เคล็ดลับ ฟื้นฟูสุขภาพดิน ให้ดีขึ้นสำหรับปลูกพืช

ฟื้นฟูสุขภาพดิน เป็นที่รู้กันว่าดินที่มีสภาพร่วนซุยเป็นดินที่เหมาะสำหรับปลูกพืชมากที่สุดเพราะช่วยให้รากชอนไชหาน้ำและอาหารได้สะดวก ดินที่ดีนั้นควรมีความพรุนและมีช่องว่างให้น้ำและอากาศแทรกตัวอย่างพอเหมาะ

มีความเป็นกรดเป็นด่างที่พอดี แต่หากดินในสวนที่เราต้องการปลูกพืชไม่ได้มีสภาพดังกล่าว เช่น เกิดปัญหาดินแข็ง ดินขาดธาตุอาหาร ดินเหนียว ดินลูกรัง ดินกรด ก็จำเป็นต้องปรับปรุงฟื้นฟูดินให้เหมาะสำหรับปลูกต้นไม้ต่อไป ซึ่งเทคนิคง่าย ๆ ในการปรับปรุงดินทำได้ ดังนี้

1ปรับปรุงดิน ราคาประหยัด

วัสดุจากธรรมชาติ เช่น เปลือกถั่ว ฟางข้าว ใบไม้แห้ง ปุ๋ยอินทรีย์ต่างๆ เช่น ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพืชสด คือตัวเลือกชั้นดีที่หาได้ง่ายและราคาไม่แพง ในพื้นที่ที่มีดินแข็งหรือดินลูกรังให้ขุดดินแล้วผสมคลุกเคล้าวัสดุเหล่านี้ลงไปเพื่อช่วยเพิ่มช่องว่างในดินจะทำให้ดินโปร่งและร่วนซุยขึ้น ในปุ๋ยอินทรีย์ยังมีธาตุอาหารที่ช่วยเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้ดินได้อีกด้วย สำหรับฟางข้าวนั้นให้หมักไว้ในดินแล้วรดปุ๋ยอินทรีย์น้ำจะช่วยให้ฟางย่อยสลายเร็วขึ้น แต่หากคุณไม่ได้ทำสวนจริงจังมากนักก็อาจใส่ปุ๋ยอินทรีย์เฉพาะจุดที่ต้องการปรับปรุงดินก็ได้ เช่น บริเวณที่จะทำแปลงต้นไม้ หรือหลุมปลูกไม้ยืนต้น

2คลุมดิน ทั้งง่ายและสะดวก

หลักการคล้ายกับข้อแรกเพียงแต่ไม่ต้องขุดและผสมวัสดุลงไปในดินแต่ใช้วัสดุนั้นคลุมดินเพื่อช่วยรักษาความชื้นเช่นฟางข้าวแกลบ กาบมะพร้าวสับหญ้าแห้งใบหญ้าแฝกหรือปลูกพืชตระกูลถั่วคลุมดิน วัสดุคลุมดินจะช่วยป้องกันการชะล้างหน้าดินยามรดน้ำ ลดการสูญเสียธาตุอาหารพืชออกไปรักษาความชื้นในดินได้ดีทำให้รากพืชสามารถลงไปได้ลึกทีละน้อย ดินจึงมีโครงสร้างดีขึ้นทั้งยังเกิดจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์มากขึ้นด้วย และเมื่อวัสดุคลุมดินธรรมชาติเหล่านี้ย่อยสลายก็จะช่วยปรับปรุงโครงสร้างดินและเพิ่มธาตุอาหารให้แก่พืชที่ปลูกต่อไป

3พืชตระกูลถั่ว เพิ่มธาตุไนโตรเจน

หลักการง่าย ๆ ในการฟื้นฟูดินซึ่งเกษตรกรนิยมใช้คือ หลังจากเก็บเกี่ยวพืชไปแล้วจะตากดินไว้ระยะหนึ่งเพื่อกำจัดเชื้อโรคและแมลงศัตรู พืชที่ตกค้างอยู่ในดิน จากนั้นจึงปลูกพืชตระกูลถั่ว เช่น ถั่วเขียว ถั่วเหลือง ถั่วลิสง ถั่วพุ่ม ปอเทือง โสน ถั่วพร้า ถั่วแปบ คลุมดินแล้วไถกลบหรือตัดคลุมดินช่วงที่เริ่มออกดอก (ประมาณ 50-60 วันหลังปลูก หากไถกลบจะช่วยให้ย่อยสลายได้รวดเร็วขึ้น) ซึ่งเรานำหลักการนี้มาใช้กับสวนที่บ้านได้เช่นกัน

พืชเหล่านี้ไม่เพียงแต่ทำให้ดินร่วนซุยเท่านั้นแต่ยังอุดมด้วยธาตุไนโตรเจนซึ่งเกิดจากเ ชื้ อ ไรโซเบียมที่มักอยู่ในปมรากถั่วทำหน้าที่ตรึงไนโตรเจนในอากาศมาสร้างเป็นสารประกอบไนโตรเจนไว้ในดิน หากต้องการให้ได้ผลดียิ่งขึ้นก็ใส่เชื้อไรโซเบียมลงไปเพิ่มเติม

(สั่งซื้อโดยตรงได้ที่ กลุ่มงานวิจัยจุลินทรีย์ดิน กลุ่มวิจัยปฐพีวิทยา (ตึกไรโซเบียม) สำนักวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร กรมวิชาการเกษตร โทรศัพท์ 0-2579-7522-3) เพราะไนโตรเจนส่วนเกินที่ปลดปล่อยลงดินจะช่วยให้ดินคงสภาพอุดมสมบูรณ์โดยที่แทบไม่ต้องใช้ปุ๋ยไนโตรเจนเพิ่มเติมเลย โดยเฉพาะหากใครคิดจะทำฟาร์มเล็ก ในบ้านก็ปลูกพืชเหล่านี้แล้วไถกลบเป็นปุ๋ยพืชสดได้เลย

4ไส้เดือนดิน พระเอกตัวจริง

เป็นที่รู้กันว่าไ ส้เดือนดินมีความสำคัญมากต่อระบบนิเวศเพราะทำหน้าที่ย่อยสลายอินทรียสารในดิน รวมทั้งการเคลื่อนที่ของไส้เดือนดินยังเป็นการพรวนดินทำให้ดินมีการระบายน้ำและอากาศดีขึ้น ช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตของพืช เป็นดัชนีชี้วัดการปนเปื้อนของสารต่างๆ ในดินได้ดี จะสังเกตว่าดินที่มีสภาพเป็นดินทราย ดินเหนียวจัด แปลงปลูกที่เกิดการเหยียบย่ำจนเกิดเลน หรือมีการใช้เครื่องมือเครื่องจักรหนักทำให้ดินอัดตัวแน่น

5ดินกรด แก้ได้

ดินกรด คือ ดินที่มีค่า pH ต่ำว่า 7 นอกเหนือไปจากการตรวจวัดดินด้วยอุปกรณ์ทดสอบแล้วยังมีข้อสังเกตเบื้องต้นง่าย ๆ ว่าดินมีสภาพเป็นกรด หรือไม่ก็คือให้สังเกตว่าต้นไม้ของเรามีการเจริญเติบโตช้าลง ให้ผลผลิตน้อยลง แสดงอาการเหี่ยวเหมือนขาดน้ำ เพราะรากไม่สามารถเจริญเติบโตในดินได้ตามปกติ

รวมทั้งยังแสดงอาการขาดธาตุฟอสฟอรัส แมกนีเซียม และแคลเซียม หรือพบการแพร่ ระบาดของโรคพืชเป็นประจำและมากขึ้น ดินกรดเกิดได้เองตามธรรมชาติทั้งจากการชะล้างละลายธาตุที่เป็นด่างออกไปจากดิน พืชดูดเอาธาตุที่เป็นด่างออกไปแล้วปลดปล่อยกรดลงไปแทนที่หรืออาจเกิดจากการใช้ปุ๋ยเคมีหรือสารที่มีสารกำ มะถันเป็นองค์ประกอบรวมทั้งเกิดจากฝนกรดในพื้นที่ที่อยู่ใกล้โรงงานอุตสาหกรรมเป็นต้น

ดินทำหน้าที่เป็นที่ให้รากพืชได้เกาะยึดเหนี่ยวเพื่อให้ลำต้นของพืชยืนต้นได้อย่างมั่นคง แข็งแรง ขณะที่พืชเจริญเติบโตรากของพืชจะเติบโตชอนไชหยั่งลึกแพร่กระจายลงไปในดินอย่างกว้างขวางทั้งแนวลึกและแนวราบ ดินที่ร่วนซุยและมีชั้นดินลึก รากพืชจะเจริญเติบโตแข็งแรง สามารถเกาะยึดดิน ต้านทานต่อลมพายุไม่ทำให้ต้นพืชล้มหรือถอนโคนได้

ดินเป็นแหล่งให้ธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช ทั้งนี้เนื่องจากธาตุอาหารพืชจะถูกปลดปล่อยออกจากอินทรียวัตถุ และแร่ต่างๆ ที่เป็นองค์ประกอบของดิน ให้อยู่ในรูปที่รากพืชสามารถดึงดูดไปใช้ประโยชน์ได้ง่าย

ดินเป็นแหล่งที่เก็บกักน้ำหรือความชื้นในดิน  ให้อยู่ในรูปที่รากพืชสามารถดึงดูดได้ง่าย เพื่อนำไปหล่อเลี้ยงลำต้นและสร้างการเจริญเติบโต น้ำในดินจะต้องอยู่ในสภาพที่เหมาะสมเท่านั้น ที่รากพืชสามารถดึงดูดขึ้นมาใช้ประโยชน์ได้ การรดน้ำพืชจนขังแฉะ  รากพืชไม่สามารถดึงดูดน้ำขึ้นไปใช้ประโยชน์ได้

ดินเป็นแหล่งที่ให้อากาศในดิน ที่รากพืชใช้เพื่อการหายใจ  รากพืชประกอบด้วยเซลล์ที่มีชีวิต ต้องการออกซิเจนสำหรับการหายใจทำให้เกิดพลังงานเพื่อการดึงดูดน้ำ ธาตุอาหารและการเจริญเติบโต ดินที่มีการถ่ายเทอากาศดี รากพืชจะเจริญเติบโตแข็งแรง  ดูดน้ำและ ธาตุอาหารได้มาก ทำให้ต้นพืชเจริญเติบโตแข็งแรงและให้ผลิตผลสูง

ดินเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ เพราะสัตว์ส่วนใหญ่อาศัยอยู่บนพื้นดิน นอกจากนั้น สัตว์บางชนิดยังอาศัยอยู่ใต้ดิน เช่น มด หนู ไส้เดือน กิ้งกือ ปลวก เป็นต้น

ดินใช้ทำของใช้ เครื่องปั้นดินเผาต่างๆ เช่น ภาชนะ ถ้วย ชาม แจกัน กระถางต้นไม้ เป็นต้น

ดินใช้สร้างและเป็นส่วนประกอบในการก่อสร้างที่อยู่อาศัย เช่น อิฐ ทำมาจากดินเหนียวผสมกับทราย และแกลบหรือขี้เลื่อยผสมกัน

ขอบคุณข้อมูล baanlaesuan.com

Facebook Comments Box