ในประเทศไทยมีการใช้ประโยชน์จากหมากมาตั้งแต่อดีตแล้ว เช่น เมล็ดใช้เป็นยาถ่าย ยอดอ่อนของลำต้นสามารถนำมารับประทานเป็นอาหารจำพวกผักได้ ส่วนจั่นหมากหรือดอกหมากเมื่อยังอ่อนอยู่ก็ใช้รับประทานเป็นอาหารได้เช่นกัน ช่อดอกซึ่งมีกลิ่นหอมจะถูกนำมาใช้ในงาน
กาบใบนำมาใช้ประโยชน์ในด้านการทำภาชนะ เครื่องจักสาน หรือวัสดุห่อหุ้มสิ่งของ เนื้อในเมล็ดนำมาใช้ในการผลิตสีย้อมผ้า เปลือกผลนำมาใช้ทำเป็นเชื้อเพลิง หมากใช้ในพิธีทางศาสนาและขนบธรรมเนียมประเพณี เช่น เมื่อออกพรรษากรานกฐินเดือนหนึ่งจึงแล้วเมื่อกรานกฐินมีพนมเบี้ย พนมหมาก มีพนมดอกไม้ มีหมอนนั่ง หมอนนอน
ซึ่งก็แสดงว่า ในพิธีกรานกฐินต้องมีการจัดพานหมาก ใช้ในพิธีด้วย ในพิธีแต่งงานซึ่งมีการแห่ขันหมาก ก็ต้องจัดพานหมากในพิธีด้วยเช่นกันนอกจากประเทศไทยซึ่งประชาชนนิยมกินหมากแล้ว ยังมีประเทศไต้หวัน พม่า อินเดีย ศรีลังกา มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ก็นิยมกินหมากเช่นกัน และในปัจจุบันยังมีการใช้ประโยชน์จากหมาก ในด้านอุตสาหกรรมอีกด้วย
ล่าสุดราคาหมาก พุ่งสูง 70 – 100 พ่อค้าอินเดีย-จีน-เมียนมา-ดูไบ-เวียดนามแห่บินรับซื้อผลผลิตหมากสด-แห้งในภาคใต้-ตะวันออก ทำราคาพุ่ง 70-100 ต่อ กก. ขณะที่ “ต้นกล้าพันธุ์” คุณภาพขาดตลาด แห่จองซื้อนับแสนต้น

นายณรงค์สิชณ์ สุทธาทิพย์ ผู้รับซื้อหมากรายใหญ่ ต.สองพี่น้อง อ.ท่าใหม่ จ.จันทบุรี เปิดเผย ว่า ปัจจุบันรับซื้อทั้งหมากแห้ง (หมากแดง) หมากสดจากเกษตรกรและพ่อค้าย่อยที่รับซื้อนำมาคัดไซซ์ ตาก-อบแห้ง ทำคุณภาพเป็นหมากแห้ง 100%
ส่งให้พ่อค้าไทยที่ส่งออกและพ่อค้าต่างประเทศ อินเดีย จีน เมียนมา ดูไบ ซึ่งเข้ามาติดต่อรับซื้อโดยตรง เนื่องจากตลาดมีความต้องการสูง ทำให้ราคาหมากปีนี้ราคาสูงขึ้น
ตั้งแต่ช่วงก่อนถึงฤดูกาลในเดือนธันวาคม-กุมภาพันธ์ ราคารับซื้ออยู่ที่ กก.ละ 50 สูงกว่าปี 2563 ราคา 35-40 ราคาเฉลี่ยทั้งปี 60 ต่อกิโลกรัม คาดว่าปีนี้เฉลี่ยน่าจะถึง 70 ต่อกิโลกรัม เพราะปริมาณหมากน่าจะน้อยกว่าปีก่อน
รับซื้อทั้งหมากแห้งที่แกะเปลือกแล้วและหมากสุกเป็นลูก นำไปตากแดดและอบให้แห้ง จากนั้นนำมาคัดไซซ์ตามขนาดมาตรฐาน แบ่งเป็น 3 เกรดคือ เกรดคุณภาพดีราคา 50 ต่อกิโลกรัม หมากลาย 10-20 ต่อกิโลกรัม
หมากเ สี ย 5 ต่อกิโลกรัม มีออร์เดอร์เฉลี่ยเดือนละ 2 ครั้ง รายละ 4-10 ตัน แต่ละปีมีสต๊อกหมุนเวียนซื้อข า ย 50-60-100 ตัน ไม่มีสต๊อกข้ามปี เพราะเก็บไว้นานข้ามปีมีปัญหาเรื่องมอด ตอนนี้มีพ่อค้าเวียดนามมาซื้อหมากดิบและหมากสุกไปแกะเปลือกข า ย เองด้วย
“ภาคตะวันออกส่วนใหญ่ปลูกหมากพันธุ์พื้นเมือง มีความสูง 10-15 เมตร ลูกใหญ่ เนื้อมาก ลูกสวย กลม เป็นที่ต้องการของตลาดต่างประเทศได้ราคาดี แต่ผลผลิตน้อย ส่วนใหญ่ปลูกพืชแซมเป็นผลพลอยได้ ต่างจากหมากอินโดนีเซียที่ลูกเล็กกว่าและออกสีดำ ๆ ราคาต่ำกว่า 10-15 ต่อกิโลกรัม
และหมากภาคอีสานลูกเล็กกว่าราคาต่ำกว่า 5-10 พ่อค้ารับซื้อบางรายนำมาผสมปนกัน ตอนนี้มีคนสนใจปลูกเพิ่มขึ้น มีการเก็บลูกจากต้นพันธุ์พื้นเมืองดี ๆ ข า ย ลูกละ 1.50-2 และเพาะกล้าพันธุ์ชำต้นละ 10-15 ข า ย เฉพาะต้น 5 ทางเวียดนาม กัมพูชา เริ่มนำไปปลูกกัน
นางสาวดวงพร เวชสิทธิ์ เกษตรกร อ.คิชกูฏ จ.จันทบุรี กล่าวว่า ที่สวนปลูกหมาก 3,000 ต้น แซมในสวนมังคุด พื้นที่ 30 ไร่ เพราะราคาดีและไม่ต้องดูแลมาก โดยเลือกปลูก 3 พันธุ์ ที่ลูกใหญ่เนื้อมาก คือ
พันธุ์หมากเวียดนาม (ลูกเขียว) พันธุ์พื้นบ้านหรือตูดแตก และพันธุ์ 5 ดาว หมากเตี้ยคนไม่นิยม ลูกไม่ดก ช่วงปี 2563-2564 ราคาหมากแดงดีมาก กก.ละ 4-5 ปี 2564 ขึ้นมา 9-10 เคยสูงถึง 20 หมากเวียดนาม ราคา กก.ละ 70 บางครั้งสูงถึง 80
“ควรส่งเสริมให้หมากเป็นพืชเศรษฐกิจของภาคตะวันออก โดยให้ความรู้การทำคุณภาพ การพัฒนาสายพันธุ์ เพิ่มผลผลิตให้มีปริมาณมาก สร้างความมั่นใจให้เกษตรกรตัดสินใจปลูกพืชเชิงเดี่ยว

เพราะยังมีปลูกกันน้อยเทียบกับภาคใต้ ขณะที่สภาพภูมิอากาศร้อนชื้นมีความเหมาะสม เพื่อให้ผู้ประกอบการส่งออกมาลงทุนใช้นวัตกรรมแปรรูปหมากแดงที่ลดขั้นตอนและระยะเวลา เพราะภาคตะวันออกมีช่วงฝนตกยาวนาน 7-8 เดือน เกษตรกรจะข า ย ตรงได้ราคาสูงขึ้น”
สำนักส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 3 จ.ระยอง รับผิดชอบ 9 จังหวัด คือ จันทบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ตราด นครนายก ปราจีนบุรี ระยอง สมุทรปราการ สระแก้ว มีพื้นที่ปลูกหมาก5,565 ไร่ ของพื้นที่ทั้งประเทศ 37,058 ไร่ ใน 9 จังหวัด 4 อันดับที่ปลูกมาก คือ
ฉะเชิงเทรา 2,879 ไร่ จันทบุรี 903 ไร่ ระยอง 888 ไร่ ตราด 826 ไร่ ข้อมูลจะน้อยกว่าสภาพจริงเพราะส่วนใหญ่ปลูกเป็นพืชแซมไม่ได้ขึ้นทะเบียน ดร.สมบัติ ชนะสิทธิ์ อดีตนายกเทศมนตรีตำบลแม่ขรี อ.ตะโหมด จ.พัทลุง ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ความต้องการหมากที่เพิ่มขึ้นส่งผลให้ต้นกล้าเริ่มขาดแคลน
โดยเฉพาะสายพันธุ์หมากตูดเหลี่ยมที่ จ.ตรัง มีการสั่งจองซื้อ 100,000 ลูก โดยรับซื้อลูกละ 1 ไปเพาะต้นกล้า 3 เดือนได้ความสูง 25 ซม. ราคา 4 ต่อต้น คาดว่าอีก 5 เดือน สายพันธุ์หมากตูดเหลี่ยมออกสู่ตลาด

“นักลงทุนจีนที่เข้ามาตั้งโรงงานที่พัทลุง ที่ผ่านมารับซื้อผลหมากประมาณ 15 ตันต่อวัน ล่าสุดได้เพิ่มเป็น 20 ตัน/วัน ราคารับซื้อหน้าโรงงาน 30 ต่อกิโลกรัม นำไปแปรรูปทำเป็นผลิตภัณฑ์ช็อกโกแลต
โดยนำไปต้มให้สุกแล้วบรรจุใส่ถุงพลาสติก ราคา 500 ต่อ 10 ชิ้น ขณะที่หมากแห้ง หมากสุก หมากแก่ ประเทศอินเดียรับซื้อไม่อั้น โดยอินเดียได้เสนอซื้อหมากแห้ง 3 เกรดคือ เกรดเอ เกรดบี และเกรดซี โดยเกรดเอมีราคาประมาณ 3 เหรียญสหรัฐต่อ กก. (100 ต่อกิโลกรัม )
ศูนย์วิจัยพืชสวนชุมพร กรมวิชาการเกษตร รายงานว่า ปี 2564 มีแผนผลิตพันธุ์หมาก 5,000 ต้น ปี 2565 มีแผนการผลิต 3,000 ต้น โดยข า ย ราคาต้นละ 15 จำกัดเกษตรกรซื้อได้คนละไม่เกิน 250 ต้น
ทั้งนี้ การทำแผนการผลิตในแต่ละปีจะคำนึงถึงยอดการสั่งจองของเกษตรกรเป็นหลัก หากได้รับความนิยมในตลาดต้องหารือไปยังหน่วยงานกลาง เพื่อขอจัดสรรงบประมาณเพิ่มขึ้นในปีถัดไป ขณะนี้มีเกษตรกรจากทุกภาคโทร.เข้ามาสอบถามกันจำนวนมาก
ขอบคุณที่มา prachachat.net เรียบเรียงโดย เกษตรผสมผสาน