ในยุคสมัยนี้ชาวสวนเเละเกษตรต่างมีไอเดียใหม่ๆในการเพิ่มผลผลิตกันมากขึ้น เเละหลายคนเริ่มมีความรู้ในการปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ชนิดต่างๆ บางคนเริ่มรู้สึกเบื่องานที่ตัวเองทำ
เเละเริ่มหันมาสนใจการทำเกษตร จนหลายคนประสบความ สำเร็จมากขึ้น สำหรับคนที่ไม่เคยลงมือทำอาจจะมองว่าเป็นเรื่องยากเเต่รับรองว่า ถ้าได้ทำเเล้วจะรู้สึกสนุกเเละคุณจะมีความสุข
วิธีการเลี้ยงปลาซิวเพื่อประกอบอาชีพ สาธิตวิธีโดย คุณบุญชิต สมัตถะ ประธานศูนย์ปราชญ์ชาวบ้าน บ้านท่าแจ้ง ตำบลหนองแวง อำเภอหนองบัวแดง จังหวัดชัยภูมิ
ผู้เชี่ยวชาญการทำเกษตรผสมผสานเน้นเกษตรอินทรีย์พึ่งพาตนเอง เปิดศูนย์เรียนรู้ให้เกษตรกรเข้ามาอบรมหาความรู้ด้านการเกษตรสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
แนะนำวิธีการเลี้ยงปลาซิวในบ่อพลาสติก โดยนำมาจากแหล่งน้ำธรรมชาติและขยายพันธุ์เอง เพื่อเป็นอาหารหรือรายได้เสริม ด้วยภูมิปัญญาชาวบ้าน

งานนี้ใช้พื้นที่ไม่มาก ต้นทุนพอประมาณ แต่เป็นการเปิดโอกาสสร้างรายได้ให้กับตัวเองและครอบครัวอย่างยั่งยืน ใครมีบ้านสวนอยู่และอยากจะทำการเกษตรเล็กๆ การเลี้ยงปลาซิวก็น่าสนใจไม่น้อย
ปลาซิว คือหนึ่งปลาเศรษฐกิจที่ขายได้ราคาดี มีเกษตรกรจำนวนไม่น้อยที่เลี้ยงปลาซิวเพื่อการประกอบอาชีพ ซึ่งเราจะเห็นได้ว่า ปลาซิวนั้น ได้ถูกนำมาแปรรูปเป็นอาหารหลากหลายชนิด และก็มีคนนิยมทานกันอย่างแพร่หลายทั่วประเทศ

ขั้นตอนการเลี้ยงปลาซิว
ขั้นตอนที่ 1 เริ่มจาการเตรียมบ่อโดยมีขนาดบ่ออยู่ที่ประมาณ 2*4 เมตร มีความลึกประมาณ 1 เมตร
ขั้นตอนที่ 2 นำน้ำเข้าบ่อให้สูงประมาณ 80 เซนติเมตร เมื่อใส่น้ำเเล้วก็นำท่อนกล้วยลงไปแช่ในน้ำเพื่ดูดซับกลิ่นปูนเเละเคมีออกไป เเช่ประมาณ 1 สัปดาห์
ขั้นตอนที่ 3 จากนั้นก็นำปลามาปล่อยในบ่อ ประมาณ 10 กิโลกรัม
ขั้นตอนที่ 4 เลี้ยงปลาด้วยรำอ่อน โดยให้อาหารวันละ 1 ครั้ง/วัน
ขั้นตอนที่ 5 ถ่ายน้ำโดยการเปิดน้ำก๊อกใส่บ่อ เเละทำตัวจุกระบายออกที่ก้นบ่อด้วยโดยจะมีการถ่ายน้ำปีละ 1 ครั้ง
ขั้นตอนที่ 6 ปรับปรุงน้ำโดยการใส่น้ำหนักฮอร์โมนเเม่ 1/2 ลิตรต่อเดือน
ขั้นตอนที่ 7 สามารถเอาปลวกมาสับให้ละเอียดเเละเป็นอาหารเสริมให้กับปลาซิวได้ เลี้ยงไว้ประมาณ 2-3 เดือนก็สามารถขายได้ กิโลกรัมละ 100 บาท

โรคและการป้องกันโรค
1.โรคแผลตามลำตัว สาเหตุ: เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย อาการ:เกล็ดจะพองและตกเลือดสีแดงตามลำตัว การป้องกัน: ใช้ยาต้านจุลชีพ ชนิดซัลฟาไตรเมทโทรพริม ในอัตราส่วน 1-2 มิลลิกรัม/น้ำ 1 ลิตร – แช่ปลานาน 2-3 วัน 1-2 มิลลิกรัม/น้ำ 1 ลิตร – แช่ปลานาน 2-3 วัน 2-3 วัน
2.โรคครีบกร่อน หางกร่อน สาเหตุ: เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย อาการ: ตามโคนหางจะเป็นแผล แล้วค่อยๆลามเข้าไป จนทำให้ครีบมีขนาดเล็กลงบางครั้งครีบกร่อนไปจนหมด การป้องกัน: ใช้ยาต้านจุลชีพ ชนิดซัลฟาไตรเมทโทรพริม ในอัตราส่วน 1-2 มิลลิกรัม/น้ำ 1 ลิตร – แช่ปลานาน 2-3 วัน 1-2 มิลลิกรัม/น้ำ 1 ลิตร – แช่ปลานาน 2-3 วัน 2-3 วัน
สูตรน้ำหมักฮอร์โมนเเม่
1 ยอดผักบุ้ง หน่อไม้ หน่อกล้วย รวมกัน 10 กิโลกรัม
2 กากน้ำตาล 10 ลิตร
3 ฟอสเฟต 10 กก.
4 รำละเอียด 2.5 กก.
5 เกลือ 2 ขีด
6 หัวเชื้อ 1 ลิตร กากน้ำตาล 4 ลิตร +สารเร่งบด 2.1 ซอง – น้ำ 200 ลิตร ผสมกัน
7 น้ำ 70 ลิตร

วิธีทำ
1 นำยอดผักบุ้ง หน่อไม้ หน่อกล้วยมาสับรวมกัน 10 กก.
2 ใส่กากน้ำตาล ฟอสเฟต รำระเอียด เกลือ ในอัตราส่วน 10:10:2.5:2 ขีด เเละน้ำอีก 70 ลิตร คนให้เข้ากันตามด้วยหัวเชื้อ 1 ลิตร
3 หมักไว้ 15 วัน เป็นอันว่าเสร็จ พร้อมนำไปใช้งาน

การนำไปใช้ฉีดพ่นหรือราดลงดิน เพื่อบำรุงพืชผักสวนครัว พืชสวน พืชไร่ ไม้ผลทุกชนิด เพื่อเพิ่มเติมความเขียวงาม เป็นอาหารเสริม และทำให้ลำต้นแข็งแรง และช่วยบำบัดน้ำเสียปรับสภาพน้ำ
แหล่งที่มาของข้อมูล : คุณบุญชิต สมัตถะ ที่อยู่ : หมู่ที่15 ตำบลหนองแวง อำเภอหนองบัวแดง จังหวัดชัยภูมิ