การจัดการน้ำในนาหรือแหมแต่ในสวนปัจจุบันหลายที่ ยังจัดการบริหารน้ำได้ไม่ดีพอ ทำให้เมื่อถึงฝนตกไม่ต้องตามฤดูกาล ทำให้น้ำไม่พอใช้จนพืชผลผลิตในไร่หรือสวนต ายเพราะข าดน้ำวันนี้ ขอเสนอ ทฤษฎีแนวคิด โคก หนอง นา โมเดลจัดเพื่อการจัดการน้ำอย่างยั้งยืน ที่ได้น้อมนำหลักทฤษฏีเกษตรแนวใหม่ของพ่อหลวงราชการที่ 9 มาประยุกต์ โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ พิเชฐ โสวิทยสกุล คณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาตร์ สถาบันพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ซึ่งได้ผมจะสรุปคร่าวๆ ให้ดังนี้
ก่อนที่จะเริ่มทำตามทฤษฎีนี้ เราต้องรู้ก่อนว่าที่ดินของเราเป็นอย่างไร สำรวจพื้นที่ดินของตัวเอง ว่าอยู่ในที่ตื้นลึกขนาดไหน ปริมาณฝนตกเยอะแค่ไหน ลมพัดทางใด แสงขึ้นทิศไหนของสวน ศึกษา ดิน น้ำ ลม ไฟ เพื่อวางแผนการจัดการให้สวนเรามีน้ำเพียงพอ และสามารถปลูกพืชผักผลผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยส่วนที่ต้องให้ความสำคัญคือ น้ำ
โดยเริ่มดูว่าฝนที่ตกมาในแต่ละนั้น ส่วนเราได้รับน้ำเฉลี่ยมีปริมาณแค่ไหน โดยวิธีวัดปริมาณน้ำคร่าวๆ การวัดปริมาณน้ำฝนใช้วัดความสูงของจำนวนฝนที่ตกลงมาโดยให้น้ำฝนตกลงในภาชนะโลหะ ซึ่งส่วนมากทำเป็นรูปทรงกระบอก มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๒๐ เซนติเมตร ฝนจะต กผ่านปากกระบอกลงไปตามท่อกรวยสู่ภาชนะรองรับน้ำฝนไว้ เมื่อต้องการทราบปริมาณน้ำฝน ใช้แก้วตวงที่มีมาตราส่วนแบ่งไว้สำหรับอ่านปริมาณน้ำฝนเป็นมิลลิเมตรหรือเป็นนิ้ว
อุปกรณ์วัดระดับน้ำฝน

จากนั้นจึงนำมาวางแผนว่าควรขุดหนองหรืิอคลองให้ลึกหรือกว้างเพียงใดเพื่อให้เพียงพอต่อการใช้ในส่วนตลอดปีหากเกิดวิก ฤ ต ฝนข้ามปี ซึ่งต่อไปจะเป็นวิธีการนำทฤษฎีแนวคิด โคก หนอง นา โมเดล มาใช้ โดยมีวิธีการดังนี้
1 ขุดหนองโดยเลียนแบบธรรมชาติ
โดยให้มีส่วนเว้าส่วนโค้ง ลึกมากกว่า 3.65 เมตร ตามองความรู้ที่ในหลวงราชการที่ 9 พระราชทานไว้ว่า ในแต่ละวันน้ำจะระเหยไป 1 เซนติเมตร หากขุดลึกกว่า 3.65 เมตร ต่อให้ฝนทิ้งช่วงไป 1 ปี ก็ยังมีใช้อยู่นั้นเอง การขุดต้องแบ่งเป็นขั้นๆ เพื่อให้แสงแดดส่องถึงพื้นหนองบางส่วน เป็นที่อยู่ของแพลงตอนพืช กลายเป็นอาหารของปลา

2ทำโคกไว้เป็นที่อยู่อาศัยเลี้ยงสัตว์ปลูกต้นไม้
ดินที่ได้จากการขุดทำคลองเอาไปถมเป็นโคก บนโคกปลูกที่อยู่อาศัย เลี้ยงสัตว์และปลูกป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง คือ ปลูกไม้กิน ไม้ใช้สอย ไม้สำหรับสร้างที่อยู่อาศัย ซึ่งจะให้ประโยชน์เป็น ความพอกิน พอใช้ พออยู่ และพอร่มเย็น โดยปลูก 5 ระดับ คือ ไม้สูง ไม้กลาง ไม้เตี้ย ไม้เรี่ยดิน และพืชหัว เพื่อรักษาระดับความชุ่มชื่นในดิน

3 กักเก็บน้ำด้วยการขุดคลองไส้ไก่
การเก็บกักน้ำอีกวิธีคือขุดคลองใส่ไก้ให้ทั่วพื้นที่ ขุดให้ขดเคี้ยวเพื่อให้ใช้เป็นทางน้ำในดินเพิ่มความชุ่มชื่นโดยไม่ต้องวางท่อหรือสปริงเกอร์ สร้างฝายชะลอน้ำกั้น ให้น้ำไหลช้าลง

4 ปลูกหญ้าแฝกและปั้นหัวคันนา
ปลูกหญ้าแฝกโดยรอบหนองและคลองใส่ไก่ ปั้นหัวคันนา ให้มีความสูงอย่างน้อย 1เมตร บนคันนากว้าง 1 เมตร และทางกว้าง 2 เมตร บนคันนาปลูกพื้นผักโดยรอบทั้งไม้ผล ผักสวนครัว จนพืชสมุนไพร คนกลายเป็นหัวคันนาทองคำ เพราะปั้นหัวคันนาสูง ในคันนาจึงเปรียบเสมือนเขื่อนขนาดย่อมไว้เก็บกักน้ำ นอกจากนี้ยังเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำอีกด้วย

การจัดการน้ำเป็นหัวใจของการทำไร่ทำนาทำสวน หากข าดซึ่งน้ำไปแล้วการปลูกพืชผัก ก็ย ากยิ่งขึ้น หากจะให้รัฐบาลมาช่วยเหลืออาจจะไม่ทันการจนพืชผลเสี ยห ายได้ การนำหลัก โคก หนอง นา มาให้ควบคุมน้ำให้พอใช้แต่ละปีภายในสวนไร่นาของตัวเอง จะช่วยให้สามารถแก้ไขปั ญห าเรื่องน้ำไปได้มาก หากหันมาใช้วิธีการเราก็ไม่จำเป็นต้องรอน้ำจากรัฐบาลตลอด

การเรียนรู้ไม่มีที่สิ้ นสุด กำลังใจที่ดีที่สุดต้องมาจากตัวเราเอง เพราะมันสามารถสร้างได้ทันทีและตลอดเวลา เริ่มต้นวันใหม่” ด้วยการคิดแต่สิ่งดีๆ ศรัทธาในสิ่งที่ดีๆ แล้วจะได้มีกำลังใจในการดำเนินชีวิต อะไรที่มันผ่านไปแล้ว ก็ให้มันผ่านไป ทำวันนี้และวันต่อๆ ไปให้ดีที่สุดพอ