10 จุดอ่อนของคนไทย ที่ควรแก้ไข โดยคุณวิกรม กรมดิษฐ์ เจ้าของโครงการนิคมอุตสาหกรรม 3 แห่งในประเทศไทย

คุณวิกรม กรมดิษฐ์ เป็นนักธุรกิจและนักเขียนชาวไทย ผู้ก่อตั้งและประธานกรรมการบริหาร (CEO) บมจ. อมตะ คอร์ปอเรชัน เจ้าของโครงการนิคมอุตสาหกรรม 3 แห่งในประเทศไทย ปัจจุบันเป็นนักเขียนและใช้ชีวิตอยู่ที่ดงกุฎาคาร เขาใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา

ล่าสุดได้สะท้อนมุมมองและแนวคิดเกี่ยวกับจุดอ่อนคนไทย 10 ข้อ ที่เราคนไทยควรรู้และรับทราบ เพราะที่กล่าวมาทุกข้อแทบปฏิเสธไม่ได้เลย โปรดอ่านแล้วพิจารณาอย่างปราศจากอคติ เพราะนี่คือกระจกบานใหญ่ที่สะท้อนตัวตนของเรา

1 คนไทยรู้จักหน้าที่ของตัวเองน้อยมาก โดยเฉพาะหน้าที่ต่อสังคม เป็นประเภท มือใครยาวสาวได้สาวเอา เกิดธุรกิจการเมืองธุรกิจราชการ ธุรกิจการศึกษา ทำให้ประเทศชาติ ล้าหลังไปเรื่อย

2 การศึกษายังไม่ทันสมัย คนไทยเก่งแต่ภาษาของตัวเอง ทำให้ขาดโอกาสในการแข่งขันกับต่างชาติในเวทีต่าง ๆ ไม่กล้าแสดงออก ขี้อายไม่มั่นใจในตัวเอง จึงตามหลังชาติอื่น คนมีฐานะจะส่งลูกไปเรียนเมืองนอก เพื่อโอกาสที่ดีกว่า

3 มองอนาคตไม่เป็น คนไทยมากกว่า 70 เปอร์เซ็น ทำงานแบบวันต่อวัน แก้ปัญหาเฉพาะหน้าไปวันๆ น้อยคนนักที่จะทำงานเป็นระบบเป็นขั้นเป็นตอนมีเป้าหมายในอนาคตที่ชัดเจน

4 ไม่จริงจังในความรับผิดชอบต่อหน้าที่ ทำแบบผักชีโรยหน้าหรือทำด้วยความเกรงใจ ต่างกับคนญี่ปุ่นหรือยุโรปที่จะให้ความสำคัญกับสัญญาข้อตกลงอย่างเคร่งครัด เพราะหมายถึงความเชื่อถือในระยะย าว คนไทยจึงถูกลดเครดิตความน่าเชื่อถือลงเรื่อย ๆ

5 การกระจายความเจริญยังไม่เต็มที่ ประชากรประมาณ 60 ถึง 70 เปอร์เซ็น ที่อยู่ห่างไกลจะขาดโอกาสในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของตัวเอง และชุมชนซึ่งเป็นหน้าที่ของภาครัฐที่ต้องส่งเสริม

6 การบังคับกฎหมายไม่เข้มแข็ง และไม่ต่อเนื่อง ทำงานแบบลูบหน้าปะจมูก ปราบปรามไม่จริงจัง การดำเนินการตามกฎหมายกับผู้มีอำนาจหรือบริวารจะทำแบบเอาตัวรอดไปก่อนไม่มีมาตรฐาน

7 อิจฉาตาร้อน สังคมไทยไม่ค่อยเป็นสุภาพบุรุษ เลี่ยงเป็นศรีธนญชัย ยกย่องคนมีอำนาจ มีเงินโดยไม่สนใจภูมิหลัง โดยเฉพาะคนที่ล้มบนฟูกแล้วไปเกาะผู้มีอำนาจเอาตัวรอด คนพวกนี้ร้ ายยิ่งกว่าผู้ก่อการร้ าย ดีแต่พูดมือไม่พายเอาเท้ารานํ้า ทำให้คนดีไม่กล้าเข้ามาเพราะกลัวเปลืองตัว

8 เอ็นจีโอค้านลูกเดียว บางกลุ่มอิงอยู่กับผลประโยชน์บ่อยครั้งที่ต้องเสียโอกาสอย่างมหาศาล เพราะการค้านหัวชนฝา เหตุผลจริง ๆ ไม่ได้พูดกัน

9 ยังไม่พร้อมในเวทีโลก การสร้างความน่าเชื่อถือ ในเวทีการค้าระดับโลกยังขาดทักษะและทีมเวิร์คที่ดี

10 เลี้ยงลูกไม่เป็น เด็กไทยขาดความอดทน ไม่มีภูมิคุ้มกันเป็นขี้โรคทางจิตใจ ไม่เข้มแข็งเพราะการเลี้ยงลูกแบบไข่ในหิน ไม่สอนให้ลูกช่วยตัวเอง ไม่กระตือรือร้นในการช่วยตนเองขวนขวายแสวงหา ค้นหาตัวเองและไม่สอนให้สำนึกรับผิดชอบต่อสังคม เจ็บปวดจริง ๆ แต่มันคือเรื่องจริงที่เถียงไม่ออก เห็นทีไทยเราจะต้องปรับตัวอย่างหนัก เริ่มตั้งแต่ในครอบครัว สังคม ตลอดจนหน่วยงานภาคธุรกิจ และภาครัฐบาลต้องร่วมกันตระหนักและหาทางแก้ไขอย่างจริงจัง

อ่านจนครบ 10 ข้อ เป็นอย่างไรบ้าง มันคือเรื่องจริงที่เถียงไม่ออก เห็นทีคนไทยของเราต้องมีการปรับตัวกันอย่างหนักกันเลยทีเดียวเริ่มตั้งแต่ในครอบครัว สังคม ตลอดจนหน่วยงานภาคธุรกิจและภาครัฐต้องร่วมกันตระหนักและหาทางแก้ไขอย่างจริงจัง

เรามาทำความรู้จักประวัติโดยย่อ วิกรม กรมดิษฐ์ เกิดเมื่อวันอังคารที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2496 เวลา 24.00 น. ที่ตลาดท่าเรือจังหวัดกาญจนบุรี[3] บรรพบุรุษสืบเชื้อสายมาจากชาวจีนแคะ หรือฮากก้า ซึ่งอพยพมาตั้งถิ่นฐานอยู่ในชุมชนท่าเรือเมื่อ 150 กว่าปีมาแล้ว นอกจากนี้เขายังมีเชื้อสายมอญจากยาย[4] เขาเป็นบุตรชายคนโตของตระกูล มีน้องมารดาเดียวกันและต่างมารดา 23 คน จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยแห่งชาติไต้หวัน มีความสนใจการค้าตั้งแต่ยังเล็ก โดยรับช่วงต่อกิจการร้านถั่วคั่วจากป้า ขณะเรียนอยู่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จนเมื่อเรียนจบปริญญาตรีกลับมาเปิดบริษัท วี แอนด์ เค คอร์ปอเรชั่น จำกัด ซึ่งเป็นธุรกิจนำเข้า – ส่งออก เมื่อปี พ.ศ. 2518 ต่อมาหันมาบุกเบิกธุรกิจด้านนิคมอุตสาหกรรม 3 แห่งของประเทศไทยและ 2 แห่งในประเทศเวียดนาม มูลค่าการลงทุนกว่า 7 แสนล้านบาท มีพนักงาน 200,000 คน และโรงงานกว่า 850 โรง

ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (CEO) บริษัท อมตะ คอร์ปอเรชัน จำกัด (มหาชน) และประธานมูลนิธิอมตะ ตลอดจนสนใจการเขียนหนังสือเพื่อถ่ายทอดประสบการณ์ชีวิตให้ประโยชน์แก่อนุชนรุ่นหลัง ในปี 2549 ถึง 2551 ได้รับการจัดอันดับจากนิตยสารฟอร์บส์ให้ติดอันดับ 40 มหาเศรษฐีในเมืองไทย และในปี 2551 Foreign Direct Investment magazine (fDi) ในเครือของFinancial Times Group จากลอนดอน ได้มอบรางวัล fDi Personality of the Year 2008-Asia ปัจจุบันใช้ชีวิตอยู่ในต่างจังหวัด

วิกรม กรมดิษฐ์ เคยดำรงตำแหน่งที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ในปี พ.ศ. 2535 ถึงปี พ.ศ. 2536 และที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ในปี พ.ศ. 2536 ถึงปี พ.ศ. 2538 ในรัฐบาลของนายชวน หลีกภัย

ต่อมาในปี พ.ศ. 2554 เขาถูกกล่าวถึงในแวดวงการเมืองอีกครั้ง เมื่อมีการทำนายของหมอดูว่าเขาอาจจะได้รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และในปี พ.ศ. 2557 เขาถูกนายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ และแกนนำ นปช. กล่าวถึงว่าจะเป็นนายกรัฐมนตรีคนกลาง แต่เขาได้ปฏิเสธ [5] ก่อนที่จะมีการรัฐประหารโดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) อันมีพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นหัวหน้าคณะ เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557

ผลงานเขียน
ผมจะเป็นคนดี ภาค ไฟฝันวันเยาว์ (2551) โดยมีประภัสสร เสวิกุล เป็นผู้เรียบเรียง ตีพิมพ์มาแล้วกว่า 100,000 เล่ม และเป็นหนังสือที่ขายดีมากที่สุดเล่มหนึ่ง โดยได้เล่าประวัติของตัวเอง
ผมจะเป็นคนดี ภาค ก่อร่างสร้างธุรกิจ (2552) โดยมีประภัสสร เสวิกุล เป็นผู้เรียบเรียง และได้ถูกนำไปสร้างเป็นละครโทรทัศน์ “ไฟอมตะ” ออกอากาศทางช่อง 9 อสมท.
ผมจะเป็นคนดี ฉบับย่อจาก “ไฟฝันวันเยาว์ และ ก่อร่างสร้างธุรกิจ” (2551) โดยมีประภัสสร เสวิกุล เป็นผู้เรียบเรียง
ละครไฟอมตะ เริ่มออกอากาศในวันที่ 10 เมษายน 2553 นำแสดงโดยนักแสดง เช่น ชาคริต แย้มนาม, นิรุตติ์ ศิริจรรยา และซอนย่า คูลลิ่ง ละครไฟอมตะได้รับรางวัลบทละครโทรทัศน์ดีเด่น ในงานประกาศผลรางวัลโทรทัศน์ทองคำ ครั้งที่ 25 จัดขึ้นในวันเสาร์ 19 มีนาคม 2554 ที่หอประชุมใหญ่ กรมประชาสัมพันธ์
กิน&อยู่แบบวิกรม (2553) โดยมีประภัสสร เสวิกุล เป็นผู้เรียบเรียง ตีพิมพ์มาแล้วกว่า 100,000 เล่ม
บทละครไฟอมตะ (2553) โดยมีศัลยา เป็นผู้เขียนบทละคร ประภัสสร เสวิกุล เป็นผู้เรียบเรียง
มองโลกแบบวิกรม (2550) โดยมีวิมล ไทรนิ่มนวล เป็นผู้เรียบเรียง
มองซีอีโอโลก (2551) โดยมีวิมล ไทรนิ่มนวล เป็นผู้เรียบเรียง โดยได้เล่าประวัติของซีอีโอชื่อดังของโลก
มองซีอีโอโลก ภาค 2 (2551) โดยมีวิมล ไทรนิ่มนวล เป็นผู้เรียบเรียง เปิดตัวหนังสือวันเสาร์ที่ 5 เมษายน 2551 ณ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ และจะมีการเสวนาในหัวข้อ เยาวชนไทย ก้าวไกลสู่ซีอีโอโลก
มองซีอีโอโลก ภาค 3 (2551)
มองซีอีโอโลก ภาค 4 (2552)
มองซีอีโอโลก ภาค 5 (2552)
มองซีอีโอโลก ภาค 6 (2553)
มองซีอีโอโลก ภาค 7 (2553)
มองซีอีโอโลก ภาค 8 (2554)

ขอบคุณที่มาคุณวิกรม กรมดิษฐ์

Facebook Comments Box