การปลูกคะน้าเกษตรกรส่วนใหญ่ มักจะใช้เมล็ดพันธุ์ปลูกแล้วเก็บข ายไปทั้งต้น เมื่อหมดรุ่นแล้วลงแปลงปลูกใหม่ไปเรื่อยๆ…แต่วันนี้ มีคะน้าแบบใหม่ “คะน้าเด็ดยอด” ที่สามารถเก็บยอดมาข าย หรือนำมาประกอบอาหารได้หลายครั้ง นานหลายปี

“คะน้าเด็ดยอด มีชื่อภาษาอังกฤษว่า petit kale หรือปูเล่ เป็นที่รู้จักในบ้านเรามานานร่วมสิบปี หลังกรมส่งเสริมการเกษตรได้นำเข้าต้นพันธุ์จากจีนมาทำการทดลองปลูกและขยายพันธุ์เพื่อจะส่งเสริมให้เกษตรกรปลูก แต่ปรากฏว่า เกิดการกลายพันธุ์ให้ยอดแค่ครั้งเดียวและตายเหมือนคะน้าทั่วไป เพราะสภาพแวดล้อมบ้านเราไม่เอื้อให้ปลูกได้ เลยต้องหาวิธีการใหม่”

รศ.ดร.วรรณา สนั่นพานิชกุล ผู้จัดการศูนย์ขยายพันธุ์พืชสยาม อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ เผยถึงที่มาของคะน้าเด็ดยอดแบบใหม่…ด้วยการนำปูเล่ มาทำการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
นอกจากจะได้ต้นที่มีลักษณะแตกต่างจากต้นเดิมสามารถเด็ดยอดได้หลายครั้ง เด็ดได้ทุกเดือน ต้นมีอายุยืน 1-4 ปี ขึ้นอยู่กับการดูแลรักษาให้น้ำให้ปุ๋ย ต่างจากต้นคะน้าเด็ดยอดดั้งเดิม ที่เด็ดได้ครั้งแรก หนเดียว แล้ว ต้องปลูกใหม่
“ต้นที่ได้จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ หลังจากปลูก 30-40 วัน สามารถเด็ดยอดได้ครั้งแรก จากนั้นจะมียอดใหม่แตกออกมา 2-3 ยอด ต่อการเด็ด 1 ยอด และเมื่อยอดชุดใหม่อายุ 25-30 วัน สามารถเด็ดยอดได้อีก 2-3 ยอด แต่ละยอดจะแตกออกมาเช่นนี้ไปเรื่อยๆ”

ส่วนวิธีการปลูก รศ.ดร.วรรณา บอกว่า หากต้องการปลูกในเชิงพาณิชย์เพื่อค้าขาย การจะทำให้ต้นที่ปลูกมีความสม่ำเสมอ แข็งแรง และปลอดโรค ควรปลูกในที่มีแสงแดดส่องถึง นํ้าไม่ท่วมขัง สภาพดินร่วน เหมาะกับการปลูกในโรงเรือนมีหลังคาคลุม ด้านหัวและท้ายโรงเรือนเปิดโล่ง ช่วยระบายอากาศ

หากจะปลูกตาม บ้านเรือนทั่วไป ควรเลือกตามแนวชายคาบ้าน หรือใส่กระถางตั้งวางปลูกก็ทำได้ แต่การปลูกลงแปลงดินจะเจริญเติบโตได้ดีกว่า แต่ต้องระวังอย่ าให้มีความชื้นมากเกินไป จะทำให้ต้นเน่าต า ยได้ สามารถแก้ปัญหาได้ด้วยการลดปริมาณการให้นํ้าในแต่ละวันลงไปจนกว่าพื้นที่ปลูกจะแห้ง
ศัตรูของคะน้าเด็ดยอด มีหลายชนิด
แมลง ที่สําคัญมากคือ พวกหนอนผีเสื้อต่างๆ วิธีการกําจัด หากมีน้อยให้เก็บตัวหนอนทำลาย หากมีมากให้ใช้สารจุลินทรีย์ บาซิลลัสทูริงเยนซีส ฉีดพ่น สามารถกําจัดหนอนได้ดีมาก อีกชนิดที่พบบ่อยๆ ได้แก่ เพลี้ยอ่อน วิธีกําจัดให้ใช้นํ้าแรงๆ ฉีดพ่น หรืออาจใช้พวกใบยาสูบตากแห้ง (ที่มวนบุหรี่) แช่นํ้าแล้วฉีดพ่นเป็นละอองฝอยๆ
โรคที่พบ เป็นพวกอาการเน่ าของกลุ่มผักคะน้า หากความชื้นมากเกินไป วิธีแก้ไขให้ตกแต่งใบแก่ ใบแห้ง ให้แปลงปลูกโปร่ง ไม่แน่นทึบ อากาศถ่ายเทได้สะดวก รวมถึงอาจลดปริมาณนํ้าในแต่ละวันลง เพื่อให้ความชื้นในแปลงปลูกลดลง
ปุ๋ย เสริมธาตุอาหารปุ๋ย สูตร 15-15-15 ระยะเวลาประมาณ 20 วัน ต่อครั้ง อัตรา 1 ช้อนชา ต่อนํ้า 10 ลิตร

นํ้า และความชื้น ในฤดูฝนความชื้นสูง อาจไม่ต้องรดนํ้าทุ กวัน ส่วนในฤดูหนาวหรือร้อนอาจพิจารณาให้นํ้าเพิ่มขึ้นได้ ผู้ปลูกต้องหมั่นสังเกตว่าหากความชื้นสูงในฤดูฝน ผักอาจเหี่ยวและเน่าเสียห าย แต่หากในฤดูร้อนให้นํ้าน้อยไป ยอดคะน้าจะเหนียว เป็นต้น ดังนั้น จึงต้องสังเกตความเหมาะสมตามสภาพแต่ละท้องถิ่น
ใช้ต้นพันธุ์ดี ที่ผลิตจากระบบการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
ผักชนิดนี้ไม่ชอบชื้นแฉะแบบปลูกกลางแจ้งในฤดูฝน จําเป็น ต้องมีหลังคาป้องกันฝน หรือปลูกในโรงเรือนปลูกพืช
ผักชนิดนี้ไม่จําเป็น ต้องใช้สารเคมีป้องกันและกําจัดศัตรูพืชในการดูแลรักษา ซึ่งนอกจากจะดีต่อสุขภาพของผู้ปลูกแล้ว ยังดีต่อสุขภาพของผู้บริโภคอีกด้วย
สนใจติดต่อที่ 08-6084-6362 ไชยรัตน์ ส้มฉุน ผู้สนใจข้อมูลเพิ่มเติม สามารถติดต่อที่ ดร. วรรณา สนั่นพานิชกุล อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ โทร. (086) 084–6362
เรียบเรียงโดยเกษตรบ้านบ้าน