ชะอมเป็นผักพื้นบ้านอีกหนึ่งชนิดที่คนไทยรู้จักและนิยมรับประทานกันดี ทุกๆบ้านจะใช้พื้นที่ว่างตามรั้วบ้านปลูกชะอมเพียงไม่กี่ต้นเพื่อเก็บไว้รับประทานกันเองในครอบครัวจนถึงปัจจุบัน
ชะอมเป็นไม้พุ่มขนาดย่อม แต่เคยมีพบชะอมในป่า ลักษณะเป็นต้นไม้ใหญ่ วัดเส้นรอบวงของลําต้นได้ 1.2 เมตร ไม้ชะอมทีปลูกตามบ้าน จะพบในลักษณะไม้พุ่ม และเจ้าของมักตัดแต่งกิ่งเพื่อให้ออกยอดไม่สูงเกินไป
จะได้เก็บยอดได้สะดวก ตามลําต้นและกิ่งก้านมีหนามแหลม ใบเป็นใบประกอบขนาดเล็ก มีก้านใบแยกเป็นใบอยู่ 2 ทาง ลักษณะคล้ายใบกระถินหรือใบส้มป่อย
สิ่งที่ต้องเตรียม
กิ่งชะอมทำเป็นท่อนประมาณ 20 ซม. จำนวนมากน้อยขึ้นอยู่ที่จะปลูก
แก้วพลาสติกเจาะรู
ดินทราย

วิธีการทำ
ทำการมัดกิ่งชะอมรวมกันเพื่อให้ง่ายต่อการรดน้ำ
ทำการใส่ดินทรายลงในแก้วนิดหน่อย และนำชะอมใส่ในแก้ว เติมทรายใส่อีกครั้งให้ต้นตั้งอยู่
รดน้ำต้นชะอมให้ชุ่ม และนำไปวางในที่ร่ม
การรดน้ำให้รดวันละ 1 ครั้ง ก็พอ และชำไว้แบบนี้ 1 เดือน ก็นำไปปลูกได้
หัวใจสำคัญคือระยะของการปลูกระหว่างต้นและแถวต้องมีระยะปลูกที่เหมาะสม

วิธีการขยายพันธุ์ชะอม
สามารถทำได้โดย การตอนกิ่ง และการปักชำกิ่ง หรือการโน้มกิ่งชะอมฝังดินทำให้แตกรากใหม่เกิดเป็นต้นใหม่เพิ่มขึ้น เกษตรกรสามารถทำการขยายพันธุ์เองได้ หรือหาซื้อกิ่งพันธุ์ ได้ตามร้านขายกิ่งพันธุ์ ไม้ทั่วไป วิ ธี การปลูกชะอม ถ้าใช้กิ่งตอนจะนิยมยกร่องแล้วขุดหลุมปลูกบนร่อง
ทั้งนี้ เพราะป้องกันน้ำท่วมขังทำให้รากชะอมเน่าเสียหายได้ โดยทั่วไปจะปลูกห่างกันต้นละประมาณ 30-50 เซนติเมตร เป็นแถวเป็นแนวหรือปลูกเป็นแปลงระยะห่างของแถวประมาณ 1 เมตร
ซึ่งเกษตรกรส่วนใหญ่ จะนิยมปลูกแบบแถวคู่ ระยะห่างของแถว 1 เมตร แต่ถ้าปลูกริมรั้วบางครั้งก็ใช้แถวคู่ ระยะห่างระหว่างแถวและระหว่างต้นประมาณ 30-50 เซนติเมตร

เมื่อปลูกชะอมได้ประมาณสัก 3 เดือน ให้รดน้ำวันเว้นวัน
ต้นชะอมเป็นไม้เลื้อยจะแตกยอดตามกิ่งและเกษตรกรจะเก็บยอดอ่อนไปจำหน่ายหรือบริโภค ฉะนั้นการปลูกชะอมก็ไม่จำเป็นต้องปลูกหลายต้น แต่เราจะปลูกต้นชะอม 1 ต้น แล้วปล่อยให้ชะอมมันเลื้อยทอดยอดไปเรื่อยๆ
โดยเราก็จะจับลำต้นชะอม ให้ทอดยอดสูงจากพื้นดินประมาณ 50 เซนติเมตร แล้วใช้เชือกฟางมัดไว้กับหลักที่ปักไว้เป็นแถวห่างกันระยะ 50 เซนติเมตร ให้ต้นชะอมเลื้อยขนานกับพื้นดินสูง 50 เซนติเมตร ย า วไปเรื่อย ๆ โดยปักหลักมัดกิ่งไม่ให้ล้ม ชะอมก็จะออกยอดตามลำต้น ย า วไปเรื่อย ๆ เรียกว่าปลูกชะอม 1 ต้นแต่เก็บได้ร้อยยอด

เป็นการประหยัดพื้นที่ปลูกชะอม และถ้าเราจะเปลี่ยนหลักไม้ไปปลูกผักหวานแทนข้าง ๆ หลักที่ปักไว้ ก็จะมีผักอีกชนิดหนึ่งไว้รับประทานได้อีกด้วย และนี่ก็คือการจัดการการปลูกผักวิถีชีวิตเศรษฐกิจพอเพียง
ประโยชน์ของ ชะอม
ชะอมมีวิตามินเอสูง ช่วยบำรุงสายตา มีสารต้านอนุมูลอิสระสูง มีกากใยอาหารสูง ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการขับถ่ายยอดชะอม ช่วยลดความร้อนในร่างกายได้ จึงเหมาะกับอุณหภูมิร้อนๆ ในบ้านเรารากชะอม สามารถนำมาฝนกิน ช่วยแก้อาการท้องอืดท้องเฟ้อ และช่วยขับลมในท้องได้

ข้อควรระวังชะอม
หญิงที่กำลังให้นมบุตร ไม่ควรทานชะอม เพราะอาจทำให้นมแห้งได้ ในช่วงฝน อาจทำให้ชะอมมีรสเปรี้ยว และมีกลิ่นฉุน กว่าปกติ ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการปวดท้องได้
ชะอมมีกรดยูริกสูง ผู้ป่ วยโ ร ค เก าต์ยังสามารถรับประทานได้ แต่ควรจำกัดปริมาณในการรับประทานไม่ให้มากเกินไป แต่หากมีอาการควรหลีกเลี่ยง
ชะอม เป็นพืช ที่พบการปนเปื้อนของเชื้อก่อโรคท้องเสี ยซาลโมเนลลา ได้ ดังนั้นจึงควรล้างผักให้สะอาด และปรุงโดยต้มลวก หรือผ่านความร้อนให้สุกอย่างทั่วถึงก่อนรับประทาน