แพทย์แผนไทยเรียก “โรคลมจับโป่งเข่า” ระบุผลวิจัยขมิ้นชัน มีฤทธิ์ต้านการอักเสบของข้อเข่า ใช้แทนยาแผนปัจจุบันได้ ทั้งยังมีสารต้านอนุมูลอิสระ และดีต่อระบบทางเดินอาหาร
นพ.ปราโมทย์ เสถียรรัตน์ รองอธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กล่าวว่า องค์การอนามัยโลกคาดว่า ปี 63 จะมีผู้ป่วยโรคกระดูกและข้อ ประมาณ 570 ล้านคน สำหรับประเทศไทยจากสถิติก.สาธารณสุขปี 58 มีอัตราการเกิดโรคข้อเสื่อมเท่ากับ 57.10 ต่อประชาชน 1 แสนคน ซึ่งพบมากในผู้สูงอายุ พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายถึงสองเท่า
ทางการแพทย์แผนไทยเรียกโรคข้อเข่าเสื่อมว่า “โรคลมจับโปงเข่า” แบ่งเป็น 2 ชนิด คือ โรคลมจับโปงน้ำและจับโปงแห้ง จับโปงน้ำจะมีอาการปวดเข่า เข่าบวม อักเสบชัดเจน มีน้ำในข้อเข่า ส่วนจับโปงแห้งจะมีอาการปวดเข่า มีเสียงกรอบแกรบในข้อเข่า ข้อเข่าฝืด สะบ้าติด
แพทย์แผนไทยรักษาโรคดังกล่าวด้วยการนวดรักษาเฉพาะจุด เพื่อกระตุ้นระบบไหลเวียนบริเวณข้อเข่า ลดอาการปวดเกร็งของกล้ามเนื้อรอบ ๆ ข้อเข่า หลังจากนั้นก็ประคบสมุนไพรหรือใช้ยาพอกเข่า เป็นการเสริมประสิทธิภาพ ของการนวดในด้านการลดการอักเสบและลดอาการปวด
สำหรับยาสมุนไพรที่ช่วยลดการอักเสบชะลอการเสื่อมของข้อเข่า คือ ยาจากสารสกัดขมิ้นชัน ผลวิจัยพบว่า มีสารเคอร์คูมินอยด์ที่มีฤทธิ์ต้านการอักเสบได้เหมือนกับยาต้านการอักเสบไดโคลฟีแนคของแผนปัจจุบัน ขมิ้นชันยังมีสารต้านอนุมูลอิสระ ก่อให้เกิดผลดีในการลดการอักเสบ จึงถือเป็นทางเลือกที่ดีในการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม อย่างไรก็ตาม หากต้องการห่างไกลจากโรคข้อเข่าเสื่อม ควรหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยง เช่น ไม่ยกของหนัก หรือทำกิจกรรมอื่น ๆ ที่ทำให้เกิดแรงกดต่อข้อเข่า
ในขณะที่มีอาการปวดเข่าควรหลีกเลี่ยงการรับประทานหน่อไม้ เครื่องในสัตว์ อาหารหมักดอง และงดเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์ เพราะจะส่งผลให้เกิดอาการปวดข้อและข้อบวมมากยิ่งขึ้น ควรรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ เน้นอาหาร ที่ช่วยบำรุงข้อและกระดูก เช่น อาหารจำพวกธัญพืช ผักใบเขียว ผักตระกูลกระกล่ำ นม ปลาเล็กปลาน้อย ซึ่งมีแร่ธาตุแคลเซียมสูง และควรออกกำลังกายเป็นประจำ
สำหรับผู้มีน้ำหนักเกิน ควรออกกำลังกาย โดยการว่ายน้ำ การปั่นจักรยานอากาศ หรือการทำท่ากายบริหารแบบฤาษีดัดตน เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบกับข้อเข่า นอกจากนี้ควรพักผ่อนให้เพียงพออย่างน้อย วันละ 6-8 ชั่วโมง และรักษาความอบอุ่นของร่างกายให้เป็นปกติอยู่เสมอ
วิธีกำรถนอมข้อเข่าเทียม
ถึงแม้ได้รับการรักษาโดยการผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเทียมแล้ว ก็ยังคงต้อง
ดูแลตนเองเพื่อถนอมข้อเทียมให้ยาวนาน โดยกำรปฏิบัติตัวเช่นเดียวกับผู้
ที่มีอาการข้อเข่าเสื่อม ดังต่อไปนี้
1อิริยาบถในชีวิตประจำวัน โดย หลีกเลี่ยงอิริยาบถที่มีแรงกดที่ข้อ นั่งพับเพียบ คุกเข่า ขัดสมาธิ นั่งยองๆ นั่งเก้าอี้เตี้ย นั่งไขว่ห้าง ไขว้ขา การบิดหมุนเข่าไม่ว่ากรณีใดๆ ขึ้นลงบันไดโดยไม่จำเป็น การยกหรือแบกของหนักๆ
การใช้หมอนรองใต้เข่าเป็นเวลานานๆ ขณะนอน เพราะจะท้าให้ การไหลเวียนเลือดที่ใต้ข้อพับเข่าเป็นไปได้ไม่สะดวก และข้อเข่าอาจตึงยึด
2 กำรจัดสิ่งแวดล้อมภายในบ้านบริเวณบ้านควรจัดให้โล่ง สว่าง ไม่มีสิ่งกีดขวางบนทางเดิน เพื่อกันการสะดุดล้มลง
ถ้าจ้าเป็นต้องขึ้นลงบันได ควร มีราวจับทั้ง 2 ด้านของบันได
ส้วมเป็นแบบชักโครก ภายในห้องน้ำควรใช้ วัสดุกันลื่น มีราวจับ และจัดเก้าอี้สำหรับนั่ง
อาบน้ำจะช่วย เพิ่มความปลอดภัย
หากสนใจเกี่ยวกับการรักษาอาการปวดเข่าด้วยการแพทย์แผนไทย สามารถเข้ารับบริการได้ที่สถานบริการสาธารณสุขของรัฐทั่วประเทศ หรือต้องการสอบถามเกี่ยวกับการให้บริการด้านการแพทย์แผนไทย
สามารถสอบถามรายละเอียดได้ที่ กรมการแพทย์แผนไทยฯ 0-2149-5678 หรือเข้าเว็บไซต์ www.dtam.moph.go.th