กลับมาพบเจอกันอีกแล้ว ก่อนอื่นแอดมินและทีมงานเพจเกษตรกับธรรมะ ก็ขอขอบคุณที่ท่านผู้อ่านยังคงติดตามผลงานของเรามาตลอด เราจะคอยสรรหานำเสนอเรื่องราวดีๆ ให้ความใจโลงใจและมีประโยชน์แก่แฟนเพจทั้งหลายให้ท่านได้อ่านเรื่อยๆนะคะ ก่อนที่เราจะไปอ่านเรื่องราวในวันนี้ แอดมินและทางทีมงานขออวยพรให้ท่านแฟนเพจมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง มีแต่สิ่งดีๆเข้ามาในชีวิตด้วยนะคะ
ผู้สื่อข่าวรับแจ้งว่ามีนักศึกษา อยู่บ้านเลขที่ 97 หมู่ที่ 13 ต.คุ้งพะยอม อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี ลงทุนทำอาชีพเพาะพันธุ์ปูนาข าย สร้างร ายได้ระหว่างเรียน ตรวจสอบพบ น.ส.สุธิดา สุขวิเศษ อายุ 21 ปี แสดงตัวเป็นผู้เพาะเลี้ยงปูนา พร้อมพาชมจุดเพาะเลี้ยงบริเวณข้างบ้าน พบพ่อแม่พันธุ์ปูนาขนาดใหญ่ ก้ามโต รวมไปถึงลูกปูนาอีกจำนวนมาก ถูกแย กเลี้ยงเป็นอย่างดีอยู่ในรองปูนและกะละมังพลาสติก เพื่อเตรียมจำหน่ายให้แก่ผู้ที่สนใจนำไปเพาะเลี้ยงขยายพันธุ์ต่อ และผู้ที่นำไปบริโภค
น.ส.สุธิดา เปิดเผยว่า ตนกำลังศึกษาอยู่ชั้นปีที่ 3 สาขาสังคมศึกษา คณะมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ทำให้มีค่าใช้จ่ ายมาก จึงคิดอยากหาอาชีพระหว่างเรียน เพื่อแบ่งเบาภาระครอบครัวอีกทางหนึ่ง จึงหาข้อมูลอาชีพที่เกี่ยวข้องกับการเกษตร ด้วยมีความสนใจและผลิตผลยังเป็นที่ต้องการของตลาด จนพบกับอาชีพการเลี้ยงปูนา สำหรับวิธีการเลี้ยง ตนจะออกจับปูนาที่มีขนาดใหญ่เพื่อนำมาเป็นพ่อแม่พันธุ์ ตามทุ่งนาในละแวกบ้าน

โดยดูจากความสมบูรณ์ของลำตัวก้ามและขาทั้ง 8 ต้องมีความแข็งแรง จากนั้นจึงนำไปเพาะเลี้ยงในสถานที่ที่จัดเตรียมไว้ โดยใช้บ่อปูนซีเมนต์ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 80 ซ.ม. ใส่น้ำลงไปเล็กน้อย และใส่อิฐบล็อกแบบมีรูเพื่อให้ปูใช้เป็นที่หลบซ่อนตัว รวมทั้งการนำดินท้องนาที่มีต้นหญ้าหรือต้นข้าว ทำเป็นเนินสำหรับให้ปูขึ้นมาพักและกัดกิน ซึ่งบ่อ 1 ใบ จะใส่พ่อแม่พันธุ์ปูนาจำนวน 3-5 คู่
หลังการผสมพันธุ์ ปูเพศเมียจะใช้เวลานานประมาณ 3-5 สัปดาห์ ไข่จะเริ่มฟัก ช่วงนี้ลูกปูนาที่ฟักออกจากไข่จะมีขนาดเล็กมาก และยังต้องอาศัยอยู่ที่แผ่นท้องของแม่ปู ก่อนแม่ปูจะใช้ขาเขี่ยให้ออกไปอาศัยในแหล่งน้ำ จนลูกปูมีอายุได้ประมาณ 30 วัน จึงแยกออกลูกปูออกเพื่อทำการอนุบาล เนื่องจากหากปล่อยไว้รวมกัน พ่อแม่ปูจะกินลูกตัวมันเอง สำหรับวิธีการให้อาหาร ตนจะให้อาหาร 2 แบบคือ ข้าวสุก และอาหารเม็ดสำหรับปลาดุก โดยจะให้ในช่วงเวลาเย็น ครั้งละไม่มากขึ้นอยู่กับปริมาณและขนาดของปู แต่หากให้อาหารปูมากเกินไป จะทำให้อาหารที่เหลืออาจเน่ าเสี ย เป็นต้นเหตุทำให้ปูเป็นโ ร คได้ ที่สำคัญควรเปลี่ยนน้ำใหม่ทุกสัปดาห์

ส่วนการจำหน่าย ขณะนี้เปิดหน้าร้านผ่านเฟสบุ๊ค ในชื่อ “ฟาริดา ฟาร์มปูนา” ซึ่งมีกลุ่มลูกค้าจากทั้งในพื้นที่และจังหวัดใกล้เคียง ติดต่อสอบถามและสั่งซื้อกันอย่างต่อเนื่อง โดยปูที่จำหน่าย ลูกค้าจะนำไปประกอบอาหาร ร้านอาหารอีสาน เพื่อนำไปทำส้มตำ ปูดอง และอีกกลุ่มคือผู้ที่สนใจนำไปเพาะเลี้ยงต่อเป็นอาชีพ ส่วนราคาพ่อแม่พันธุ์ปูนา อยู่ที่ราคาตัวละ 50 บ าท ส่วนลูกปูอายุ 2 เดือนขึ้นไป ราคาตัวละ 30 บ าท

ปูนาอาจดูเป็นเหมือนวัตถุดิบบ้านๆ ในสายตาของคนทั่วไป แต่เชื่อไหมว่า ทุกวันนี้ปูนาหาย ากขึ้นทุกที เพราะชาวนาใช้สารเคมีเสียจนปูนาพลอยสูญพันธุ์ไปด้วย ราคารับซื้อปูนา (ในหมู่บ้าน) เริ่มต้นที่กิโลกรัมละ 25-30 บ าท เลยทีเดียว บางปีหาย ากมากๆ ราคาก็พุ่งสูงขึ้นไปอีก การได้มาเห็นปูนาเดินทั่วทุ่งจึงเป็นเครื่องยืนยันอย่างดีว่า เมื่อเรารักดินฟ้าป่าน้ำ ธรรมชาติก็ตอบแทนเราด้วยการมอบอาหารการกินให้เราอย่างไม่มีวันหมดสิ้น ปูนาบางส่วนถูกจับไปกินเป็นอาหารก็จริง แต่อีกไม่น้อยก็เดินทางลงสู่ลำน้ำแพร่ขยายพันธุ์ และกลับมาเป็นวงจรชีวิตที่พึ่งพาอาศัยกันต่อไปไม่รู้จบ
ขอบคุณที่มา : ฟาริดา ฟาร์มปูนา เรียบเรียงโดยเพจ : เกษตรกับธรรมะ