การขุดบ่อกักเก็บน้ำตามระบบบ่อเปิดของธนาคารน้ำใต้ดินที่จะได้ประสิทธิภาพสูงสุดในการบริหารจัดการน้ำนั้น ควรออกแบบทำระบบบ่อเปิดใหม่ที่มีความเหมาะสมตามลักษณะทางภูมิศาสตร์ทั้งเชิงพื้นที่และทิศ
แต่อาจต้องใช้งบประมาณสูง เมื่อเปรียบเทียบกับแนวทางการปรับสภาพบ่อเดิมหรือสระน้ำเดิม ให้สามารถใช้งานได้ตามระบบธนาคารน้ำใต้ดิน

โดยหลักการแล้ว การขุดบ่อระบบเปิดที่จะให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ต้องทำเป็นกลุ่มบ่ออย่างน้อย 3 บ่อ โดยแต่ละบ่อห่างกันประมาณ 1,000-1,500 เมตร บ่อเปิดของธนาคารน้ำใต้ดินจะมีหน้าที่เติมน้ำลงดินในระดับชั้นหินอุ้มน้ำ

เพื่อให้น้ำที่เติมลงไปสามารถเชื่อมประสานเสริมกันในระหว่างบ่อที่ขุดไว้ทั้ง 3 บ่อ เป็นการกระจายน้ำลงใต้ดินให้ทั่วถึงกันในระดับชั้นหินอุ้มน้ำ

หากพื้นที่ใดมีบ่อเดิมหรือบ่อเก่า ก็ประยุกต์เป็นธนาคารน้ำใต้ดินระบบบ่อเปิดได้เช่นกัน โดยทั่วไปบ่อเก่ามักจะขุดดินแค่ดินอ่อนหรือชั้นดินเหนียว ทำให้บ่อหรือสระดังกล่าวขาดประสิทธิภาพในการเพิ่มหรือเติมน้ำตามแนวทางธนาคารน้ำใต้ดิน

จึงมักพบปัญหาน้ำแห้ง สามารถแก้ไขได้โดยทำธนาคารน้ำใต้ดินระบบเปิด โดยขุดบ่อขนาดเล็กประมาณ 1-3 เมตร ในพื้นที่ก้นบ่อหรือสระน้ำเดิม ขุดให้ลึกถึงชั้นหินอุ้มน้ำ จำนวน 3 บ่อ ให้ขนานกับทิศ และให้ 3 บ่อดังกล่าว

อยู่ในรูปแบบสามเหลี่ยมตามหลักทิศทางการหมุนรอบตัวเองของโลก บ่อขนาดเล็กทั้ง 3 บ่อ จะทำหน้าที่ในการนำน้ำที่เหลือใช้ในช่วงฤดูฝนลงไปเก็บไว้ในชั้นหินอุ้มน้ำและหล่อเลี้ยงระดับน้ำในชั้นใต้ดิน เมื่อถึงช่วงฤดูแล้ง น้ำในชั้นใต้ดินก็จะซึมขึ้นมาช่วยเพิ่มปริมาณน้ำในบ่อหรือสระเดิมไม่ให้แห้ง และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ในช่วงฤดูแล้ง

“ธนาคารน้ำใต้ดิน ในแปลงที่นา” ศิริ ประพันธา หลังจากทำธนาคารน้ำใต้ดิน มาแล้ว 1 ปี ได้ผลเป็นที่น่าพอใจคุ้มกับการลงทุน วันที่ 14 ก.ค. 2562 “ไร่นาฟ้าเอ็นดู” บ้านคำระหงษ์ ต.โดมประดิษฐ์ อ.น้ำยืน จ.อุบลราชธานี

โดยวิธีการคือล้วงสะดือที่ก้นบ่อให้ลึกทางดินเหนียว ถึงหินอุ้มน้ำเพื่อให้น้ำในลำห้วย น้ำในลำน้ำ น้ำจากแม่น้ำ เชื่อมกันเป็นเครือข่ายเพื่อเปิดทางลมและน้ำให้เคลื่อนที่ที่เปลือกโลกในระดับชั้นหินอุ้มน้ำ ธนาคารน้ำใต้ดิน มีน้ำใช้พอเพียงตลอดปี
สุดยอดครับ นั่นคือศาสตร์พระราชาครับ เป็นศาสตร์ที่ขยายไปทั่วโลก ไอเดียดีมากครับ

ทำที่ระบายน้ำ(บ่อปิด) นับว่าการมีธนาคารน้ำใต้ดินแบบนี้ เป็นการแก้ไขปัญหาภัยแล้งได้ดี สามารถเก็บน้ำฝนได้ดีน้ำไม่ท่วม แม้แต่ปัญหาฝนทิ้งช่วงที่นาแห่งนี้ก็ไม่เกิดผลกระทบเพราะมีน้ำใช้ตลอดทั้งปีจากธนาคารน้ำใต้ดิน

งบประมาณในการทำธนาคารใต้น้ำใต้ดิน ประมาณ 80,000 บาท สนใจข้อมูล โทร.061-028-7894, FB : Kon Baanna สนใจข้อมูลธนาครน้ำฯ อ.โกวิทย์ โทร.081-876-9113 , FB : โกวิทย์ ดอกไม้
ขอขอบคุณที่มา : สามอาชีพ เพื่อมนุษยชาติ ,เรียบเรียงข้อมูลโดย : เกษตรกรเสาร์อาทิตย์