ปลูกชะอม ให้แตกยอดดก จนเก็บทานแทบไม่ทัน

วิธีการปลูกชะอม จะปลูกโดย การปักชำ การเพาะเมล็ด การตอนกิ่ง หรือการโน้มกิ่งลงดิน โดยไม่ต้องต่อตาหรือชำกิ่ง การปลูกผักชะอมส่วนมากจะใช้วิธีการเพาะเมล็ด เพราะจะได้ต้นที่แข็งแรงและทนทานต่อสภาพแวดล้อม มีหนามหนากว่าการปลูกด้วยวิธีอื่น

ผักชะอมนั้นจะขาดไม่ได้เลยหลายเมนู เช่น ไข่เจียว แกงส้ม ทานสด ฯลฯ ชะอมบางคนอาจจะไม่ชอบตรงความชุนของมัน แต่กับบางคนมันคือความกลมกล่อมที่ขาดไม่ได้เลย วันนี้เรามี วิธีปลูกชะอม ซึ่งปลูกเพียง 1 ต้นเท่านั้นแต่ว่ามีเก็บทางไปได้ตลอดทั้งปี แบบนี้กินแทบไม่ทันแตกพุ่ม แตกกิ่งก้าน แตกยอดเขียวเยอะมาก ๆ มีวิธีทำไม่ยากมาติดตามกันเลย

การขยายพันธุ์

เวลาจะขยายพันธุ์ก็ไม่ยากเลยทำได้ทั้งการตอนกิ่งและปักชำ หรือโน้มกิ่งก็ได้เหมือนกัน หากเป็นกิ่งตอนก็ขุดหลุมปลูกง่าย ๆ เลย หรือใครมีต้นอยู่แล้วจะโน้มกิ่งลงมาเพื่อให้แตกราก แตกต้นใหม่ก็ได้อีกเหมือนกัน และระยะในการปลูกแต่ละต้นนั้นควรจะห่างกันประมาณ 30 – 50 เซนติเมตร แต่ถ้าจะปลูก 1 ต้นเอาไว้เก็บกินในบ้านก็ปลูกเลยไม่ต้องคิดเยอะ

การดูแลและเก็บเกี่ยว

พอเราปลูกชะอมไปได้สัก 3 เดือนแล้วก็ให้เว้นวันในการรดน้ำ แม้ว่าชะอมนั้นจะชอบความชื้นแต่ว่าก็ไม่ถึงกับชอบแฉะ ๆ เพราะว่าอาจจะทำให้รากเน่าได้ พอชะอมเริ่มจะแตกยอดอ่อนเราก็เก็บมาทำกับข้าว เก็บขายได้เลย พอเรายิ่งเก็บชะอมก็ยิ่งแตกมากกว่าเดิม ส่วนการดูแลนั้นก็หาปุ๋ยคอกมากใส่หรือจะใส่เป็นปุ๋ยหมักหลังจากปลูกได้ 3 เดือน ซึ่งจะบำรุงให้ต้นชะอมแข็งแรง เติบโตดี

การทำให้ชะอมแตกยอดเร็ว

กระตุ้นแบบง่าย ๆ เลยโดยการใช้ปุ๋ยยูเรีย แต่ว่าอย่าใส่เยอะให้ใส่น้อย ๆ และใช้ปุ๋ยคอกปุ๋ยหมัก มาใส่ด้วยจะทำให้ต้นชะอมชอบ แบบนี้จะยิ่งทำให้แตกยอดอ่อนออกมาเยอะมาก ๆ และอีกหนึ่งวิธีในการกระตุ้นคือการใช้ปุ๋ยหมักชีวภาพที่หมักจากยอดอ่อนของพืชต่าง ๆ โดยเอาน้ำหมัก นั้นมา 1 ลิตรผสมน้ำ 40 ลิตร แล้วนำมารด 7 วัน จะทำให้เห็นยอดอ่อนแตกออกมาดีเหมือนกัน

ชะอม 1 ต้นแตกยอดเพียบได้อย่างไร

ชะอมหากเราไม่ได้จะปลูกขายก็ไม่ต้องมีเยอะก็ได้ 1 ต้นก็เพียงพอแล้ว จากนั้นก็ปล่อยมันเลื่อยทอดยอดไปเรื่อย ๆ เลย แล้วเราก็จับเอาต้นชะอมยอดสูงนั้นเอาเชือกฟางมัดไว้กับหลักที่ปักไว้ให้เป็นแถว ๆ ห่างกันสัก 50 เซนติเมตร เพื่อให้ต้นชะอมนั้นเลื้อยไปแบบขนาน ๆ ก็ทำแบบนี้มันก็ยาวไปเรื่อย ๆ เพียงเท่านี้เราก็มีชะอมไว้เด็ดยอดทานกันตลอดปีในต้นเดียวแล้ว

สำหรับเคล็ดลับนี้เกษตรกรก็นิยมทำกัน แต่ถ้าปลูกขายก็อาจจะปลูกหลายต้นหน่อย สำหรับการปลูกต้นเดียวนั้นเหมาะกับคนที่อยากจะปลูกเอาไว้ทานในบ้าน เอาไว้ปรุงอาหารหรือถ้าหากทานไม่ทันจะแบ่งเพื่อนบ้านหรือแบ่งขายเล็กน้อยก็ยังได้เลย

ประโยชน์ของชะอม

ประโยชน์ของชะอม ช่วยฟื้นฟูผมแห้งเสีย แตกปลาย ด้วยสูตรน้ำชะอมหมักผม เพียงแค่นำใบชะอมประมาณ 1 กำมือมาต้มกับน้ำเปล่า 3 ถ้วย จนได้น้ำชะอมเข้มข้น กรองเอาแต่น้ำ เมื่อสระผมเสร็จให้นำผ้าขนหนูมาชุบน้ำชะอมที่เตรียมไว้ บิดพอหมาด นำมาเช็ดผมให้ทั่ว แล้วทิ้งไว้ประมาณ 10 นาทีแล้วล้างออก จะช่วยทำให้ผมแห้ง ๆ กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง

ชะอม ประโยชน์นำมาทำเป็นเมนูอาหารได้หลากหลายเมนู เมนูชะอม เช่น ไข่ชะอม ไข่ทอดชะอม ชะอมชุบไข่ แกงส้มชะอมกุ้ง แกงส้มชะอมไข่ นำมาลวกหรือนึ่งใช้เป็นผักจิ้มกับน้ำพริก น้ำพริกกะปิ รับประทานร่วมกับส้มตำมะม่วง ตำส้มโอ หรือจะนำไปปรุงเป็นแกงรวมกับปลา เนื้อ ไก่ กบ เขียด หรือต้มเป็นอ่อม ทำแกงลาว แกงแค เป็นต้น

ข้อควรระวัง-อันตรายของ ชะอมหญิงที่กำลังให้นมบุตร ไม่ควรกินชะอม เพราะอาจทำให้นมแห้งได้ในหน้าฝน อาจทำให้ชะอมมีรสเปรี้ยว และมีกลิ่นฉุนกว่าปกติ ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการปวดท้องได้ชะอมมีกรดยูริกสูง ผู้ป่วยโรคเกาต์ยังสามารถรับประทานได้ แต่ควรจำกัดปริมาณในการรับประทานไม่ให้มากเกินไป แต่หากมีอาการของโรคเกาต์ค่อนข้างหนัก และปวดเข่ามาก ควรหลีกเลี่ยงชะอมเป็นพืชที่พบการปนเปื้อนของเชื้อก่อโรคท้องเสีย ท้องร่วงอย่าง ซาลโมเนลลา ได้ ดังนั้นจึงควรล้างผักให้สะอาด และปรุงโดยต้ม ลวก หรือผ่านความร้อนให้สุกอย่างทั่วถึงก่อนรับประทาน

ขอบคุณข้อมูล kasetchaoban

Facebook Comments Box