ทุเรียนเป็นผลไม้เศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทย มีปริมาณการบริโภคสูงทั้งในรูปของผลสดและแปรรูปจำนวนมากในลักษณะทุเรียนทอดกรอบและทุเรียนกวน จึงมีเปลือกทุเรียนถูกทิ้งเป็นกองขยะจำนวนมากในแต่ละปี สร้างปัญหาต่อสิ่งแวดล้อม
ทำไมดินดำในพื้นที่ลุ่มน้ำอะเมซอน ปลูกพืชผัก ต้นไม้โตเร็ว ลำต้นอุดมสมบูรณ์ แทบไม่ต้องพึ่งพาปุ๋ย นักวิทยาศาสตร์จึงเก็บตัวอย่างดินมาวิเคราะห์ จึงรู้ว่าดินดำมีส่วนผสมคาร์บอนและธาตุโปแตสเซียมสูงคาร์บอนหรือถ่าน นอกจากจะเป็นเชื้อเพลิง ยังมีคุณสมบัติดูดซับกลิ่น ช่วยเก็บกักธาตุอาหารส่งต่อให้พืชนำไปใช้ สร้างราก ลำต้น ดูดซับอาหาร เมื่อลำต้นสมบูรณ์แข็งแรง จะต้านทานโรคต่างๆได้ดี ให้ผลผลิตไว เกษตรกรไม่ต้องเสียเงินซื้อปุ๋ย หายามารักษาโรค

จากข้อมูลดังกล่าว ดร.สุวรรณี แทนธานี นักวิทยาศาสตร์ชำนาญการ สำนักเทคโนโลยีชุมชน กรมวิทยาศาสตร์บริการ จึงทำการวิจัยคิดหาวิธีเพิ่มคาร์บอนให้กับดิน โดยนำวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร อาทิ เปลือกทุเรียน, เปลือกกล้วยดิบ, แกลบ, ไม้, กะลาปาล์ม มาทดลองเผาให้กลายเป็นถ่านสีดำหรือคาร์บอน แล้วบดให้ละเอียด เพื่อนำมาวิเคราะห์ว่า วัสดุประเภทไหนมีธาตุอาหารโปแตสเซียมสูงที่สุดปรากฏว่า ถ่านแกลบและไม้มีโปแตสเซียมแค่ 1%, กะลาปาล์มมี 15%, ถ่านเปลือกกล้วยดิบมี 20%, เปลือกทุเรียนมีมากที่สุดถึง 30%
เพื่อปรับสภาพดินให้มีโครงสร้างเหมือนดินลุ่มน้ำอะเมซอน ปลูกพืชไปแล้วไม่เป็นโรครากเน่าโคนเน่า จึงต้องเพาะเชื้อจุลินทรีย์ไตรโคเดอร์มา และบาซิลลัส ที่ได้จากการนำสารเร่ง ซุปเปอร์ พด.3 จำนวน 1 ซอง โปรตีนเกษตรบดละเอียด 1 กก. น้ำ 10 ลิตร นำทั้งหมดผสมให้เข้ากัน หมักทิ้งไว้ในอุณหภูมิปกติ 2 วัน จากนั้นนำมาผสมกับถ่านเปลือกทุเรียนบดละเอียด 40 กก. แล้วนำมาผสมคลุกเคล้าเข้ากับถ่านเปลือกทุเรียน
และเมื่อนำมาทดลองปลูกมะเขือเทศ, คะน้า, ผักสลัด, ข้าวโพด ในเนื้อที่ 1 ไร่ แบบเปรียบเทียบแปลงที่ 1 โรยเปลือกทุเรียนผสมหัวเชื้อสารเร่ง พด.3 ร่วมกับปุ๋ยคอก 50 กก. ในขณะที่แปลงที่ 2 ใส่แต่เพียงปุ๋ยคอก 50 กก. แต่ไม่ใส่ถ่านเปลือกทุเรียน ดร.สุวรรณี พบว่า แปลงที่ใส่ถ่านเปลือกทุเรียนผสมหัวเชื้อสารเร่ง พด.3 พืชทั้ง 4 ชนิด มีลำต้นสมบูรณ์ ให้ผลผลิตเร็วเก็บเกี่ยวได้เร็วกว่า 5-7 วัน นอกจากจะช่วยเกษตรกรลดต้นทุนค่าปุ๋ยค่ายาได้แล้ว ยังช่วยลดปริมาณเปลือกทุเรียน ขณะเหลือใช้ทางการเกษตรได้อีกด้วย

การศึกษาผลของการผสมถ่านชีวภาพจากเปลือกทุเรียนในดินปลูกต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าวโพดฝักอ่อนที่ปลูกในพื้นที่ดินเปรี้ยวจัด จากผลการวิเคราะห์สมบัติทางเคมีของถ่านชีวภาพจากเปลือกทุเรียน พบว่า มีปฏิกิริยาของดิน (pH) สูงถึง 10.20 ปริมาณอินทรียวัตถุ (OM) 41.10 เปอร์เซ็นต์อยู่ในระดับสูง ค่าความจุในการแลกเปลี่ยนประจุบวก (CEC) อยู่ที่ 65.10เซนติโมลต่อกิโลกรัม ความสามารถในการอุ้มน้ า >100 เปอร์เซ็นต์มีฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์(P) 1,563 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม
และมีโพแทสเซียมที่เป็นประโยชน์ต่อพืช (K) 47,500 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม อยู่ในระดับสูงมาก (Table 1) จากสมบัติทางเคมีนั้นพบว่า ถ่านชีวภาพจากเปลือกทุเรียนมีปริมาณธาตุอาหารที่สูง ซึ่ง สายจิตร และคณะ (2555) ได้ศึกษาสมบัติทางเคมีและกายภาพของถ่านชีวภาพ ได้แก่ ถ่านชีวภาพจากเปลือกทุเรียน ไผ่ เปลือกปาล์ม และแกลบ พบว่า ถ่านชีวภาพจากเปลือกทุเรียนมีคุณสมบัติทางเคมี ได้แก่ pH N P K Ca Mg และ สมบัติทางกายภาพ ได้แก่ ความพรุนตัวสูงกว่าถ่านชีวภาพจากวัสดุอื่นๆ (ขนาดรูพรุน 20μm และค่าไอโอดีน 202.32 mg/g) เมื่อเทียบกับถ่านชีวภาพชนิดอื่น ๆ จากคุณสมบัติดังกล่าวจึงน ามาทดลองในการปรับปรุงดินเปรี้ยวจัด เพราะถ่านชีวภาพจากเปลือกทุเรียนมีค่าความเป็นกรด – ด่างที่สูงมาก และมีความจุในการแลกเปลี่ยนประจุบวกที่สูง
ถ้านำมาปรับปรุงดินเปรี้ยวจัดจะท าให้พืชสามารถดูดใช้ธาตุอาหารที่ถูกตรึงไว้ได้ ดังนั้นจึงทดลองน าถ่านชีวภาพจากเปลือกทุเรียนใส่ลงในดินเปรี้ยวจัดในอัตรา 0, 500, 1000 และ 2000 กิโลกรัมต่อไร่ เพื่อปรับปรุงดินใช้ในการปลูกข้าวโพดฝักอ่อน พบว่า การใส่ถ่านชีวภาพจากเปลือกทุเรียนอัตรา 2000 กิโลกรัมต่อไร่ ท าให้ผลผลิตรวมมีปริมาณมากที่สุดคือ 478.84 กิโลกรัมต่อไร่ ซึ่งมีความ

แตกต่างทางสถิติกับไม่ใส่ถ่านชีวภาพจากเปลือกทุเรียน และพบว่าอัตราถ่านชีวภาพ 2000 กิโลกรัมต่อไร่ มีแนวโนวทำให้ความสูงของลำต้นต้นข้าวโพดฝักอ่อน ความยาวของข้าวโพดฝักอ่อน เส้นผ่าศูนย์กลางของข้าวโพดฝักอ่อน และน้ าหนักฝัก มีค่าสูงคือ152.08, 12.88, 1.93 เซนติเมตร และ 25.94 กรัม** ตามลำดับ (Table 2) และยังทำให้ดินเปรี้ยวจัดสามารถปรับค่าความเป็นกรด-ด่างของดินให้มีค่าเพิ่มขึ้นจาก 3.5 เป็น 7.5* ภายในระยะเวลา 28 วัน (Table 3)
เนื่องจากคุณสมบัติของถ่านชีวภาพที่เป็นด่างจัด มีความจุในการแลกเปลี่ยนประจุบวกที่สูง ปริมาณความพรุนและจำนวนช่องว่างที่มาก ทำให้เมื่อใส่ลงไปในดิน จุลินทรีย์ที่ ว. วิทยาศาสตร์เกษตร ปีที่ 49 ฉบับที่ 2 (พิเศษ)
มกราคม-เมษายน 2561 403 เป็นประโยชน์ในดินจะเข้าไปอยู่ในช่องว่างและช่วยตรึงไนโตรเจนในบรรยากาศ และช่วยปลดปล่อยธาตุอาหารในดินออกมา ทำให้มีความอุดมสมบูรณ์เพิ่มขึ้น (Warnock และคณะ, 2007) ส่งผลต่อการเจริญเติบโตของพืช ท าให้ข้าวโพดฝักอ่อนมีการเจริญเติบโตและให้ผลผลิตที่ดีกว่าไม่ใส่ถ่านชีวภาพ สอดคล้องกับ เกศศิรินทร์
และคณะได้ศึกษาชนิดและอัตราของถ่านชีวภาพต่อสมบัติของดิน ในการปลูกกระเจี๊ยบเขียว พบว่า การใส่ถ่านชีวภาพจากเปลือกทุเรียน อัตรา 2000 กิโลกรัมต่อไร่ ทำให้ดินเปรี้ยวจัดมีความอุดมสมบูรณ์เพิ่มขึ้น และยังยับยั้งการเกิดโรครากเน่าโคนเน่าได้ เนื่องจากมีปริมาณจุลินทรีย์ที่ยับยั้งการเกิดโรคในพืชในปริมาณที่เยอะกว่า การใส่ถ่านชีวภาพจากวัสดุอื่น
สรุปผลการทดลอง การศึกษาผลของถ่านชีวภาพจากเปลือกทุเรียนต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าวโพดฝักอ่อนที่ปลูกในพื้นที่ดินเปรี้ยวจัด พบว่า การใส่ถ่านชีวภาพจากเปลือกทุเรียนอัตรา 2000 กิโลกรัมต่อไร่ ช่วยปรับปรุงดินเปรี้ยวจัดท าให้ข้าวโพดฝักอ่อนมีการเจริญเติบโตและผลผลิตมากที่สุด
เอกสารอ้างอิงกรมพัฒนาที่ดิน, 2558, แผนที่การใช้ประโยชน์ที่ดิน, กรุงเทพฯ. 38 หน้า