ถือว่าเป็นอีกหนึ่งอาชีพที่น่าสนใจและกำลังได้รับความนิยมในวงกว้าง สำหรับอาชีพ เลี้ยงหอยขมในวงบ่อซีเมนต์ ปกติแล้วการเลี้ยงหอยขมเกษตรกรผู้เลี้ยงมักจะนิยมเลี้ยงในกระชังหรือบ่อดิน ซึ่งเป็นการเลี้ยงที่ต้องใช้พื้นที่มากและเสียค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงมากพอสมควร

ด้วยเหตุนี้ คุณพงษ์ศักดิ์ ซึ่งแต่เดิมนั้นมีอาชีพทำนาและเลี้ยงปลานิลในบ่อ ได้ทำการงมหอยขมมาทำอาหาร จึงได้นำหอยขมที่งมได้มาพักในบ่อซีเมนต์เพื่อเตรียมทำอาหาร ปรากฏว่าหอยขมได้ออกลูกออกหลานเป็นจำนวนมาก จึงเป็นจุดเริ่มต้นของการเลี้ยงหอยขมในวงบ่อซีเมนต์นั่นเอง

ในปัจจุบันบริเวณบ้านคุณพงษ์ศักดิ์ มีวงบ่อซีเมนต์สำหรับเลี้ยงหอยขม 12 บ่อ และทำการเลี้ยงปลานิล 1 บ่อ ขนาด 10*20 เมตร สำหรับการทำนาให้คุณพ่อคุณแม่ทำแทน
จากการทดลองเลี้ยงหอยขมในบ่อซีเมนต์พบว่ามีโอกาสรอดสูงกว่าการเลี้ยงในกระชังหรือบ่อดิน อาหารสำหรับเลี้ยงหอยขมจะเลี้ยงด้วยตะไคร้น้ำและเสริมด้วยอาหารปลาดุกบดละเอียดผสมกับข้าวเหนียว สูตรอาหารนี้จะช่วยให้หอยขมโตเร็วกว่าหอยขมตามธรรมชาติถึง 1 เดือน

ส่งผลให้ในระยะเวลา 2 ปี ที่คุณพงษ์ศักดิ์ เริ่มเลี้ยงหอยขมนั้น สร้างร ายได้ทุกเดือนตกเดือนละไม่ต่ำกว่า 48,000 บาท เลยทีเดียว
วิธีการเลี้ยงหอยขมในบ่อซีเมต์
1 เทปูนที่ก้นวงบ่อซีเมนต์จนปิดสนิท จากนั้นทำการต่อท่อระบายน้ำไว้ด้านข้างให้มีลักษณะเป็นเกลียวหมุนมีฝาปิด

2 เทน้ำสะอาดลงไปพร้อมกับหั่ นต้นกล้วยแบบหยาบๆ ลงไปแช่ประมาณ 1 สัปดาห์ เพื่อให้น้ำยาปูนซึมออกจากน้ำให้หมด ถ้าไม่ทำเช่นนี้จะทำให้หอยขมไม่สามารถอยู่ร อ ดได้
3 เมื่อผ่านไป 1 สัปดาห์ ให้ใส่ดินเหนียวหนาประมาณ 1 นิ้ว และนำทางมะพร้าวใส่ตามลงไปเพื่อเป็นอาหารให้หอยขม เมื่อเสร็จสิ้นขั้นตอนนี้จึงนำหอยขมลงเลี้ยงในบ่อได้
4 การนำหอยขมลงเลี้ยงต้องอย่าให้หนาแน่นมากเกินไป โดยให้เลี้ยงหอยขม 3-5 กิโลกรัม/วงบ่อซีเมนต์ โดยสามารถเลี้ยงคละขนาดกันได้

5 ใส่น้ำสะอาดตามลงไปอีกประมาณ 20-30 เมตร และรอจนน้ำนิ่งสนิทดีแล้วก็ให้ใส่น้ำเพิ่มอีก 20-30 เซนติเมตร (รวมแล้วให้น้ำมีความสูงประมาณ 50 เซนติเมตร)วิธีการทั้งหมดนี้จะช่วยให้น้ำใสไม่ขุ่น เพราะการเลี่ยงหอยขมนั้นต้องเลี้ยงด้วยน้ำสะอาด ถ้าน้ำขุ่นเมื่อไหร่หอยขมจะไม่ยอมกินอาหารนานถึง 3 วันเลยทีเดียว

การเปลี่ยนน้ำ
การเปลี่ยนน้ำทำการเปลี่ยนน้ำทุ ก 1 เดือน/ครั้ง ด้วยการเปิดฝาเกลียวท่อระบ ายน้ำออก นำตาข่ ายปิดตรงรูท่อไว้รอจนน้ำระบายออกหมดให้ค่อยๆ ใส่น้ำลงไปใหม่เหมือนการใส่ในครั้งแรกไม่ควรใช้น้ำประปาโดยตรงเพราะมีคลอรีน ต้องพักน้ำไว้ให้คลอรีนหมดก่อน รวมถึงอย่ าให้หอยขมโดนเกลือโดยเด็ดข าดเพราะอาจไม่ร อ ดได้ ทางที่ดีควรปล่อยปลาหางนกยูงลงไปในบ่อหอยขมด้วย เพื่อช่วยกินลูกน้ำที่จะมารบกวนหอยขมอาจทำให้เป็นโ ร คได้

การเก็บหอยขม
เมื่อเลี้ยงหอยขมได้ 3 เดือน ให้แยกหอยขมบางส่วนออกไว้อีกบ่อเพื่อขยายพันธุ์ส่วนบ่อเดิมทำการเลี้ยงต่อไปอีก 2 เดือน จึงสามารถจับไปข ายได้คุณสมศักดิ์ยังบอกอีกว่า ทำการเลี้ยงหอยขมมา 12 บ่อ ใช้พื้นที่เพียง 5×10 เมตร เท่านั้น โดย 6 บ่อแรกตักหอบมาได้วันละ 50 กิโลกรัม นานครึ่งปี

เมื่อตักหมดก็ปล่อยลอตใหม่ลงไปทันที และมาจับหอยอีก 6 บ่อ ในช่วงครึ่งปีหลังวนเวียนอย่างนี้ตลอด ทำให้มีร ายได้เข้าทุกวันถือเป็นอาชีพที่น่าสนใจและให้ผลตอบแทนไม่เล วเลยทีเดียวเกษตรกรท่านใดสนใจสามารถลองนำไปทำเป็นอาชีพหลักหรืออาชีพเสริมดูก็ได้นะคะ รับรองไม่ผิ ดหวั ง
ความฝันและเป้าหมายมีกันอยู่ทุ กคน แต่ความอดทนและยืนหยัดที่มีไม่เหมือนกัน
ขอบคุณข้อมูล : nationtv