็นกรวดจากแหล่งน้ำธรรมชาติ โดยมีความหนาจากพื้นด้านล่างบ่อขึ้นมา40 เซนติเมตร เรียกว่ากรวดชั้นที่ 1
2 กรวดคัด ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1-2 เซนติเมตร ใช้เติมต่อจากกรวดชั้นที่ 1 ขึ้นมา มีความหนา 20 เซนติเมตร เรียกว่ากรวดชั้นที่ 2
3 กรวดคัด ขนาดเส้นผ่ศูนย์กลาง 0.8-1 เซนติมตร ใช้เติมต่อจากกรวดชั้นที่ 2 ขึ้นมา มีความหนา 20 เซนติเมตร เรียกว่ากรวดชั้นที่ 3
4 ที่ด้านบนของฝาบ่อ ทำการเติมกรวดคัด ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1-2 เซนติเมตรขนาดเท่ากับกรวดชั้นที่ 2) วางบนฝาท่อ ความหนาประมาณ 20 เซนติเมตร เพื่อทำหน้าที่กรองน้ำก่อนที่จะไหลลงไปในบ่อ
5) ตาข่ายในล่อน (ลี) สำหรับวางกั้นระหว่างกรวดชั้นที่ 1 และชั้นที่ 2 และระหว่างกรวดชั้นที่ 2 และชั้นที่ 3 โดยนำตาข่ายในล่อนมาตัดให้มีขนาดกว้าง 1.5 เมตรยาว 1.5 เมตร และเจาะรูตรงกลาง ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 3 นิ้ว สำหรับให้ท่อ PVCลอดผ่านได้

ขั้นตอนและวิธีในการก่อสร้างบ่อเติมน้ำใต้ดินระบบปิด
1) ขุดบ่อที่มีขนาดเส้นผ่ศูนย์กลางประมาณ 1.4 เมตร หรือ กว้าง 1.4 ยาว 1.4 เมตรความลึกประมาณ 1,7 เมตร
2) นำท่อชิเมนต์ (บ่อวง) ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 เมตร จำนวน 3 ท่อ วางลงเป็นแนวตรงในหลุมที่ขุดไว้ โดยให้ท่อที่ได้เจาะรูระบายน้ำที่ด้านข้างของท่อ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 นิ้ว ไว้ล่างสุด (รูปที่ 6)
3) นำท่อ PVC ใส่ลงในบ่อโดยให้ตรงจุดศูนย์กลางของบ่อให้มากที่สุด (ในขั้นตอนสุดท้ายจะต้องนำฝาก่อที่เจาะรูไว้แล้วมาปิดครอบ และต้องสวมผ่านท่อ PVC อีกครั้งหนึ่ง) ที่กันบ่อรองด้วยกรวดคัด ที่ปลายท่อ PงC ทำการเจาะรูแล้วใช้เหล็กเส้น ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.7 เชนติเมตร แทงทะลุผ่านรูที่เจาะไว้
เพื่อยึดกับพื้นบ่อ ป้องกันไม่ให้ท่อถูกดึงขึ้นได้โดยง่าย ต่อจากนั้น เทกรวดคัด ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1-8 เชนติเมตร (ชั้นที่ 1) ลงไปให้ได้ความหนา 40 เซนติเมตรและเทกรวดด้านข้างระหว่างผนังบ่อและท่อให้ได้ความหนา 60 เซนติเมตร (รูปที่ 6)

4) เทกรวดคัด ขนาดเส้นผ่ศูนย์กลาง 1-8 เชนติเมตร (กรวดชั้นที่ 1) ลงไปในท่อให้ได้ความหนา 40 เซนติเมตร และเทกรวดด้านข้างระหว่างผนังบ่อให้ได้ความหนา60 เซนติเมตร (รูปที่ 7)

5) นำตาข่ายในล่อน ลี) มาปูวางบนกรวดชั้นที่ 1 ต่อจากนั้น เทกรวดคัด ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1-2 เซนติมตร ต่อจากกรวดชั้นที่ 1 ขึ้นมา ให้มีความหนา 20 เซนติเมตรเรียกว่ากรวดชั้นที่ 2 (รูปที่ 7)

6) นำตาข่ายในล่อน (สี่) มาปูวางบนกรวดชั้นที่ 2 เทกรวดคัด ขนาดเส้นผ่ศูนย์กลาง0.8-1 เซนติเมตร ต่อจากกรวดขั้นที่ 2 ขึ้นมา ให้มีความหนา 20 เซนติเมตร เรียกว่ากรวดชั้นที่ 3 (รูปที่ 7)

7) เกลี่ยดินลงระหว่างผนังบ่อกับท่อซิเมนต์ (บ่อวง) และปรับให้เสมอปากบ่อ

8) นำฝามาปิดปากท่อ แล้วนำตาข่ายในล่อน (ลี) มาปูวางบนฝาท่อ ต่อจากนั้น เทกรวดคัด ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1-2 เซนติเมตร ลงบนฝาท่อให้มีความหนา 20 เซนติเมตรแล้วเกลี่ยกรวดให้ราบเสมอเป็นพื้นเดียวกัน (รูปที่ 7)
9) ลักษณะบ่อสาธิตการเติมน้ำใดินระบบปิดที่ดำเนินการเสร็จแล้ว (รูปที่ 8)

4 การจัดทำบ่อเติมน้ำใต้ดินระบบเปิดขุดบ่อเติมน้ำใต้ดินระบบเปิด กว้าง 25 เมตร ยาว 40 เมตร ลึก 7 เมตร หรือปรับตามความเหมาะสมและงบประมาณของแต่ละพื้นที่ หลังจากนั้น ขุดสะดีอบ่อ ขนาดกว้าง 3 เมตร ยาว 3 เมตรลึก 4 – 10 เมตร หรือจนพบชั้นหินให้น้ำ หรือโซนรอยแตกที่เป็นที่กักเก็บและให้น้ำบาดาล
โดยชั้นหินให้น้ำจะแผ่ขยายตัวอยู่ในช่วงความลึกประมาณ30-50 เมตร จากระดับผิวดิน ลึกลงไปต่อจากนั้นจะเป็นหินแข็งตลอด สำหรับพื้นที่ตำบลบ้านผึ้ง อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม ชั้นหินให้น้ำจะเป็นชั้นหินให้น้ำคำตากล้า(Kham Takla aquifer) หรือที่ชาวบ้านในพื้นที่เรียก “ดินตับม้า” ดังแสดงรูปตัวอย่างชั้นหินให้น้ำคำตากล้า (Kam Takla Aquifer) ในรูปที่ 9 และแสดงตัวอย่างบ่อเติมน้ำใต้ดินระบบเปิด

ขอบคุณโครงการบริหารจัดการน้ำท่วมน้ำแล้ง ด้วยนวัตกรรมเติมน้ำใต้ดิน อบต.บ้านผึ้ง จังหวัดนครพนม
เอกสารดาว์นโหลด https://www.psffoundation.com/Content/uploads/contents/7e3fb6be-0b2d-4ea1-88b8-7b797b6e1930.pdf?fbclid=IwAR3aaji7TsrGPM1exsVaJkzGn6iFfVzhf_4vcuY7U03UvIcRJiJb5Cr5Omk