ไม้มีค่า 58 ชนิด มอบเป็นมรดกและใช้ค้ำประกันเงินกู้

เราอาจจะเคยได้ยินคาว่า ปลูกไม้ป่า มีค่ากว่าทองคำ เรามาดูกันว่า ไม้มีค่า 58 ชนิด มอบเป็นมรดกและใช้ค้ำประกันเงินกู้  มีไม้อะไรบ้าง

1 การปลูกไม้สัก การปักหลักหมายปลูกดำเนินการหลังจากได้เตรียมพื้นที่เสร็จแล้ว ระยะปลูกที่เหมาะสมสำหรับการปลูกไม้สักทอง ควรปลูกระยะ 3X3 เมตร ( 178 ต้น/ไร่ ) หรือ 2X4 เมตร ( 200ต้น/ไร่)

ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของผู้ปลูก การปลูกระยะ 2×4 เมตร ควรพิจารณาปลูกเมื่อแน่ใจว่า มีตลาดรับซื้อไม้สักทองขนาดเล็กที่ตัดสางออกเมื่อต้นสักอายุ 5 ปี ถ้าไม่แน่ใจว่ามีตลาดรับซื้อ ควรปลูกระยะ 3×3 เมตรควรปลูกไม้สักทอง ในช่วงต้นฤดูฝนจะให้ผลดีที่สุด

ทั้งนี้เพราะต้นไม้จะมีโอกาสตั้งตัวเร็ว และมีช่วงเวลาที่จะรับน้ำฝนและเจริญเติบโตมากกว่าต้นไม้ที่ปลูกในตอนปลายฤดูฝน ควรรดน้ำช่วยเหลือในช่วงแรกที่ปลูกและมีฝนทิ้งช่วง

เพื่อช่วยให้ต้นไม้มีเปอร์เซ็นต์การรอดสูง ในปีแรกควรรดน้ำช่วยในช่วงหน้าแล้งเดือนละ 1 ครั้ง จะทำให้ต้นสักทองเจริญเติบโตเร็วมาก ไม่ควรรดน้ำต้นสักทองเกิน 2 ปี เพราะจะทำให้สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายสูงเกินไป เมื่อต้นสักทองตั้งตัวได้แล้ว

2 การปลูกมะขามแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทด้วยกันคือมะขามหวานกับมะขามเปรี้ยว ซึ่งจริงๆแล้วมะขามทั้งสองประเภทตีคู่กันมา แต่ระยะกลางๆ มะขามหวานดูจะมีชื่อเสียงมากกว่าการปลูกมะขามเปรี้ยวที่ไร่จะแนะนำให้ปลูกโดยใช้ระยะปลูก 10 x 10 เมตร หรือ 5×5 วา (ระยะห่างของแถว 10 เมตร ระยะห่างของต้น 10 เมตร)

ไร่หนึ่งจะปลูกได้ 16 ต้น/ไร่ เพราะมะขามเป็นไม้ผลที่เก็บกินในระยะยาวเป็นร้อยๆ ปี จึงต้องห่วงถึงอนาคต เพราะถ้าปลูกในระยะที่ชิดกันมาก จะมีผลต่อทรงพุ่มของมะขามเปรี้ยว เพราะมะขามเปรี้ยวชอบที่แจ้งแดดมาก น้ำน้อย

เพราะถ้าปลูกในระยะที่ชิดกันมาก จะมีผลต่อทรงพุ่มของมะขามเปรี้ยว เพราะมะขามเปรี้ยวชอบที่แจ้งแดดมาก น้ำน้อย ถ้าปลูกในที่ร่มมะขามจะไม่โตและไม่ติดฝักให้และถ้าบำรุงรดน้ำใส่ปุ๋ยมากจนเกินไปก็จะไม่ติดฝัก ต้นจะสวยแต่บ้าใบ คือให้แต่ใบอย่างเดียว

3 ปลูกกระพี้เขาควายชื่อพื้นเมือง : กระพี้ (ภาคกลาง) กระพี้เขาควาย (อุดรธานี, ราชบุรี) เก็ดเขาควาย (ภาคเหนือ), เก็ดแดง (แม่ฮ่องสอน, ลำปาง), เก็ดดำ(กาญจนบุรี, ภาคเหนือ) กำพี้, ชิงชัน (เพชรบูรณ์) กำพี้เขาควาย, แดงดง (เลย) จักจัน, เวียด (ไทยใหญ่-เชียงใหม่) มะขามป่า (เชียงใหม่) เส่งพลิแดละ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) อีเม็งในมน (อุดรธานี)

4 การปลูกพฤกษ์ การปลูกและการดูแล: ขยายพันธุ์โดยเมล็ดหรือตอนกิ่ง วิธีปฏิบัติต่อเมล็ดและการเพาะเมล็ด แช่ในน้ำร้อนอุณหภูมิ ๘๐-๙๐ องศาเซลเซียส แล้วทิ้ งไว้ให้เย็น แช่ไว้เป็นเวลา ๑๖ ชั่วโมง เมล็ดงอกใช้เวลาประมาณ ๑๒ วัน ภายในระยะเวลา ๗ เดือน ต้นกล้าจะมีความสูงประมาณ ๓๐-๔๐ เซนติเมตร สามารถย้าย

5 การปลูกพะยูงวิธีการปลูกและระยะปลูกระยะเวลาที่เหมาะสมสำหรับการปลูกไม้พะยูงคือในช่วงที่เป็นต้นหรือกลางฤดูฝน (ระหว่างพฤษภาคม-สิงหาคม) เพราะจะทำให้กล้าไม้มีอัตราการรอดที่สูงและมีระยะเวลา

นานพอสำหรับการตั้งตัวการปลูกพะยูงโดยทั่วไปจะปลูกด้วยกล้าไม้ ซึ่งจะได้ผลดีกว่าการปลูกด้วยเหง้า ก่อนจะย้ายปลูกลงในแปลงประมาณ 2 อาทิตย์ ควรลดปริมาณการให้น้ำ (การรดน้ำ) แก่กล้าลง ทั้งนี้เพื่อให้กล้าไม้มีการปรับตัว และทนทานต่อสภาพแวดล้อมที่แห้งแล้งซึ่งอาจจะเกิดขึ้นได้

หลังจากการปลูกเนื่องจากฝนทิ้งช่วงก่อนนำไปปลูกกล้าไม้ ้ควรได้รับการใส่ปุ๋ยด้วยในปริมาณที่พอเหมาะ (ประมาณต้นละ 1 ช้อนชา) ทั้งเพื่อให้ให้กล้าไม้มีปริมาณธาตุอาหาร ที่เพียงพอในช่วยระยะแรกของ การตั้งตัว

และสามารถแข่งขันกับวัชพืชได้การเตรียมหลุมสำหรับการปลูกกล้าไม้ ควรขุดให้ลึกพอที่จะคลุมระบบรากได้หมดหาก มีการใส่ปุ๋ยที่กล้าไม้ก่อนย้ายปลูกแล้ว การใส่ปุ๋ย ที่ก้นหลุมอาจจะไม่จำเป็น หากบริเวณแปลงปลูกมีปลวกอยู่มากควรใส่ยากำจัดปลวกที่ก้นหลุมด้วย

6 การปลูกไม้ ชิงชันไม้ชิงชันสามารถขยายพันธุ์ได้โดยการต่อกิ่ง การตอน และการเพาะเมล็ด ส่วนการเตรียมพื้นที่ปลูกก็สามารถใช้ได้ทั้งพื้นที่ที่สามารถระบายน้ำได้ดีจนไปถึงพื้นที่ที่ระบายน้ำ

ไม่ค่อยดีก็ยังใช้ได้จากนั้นให้ทำการไถดินเพื่อเป็นพรวนดินและเพื่อเป็นการกำจัดวัชพืชไปในตัว ตามด้วยการขุดหลุมขนาด 30x30x30 เซนติเมตร แล้วให้รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยดอก หรือปุ๋ยหมัก และผสมปุ๋ยเคมี ทั้งนี้ก็เพื่อเป็นการส่งเสริมการอยู่รอดให้กับต้นกล้า

จากนั้นก็สามารถนำต้นกล้ามาปลูกได้เลยในการปลูกช่วงแรกควรปลูกไม้ชิงชันร่วมกับไม้โตเร็วชนิดอื่นเพราะในระยะแรกมันจะต้องการร่มเงาเพื่อการเจริญเติบโตที่ดีกว่า

ส่วนโ ร คและแมลงศัตรูพืชมักจะพบในระยะกล้าไม้ อย่างเช่น การมากัดยอดอ่อนของชิงชัน และโรคเน่าคอดิน ซึ่งควรหมั่นตรวจดูบ่อยๆ เพื่อเป็นการลดปัญหาเรื่องนี้ไม้ชิงชันนิยมนำมาใช้ทำเฟอร์นิเจอร์ เสาบ้าน คานบ้าน และเครื่องดนตรี

7 การปลูกต้นกระซิกชื่ออื่นๆ ซิก สรี้ ครี้ ประดู่ชิงชัน ดู่สะแตน เก็ดแดง อีเม็ง พยุงแกลบ กระซิบ หมากพลูตั๊กแตน“กระซิก”เป็นต้นไม้มงคลพระราชทานประจำจังหวัดสตูล ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ คือ ตอนต้นเล็กๆ ถูกจัดเป็นไม้รอเลื้อย

ลำต้นมีหนามเล็กๆ เปลือกสีเทา แต่พอโตขึ้นมีกิ่งก้านแข็งแรง สูงใหญ่ มีดอกเล็กๆ กลิ่นหอมออกปลายกิ่ง ง่ามใบใกล้ยอด ดอกออกประมาณเดือนมีนาคมถึงสิงหาคม มีผลเป็นฝักแบนๆ มีเมล็ดขยายพันธุ์ได้ ชอบอยู่ป่าโปร่งริมห้วย ริมลำธาร ใกล้ทะเลทางภาคใต้ประโยชน์ของกระซิก : เนื้อไม้ใช้ทำเครื่องเรือน

เครื่องกลึง แกะสลัก เครื่องดนตรี ลักษณะคล้ายไม้ชิงชัน เนื้อไม้ใช้เป็นยาแก้ไข้ แก่นและรากมีกลิ่นหอมใช่ทำธูป น้ำมันจากเนื้อไม้ใช้ รักษาแผลเรื้อรัง

8 การปลูกต้นหลุมพอชื่อสามัญ (ไทย) กะลุมพอ หลุมพอ (ภาคใต้) มื่อบา (มาเลเซีย ปัตตานี) เมอเมา(มาเลเซีย ภาคใต้) สลุมพอ (ปราจีนบุรี)การกระจายพันธุ์ตามธรรมชาติไม้หลุมพอพบขึ้นอยู่ในป่าดงดิบชื้นตามที่ราบทางภาคใต้และตุวันออกเฉียงใต้

ที่สูงจากระดับน้ำทะเลถึง 800 เมตรการขยายพันธุ์ของไม้หลุมพอที่นิยมและสะดวกที่สุดเป็นการขยายพันธุ์โดยเมล็ด เนื่องจากสามารถผลิตกล้าได้จำนวนมากการปลูกไม้หลุมพอสามารถปลูกได้ 2 วิธี คือ

9 การปลูกทุเรียนก่อนจะลงมือปลูกทุเรียน เราควรเลือกพื้นที่ปลูกที่มีอุณหภูมิประมาณ 25-30 องศาเซลเซียส และความชื้นประมาณ 75-85% ก่อน ส่วนดินที่ใช้ปลูกควรเลือกเป็นดินร่วน ดินร่วนปนทราย หรือดินเหนียวปนทราย ซึ่งต้องระบายน้ำได้ดี

มีหน้าดินลึก และมีแหล่งน้ำเพียงพอ อีกทั้งยังต้องเลือกต้นพันธุ์ที่สมบูรณ์ แข็งแรง และไม่มีโรคจากนั้นก็เริ่มเตรียมการปลูก โดยควรปลูกในช่วงมีนาคม-เมษายน ถ้าหากสามารถจัดการระบบให้น้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ

แต่ถ้าหากยังดูแลเรื่องน้ำได้ไม่ดีพอ ก็ควรปลูกช่วงต้นฤดูฝน โดยการเตรียมการขั้นแรกให้ปรับพื้นที่ให้ราบ ขุดตอ ขุดรากไม้เก่าออก เสร็จแล้วก็กำหนดระยะห่างระหว่างต้นให้ห่างกันด้านละ 9 เมตร จากนั้นวางแนวและปักไม้ตามระยะที่กำหนด แล้วขุดหลุมปลูกต่อ

10 การปลูกกษฤณา เป็น ไม้สกุล Aquilaria มีอยู่ประมาณ 15 ชนิด กระจายอยู่แถบเอเชียเขตร้อน ในประเทศทางเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ถึงฟิลิปปินส์ และเอเชียใต้แถบประเทศอินเดีย ปากีสถาน ศรีลังกา ภูฐานเบงกอล รัฐอัสสัม รวมทั้งกระจายไปทางเอเชียเหนือจนถึงประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน

ส่วนการกระจายพันธุ์ของไม้กฤษณาในประเทศไทยชื่อเรียกพื้นเมือง : กฤษณา(ภาคตะวันออก) กายูการู กายูกาฮู (มาเลเซีย ปัตตานี) ไม้หอม (ภาคตะวันออก ภาคใต้)

11 การปลูกต้นกันเกรา ชื่อสามัญ (ไทย) กันเกรา (ภาคกลาง) ตะมะซู, ตำมูวู (มาเลเซีย ภาคใต้) ตาเตรา (เขมร ภาคตะวันออก) ตำเสา ทำเสา (ภาคใต้) มันปลา (ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) กันเกรา เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ผลัดใบในช่วงระยะเวลาอันสั้น สูง 10-25 เมตร

ลำต้นเปลา ตรง แตกกิ่งต่ำ เปลือกนอกหยาบ สีน้ำตาลเข้ม แตกเป็นร่องลึกไม่เป็นระเบียบ เปลือกในสีเหลืองอ่อน โคนต้นไม่เป็นพูพอน

เรือนยอดเป็นรูปกรวยแหลมหรือรูปเจดีย์การขยายพันธุ์ไม้กันเกราที่เหมาะสมและได้ผลคือ การขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด การเพาะเมล็ดสามารถทำได้โดยการหว่านเมล็ดลงในกระบะเพาะที่บรรจุดินร่วนผสมทรายละเอียดแกลบเผา ซึ่งดินที่ใช้ต้องเป็นดินใหม่ และควรนำมาตากแดดก่อน 2-3 วัน

เมื่อหว่านเมล็ดลงไปแล้วให้ใช้ไม้บาง ๆ กดทับเมล็ดให้ฝังตัวลงไปในดินอีกครั้ง และใช้ทรายโรยกลบลงไปอีกครั้งบาง ๆ หนาประมาณ 0.3 ซม. แล้วรดน้ำวันละ 2 ครั้ง จนกว่าเมล็ดจะงอกเป็นต้นกล้า ซึ่งเมล็ดจะงอกหลังจากเพาะ 2-3 วันกันเกราขึ้นได้ดีในทุกสภาพภูมิประเทศ

ชอบขึ้นในที่ที่มีความชุ่มชื้นมาก อุณหภูมิต่ำ มีความชื้นสัมพัทธ์มาก มีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 1500 มม.ต่อปี สูงจากระดับน้ำทะเลไม่เกิน 100 เมตร ลักษณด

12 การปลูกต้นสุพรรณิการ์การตอน ทำในฤดูฝน กิ่งที่ใช้ควรมีสีน้ำตาลอ่อน ใช้เวลา 1 – 2 เดือน จึงออกรากการปลูกนิยมปลูกในแปลงปลูก เพื่อประดับบริเวณบ้านและสวน ขนาดหลุมปลูก 50 x 50 x 50 เซนติเมตร ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก : ดินร่วน อัตรา 1 : 2 ผสมดินปลูกการดูแลรักษาแสง ต้องการแสงแดดจัด

หรือกลางแจ้งน้ำ ต้องการปริมาณน้ำปานกลาง ควรให้น้ำ 5-7 วัน/ครั้งดิน ชอบดินร่วนซุย มีความชื้นปานกลางปุ๋ย ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก อัตรา 1-2 กิโลกรัม/ต้น ควรใส่ปีละ 4-6 ครั้ง

13 การปลูกต้นกะทังใบใหญ่ การขนายพันธุ์ไม้ทังที่เหมาะสมและสะดวกที่สุด คือ การขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด ส่วนการขยายพันธุ์โดยวิธีอื่นยังไม่ได้ มีการศึกษาวิจัยกันข้อมูลเกี่ยวกับการปลูก การเจริญเติบโตและการปรับปรุงพันธุ์ของไม้ชนิดนี้มีน้อยมาก ที่ได้มีการศึกษาไว้ก็คือ การศึกษาของสุทธิ มโนธรรมพิทักษ์ (2529) ได้รายงานไว้ว่า จากการทดลองปลูกไม้ทัง ในภาคใต้ที่สถานีทดลองปลูกพรรณไม้สงขลา อ.รัตภูมิ จ.สงขลา

ในแปลงทดลองที่มีลักษณะดินเป็นดินร่วนปนทราย (sandy loam) ระดับผิวดินลึกประมาณ 15-30 ซม. มีค่า ph ประมาณ 4.6 ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 1,200-2,000 มม.ต่อปี การเจริญเติบโตของไม้ทัง เมื่ออายุ 3 ปี ปรากฏว่า มีการเจริญเติบโตทางความสูงเฉลี่ย 1.13 เมตร ความโตเฉลี่ย 1.75 ซม. และมีอัตราการรอดตาย 67%

14 การปลูกไม้เต็ง1. ขุดหลุม อย่าให้ลึกและแคบเกินไปหลุมลึก – รากไม่ได้ออกซิเจนเพียงพอหลุมแคบ – ไม่มีช่องว่างให้รากได้แผ่กระจายกฏเหล็ก – ไม่ควรลึกกว่าระดับดินเนดิมของต้นกล้า กว้าง 3 เท่าของความกว้างก้อนรากถ้าดินเหนียวระบายน้ำยาก ให้ใช้ส้อมลากเป็นเส้นลึกๆด้านข้างหลุม และทิ่มก้นหลุม

รวมทั้งยกดินกลางหลุมให้สูงขึ้นนิดหนึ่ง เพื่อให้รากไม่แช่น้ำการปลูกลงหลุมเติมวัสดุรองก้นหลุมพวกอินทรียวัตถุ พีทมอสปุ๋ยหมัก ปุ๋ยอินทรีย์เทศบาลรองก้นหลุมกล้าที่ล้อมรากมา – ตั ดกระสอบหุ้มรากออกให้หมดวางลงก้นหลุมแล้วกลบ ให้ระดับผิวดินเสมอระดับดินเดิมต้นกล้าในกระถางหรือถุงพลาสติก

กล้าแบบนี้จะมีปัญหาระบบรากมาก เมื่อนำออกจากกระถาง/ถุงแล้ว ให้สางรากที่พันกันแน่นให้คลี่ออก (อย่าให้ขาด) ก่อนวางลงก้นหลุมแล้วกลบ

15 การปลูกไม้นนทรีสามารถขึ้นได้ในดินทุกภาค ซึ่งมีขั้นตอนในการดำเนินการปลูกเริ่มจากการเตรียมพื้นที่ ทำการแผ้วถางวัชพืช เก็บริบสุมเผาให้เรียบร้อย จากนั้นทำการบกหลก หมายแนวปลูกให้เป็นแถวเป็นแนว เพื่อความสะดวกในการปลูกซ่อม และการบำรุงรักษาการปักหลักหมายแนวปลูกจะกำหนดระยะเท่าใด ข้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการใช้ประโยชน์ไม้เป็นสำคัญ เช่น อาจจะใช้ระยะปลูก 2×4 เมตร , 2×8 เมตร, 4×4 เมตร หรือ 4×8 เมตร

ตามความเหมาะสมสำหรับการปลูกใช้วิธีการปลูกโดยการย้ายกล้า ทั้งนี้โดยการเตรียมกล้าไม้จากแม่ไม้ที่มีลักษณะดีเพื่อให้ได้กล้าไม้ที่ดี แล้วดูแลให้มีความแข็งแกร่ง เมื่อทำการปลูกโดยนำกล้าไม้จากแปลงเพาะไปปลูกในพื้นที่ที่เตรียมไว้ การปลูกโดยวิธีนี้จะได้ผลดีมีเปอร์เซ็นต์การรอดตายสูง แต่ต้องพิจารณาฤดูกาลปลูกให้เหมาะสมด้วย เช่น ควรย้ายปลูกขณะอากาศกำลังชุ่มชื้น ไม่ควรปลูกขณะมีฝนตกหนักเพราะดินจะแฉะเกินไปและดินแน่นอากาศถ่ายเทไม่สะดวก ต้นไม้อาจตายได้

16 การปลูกไม้ยมหอม เป็นไม้โตเร็ว เนื้อไม้มีลวดลายสวยงามคล้ายไม้สัก น้ำหนักเบา สามารถนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ได้หลากหลาย ปัจจุบันถือเป็นไม้ขาดแคลน และมีไม่เพียงพอกับความต้องการของตลาดไม้แปรรูป การดูแลรักษายมหอมที่สำคัญที่สุด คือ การป้องกันการกัดกินยอดอ่อนของหนอนผีเสื้อที่เป็นผีเสื้อกลางคืนขนาดเล็ก ซึ่งจะออกวางไข่ในเวลากลางคืน พบแพร่ระบาดมากในช่วงต้นฤดูฝนหรือในระยะที่มีการแตกยอดอ่อนของต้นไม้ต่างๆ

17 การปลูกไม้ตะกูมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Anthocephalus chinensis Rich. Ex Walp. อยู่ในวงศ์ Rubiaceae มีชื่อสามัญเรียกแตกต่างกันไปตามท้องถิ่นว่าไม้กระทุ่มหรือกระทุ่มบก (ภาคกลางและภาคเหนือ) ตะโกใหญ่ หรือตะโกส้ม (ภาคตะวันออก) และตุ้มขี้หมู (ภาคใต้) ไม้ตะกูเป็นไม้เบิกนำที่เจริญเติบโตได้เร็วมากชนิดหนึ่งขึ้นอยู่เป็นกลุ่มเป็นก้อนในพื้นที่ป่าที่ถูกแผ้วถางแล้วปล่อยทิ้งไว้เป็นไร่ร้าง

เป็นไม้ที่มีวัยตัดฟันสั้นสามารถขึ้นได้ในสิ่งแวดล้อมหลายสภาพแตกหน่อได้ดี มีปัญหาเกี่ยวกับโรคและแมลงทำลายน้อย เนื้อไม้สามารถนำไปใช้เป็นไม้แปรรูปใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมทำเยื่อกระดาษ ไม้บาง ไม้อัด ไฟเบอร์บอร์ด พาร์ทิเคิลบอร์ด และใช้ในโรงงานทำไม้ขีดไฟได้ดีการเตรียมพื้นที่ปลูก

18 การปลูกไม้พยอมเพื่อเป็นสิริมงคลแก่บ้านและผู้อาศัยควรปลูกต้นพะยอมไว้ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือผู้ปลูกควรปลูกในวันเสาร์เพราะโบราณเชื่อว่าการปลูกไม้เพื่อเอาคุณทั่วไปให้ปลูกในวันเสาร์ถ้าให้เป็นสิริมงคลแก่ตนเองผู้ปลูกควรเป็นสุภาถสตรีเพราะพะยอมเป็นชื่อที่เหมาะกับสุภาพสตรีนิยมปลูกในแปลงปลูกเพื่อประดับบริเวณบ้านและสวน ขนาดหลุมปลูก 50 x 50 x 50 เซนติเมตร ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก : ดินร่วน อัตรา 1 : 2 ผสมดินปลูก ถ้าปลูกเพื่อประดับบริเวณบ้านหรืออาคาร ควรปลูกให้มีระยะห่างที่เหมาะสมเพราะพะยอมเป็นไม้ที่มีทรงพุ่มใหญ่

19 การปลูกปีบ หรือ กาละลองต้นไม้มงคลประจำจังหวัดพิษณุโลกต้นปีบ หรืออีกชื่อหนึ่งในภาษาเหนือมีชื่อเรียกว่า กาสะลอง เป็นต้นไม้มงคล โบราณเชื่อว่าการปลูกต้นปีบไว้ในบ้านจะส่งเสริมความเป็นสิริมงคลให้กับผู้อยู่อาศัย เนื่องจากชื่อ ปีบ พ้องเสียง พ้องคำกับ ปี๊บที่เป็นภาชนะ สามารถเก็บและเมื่อเตะก็จะมีเสียงดัง ทำให้เชื่อกันว่าจะช่วยทำให้เก็บเงินเก็บทองได้มากขึ้น และนำมาซึ่งชื่อเสียงโด่งดังอีกด้วย

20 การปลูกเสลา (อินทรชิต)เป็นพรรณไม้ต้นขนาดกลาง สูงได้ถึง 20 เมตร ผลัดใบ เรือนยอดกลมหรือทรงกระบอก หนาทึบ ใบเดี่ยวรูปไข่แกมขอบขนาน ปลายใบเรียวแหลมเป้นติ่งโคนมน ใบหนา และมีขนนุ่มทั้งสองด้าน ออกดอกเป็นช่อตามกิ่ง มี 6 กลีบ โคนคอดเป็นก้านสั้น มีหลายสี เช่น ขาว ม่วง มว่งอมแดง กลีบดอกบางยับย่น ออกดอกเดือน ธันวาคม – มีนาคม ผลกลมรี เปลือกแข็ง เมื่อแก่จะแตกออกเป็น 5 – 6 พู เมล็ดจำนวนมากมีปีกเบลือกต้นสีเทาเข้มเกือบดำ ผิวขรุขระ มีรอยแตกเป็นทางยาว กิ่งโนมลงต่ำ โตช้า เป็นพรรณไม้ประจำจังหวัดนครสวรรค์

21 การปลูกนากบุด เป็นชื่อต้นไม้ชนิดหนึ่ง ซึ่งวิทยาลัยครูนครศรีธรรมราชได้เลือกเป็นไม้ประจำวิทยาลัย ซึ่ง ผศ.ประหยัด เกษม ได้เขียนเรื่องราวของที่มาคำว่า “นาคบุตร” ไว้ว่า เมื่อวันที่ 9 มกราคม 2534 วันสถาปนาวิทยาลัยครูนครศรีธรรมราช ปีนั้น ได้มีการสรรหา “พรรณไม้” ประจำสถาบัน โดยพิจารณาจากคุณลักษณะของต้นไม้ที่มีพ้องกับคุณลักษณะของสถาบันแห่งนี้ เช่น มีดอกสีเหลือง ปลูกได้ดีพื้นที่บริเวณเขามหาชัย หรือเป็นพรรณไม้ที่หาได้ในบริเวณป่าแถบนี้ เป็นต้น และในที่สุดคณะกรรมการได้พิจารณาเลือก “นากบุด” เป็นไม้ประจำสถาบัน ความในประกาศนั้นพรรณนาถึงคุณลักษณะที่สอดคล้องกับคุณลักษณ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช

22 การปลูกต้นแคนาแคป่า เป็นจัดเป็นผักป่า และไม้สมุนไพร รวมถึงเป็นไม้ประดับ และไม้มงคล เนื่องจากดอกนิยมนำมารับประทานคู่กับน้ำพริก ทั้งแบบรับประทานสด และแบบลวก นอกจากนั้น ยังเป็นไม้ที่ให้ดอกสวยงาม และให้ร่มเงาได้ดีจึงนิยมนำมาปลูกตามปั๊มน้ำมัน สถานที่ราชการหรือตามแหล่งจัดสวนต่างๆ

23 การปลูกรังไม้ต้นสูง 10-25 เมตร ผลัดใบ เรือนยอดกลมหรือรูปสามเหลี่ยมค่อนข้างโปร่ง ลำเปลา ตรง เปลือกสีน้ำตาลปนเทาแตกเป็นร่องลึกและเป็นสะเก็ดใหญ่ ใบเดี่ยว เรียงสลับ ใบรูปขอบขนาน กว้าง 7-12 เซนติเมตร ยาว 10-20 เซนติเมตร ปลายใบ มน โคนใบหยักเว้าเข้ารูปหัวใจ ดอก สีขาวหรือเหลืองอ่อน มีกลิ่นหอม ดอกสมบูรณ์เพศออกรวมเป็นช่อแบบช่อแยกแขนง ตามซอกใบ กลีบเลี้ยง 5 กลีบ โคนเชื่อมติดกัน กลีบดอก 5 กลีบ ดอกบานเต็มที่กว้าง 1-1.5 เซนติเมตร ออกดอกเดือนมกราคม – มีนาคม แห้ง เปลือกแข็ง เมล็ดเดียว ทรงไข่ กว้าง 1 เซนติเมตร ยาว 1.5 เซนติเมตร อยู่ในกระพุ้ง ของโคนปีก ปีกเชื่อมติดกับผล ปีกยาว 3 ปีก ปีกสั้น 2 ปีกการกระจายพันธุ์ : ป่าพรรณแล้งและป่าแดงทั่วไปปะปนอยู่กับไม้เต็งบนพื้นที่ที่เป็นดินลูกรัง หิน กรวด ทรายเป็นส่วนใหญ่ประโยชน์ของรัง : เนื้อไม้แข็งและทนทาน นิยมนำมาก่อสร้างอาคารบ้านเรือน เรือและเครื่องมือ เกษตรกรรม

24 การปลูกต้นหว้า เป็นพันธุ์ไม้พระราชทานเพื่อปลูกเป็นมงคลแก่จังหวัดเพชรบุรี ซึ่งมีคำขวัญประจำจังหวัดดังนี้คือ “เขาวังคู่บ้าน ขนมหวานเมืองพระ เลิศล้ำศิลปะ แดนธรรมะ ทะเลงาม”

25 การปลูกจามจุรีที่มีอยู่ในปัจจุบันเพื่อผลทางการเศรษฐกิจจึงเป็นไปเพื่อการเลี้ยงครั่งเป็นหลัก ประโยชน์อย่างอื่น เช่น เนื้อไม้ พืชอาหารสัตว์ จึงเป็นผลพลอยได้ และการปลูกสวนจามจุรีเพื่อการเลี้ยงครั่ง นั้นมีขั้นตอนดังต่อไปนี้ การเตรียมพื้นที่และการเพาะปลูก เนื่องจากจามจุรีเป็นไม้โตเร็วต่างประเทศ ซึ่งปลูกง่ายและขยายพันธุ์ได้เร็ว เป็นไม้ที่ไม่เลือกชนิดของดิน แต่จะเจริญเติบโตได้ดีในที่ราบสูงตั้งแต่ริมทะเลไปจนถึงที่ที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 300 – 400 เมตร จึงสามารถขึ้นได้ทั่วไปในประเทศไทย ในขั้นตอนของการเตรียมพื้นที่ปลูกจะเหมือนๆ กับการปลูกสร้างสวนป่าอื่นๆ คือ การเก็บเผา และ ไถดะเพื่อปรับสภาพพื้นที่ให้เหมาะสมต่อการปลูก หลังจากที่ได้มีการนำเมล็ดไปเพาะแล้ว อาจนำไปปลูกได้เลยหรือใช้เมล็ดหยอดหลุม โดยขุดหลุมกว้างและลึก 30 เวนติเมตร แต่การย้ายกล้าปลูกจะมีอัตราการรอดตายสูงกว่า ระยะในการปลูก 4 x 4 เมตร และ 4 x 6 เมตร หรือ 4 x 8 เมตร แต่เนื่องจากเป็นไม้ที่มีเรือนพุ่มขนาดใหญ่ดังนั้นจึงต้องตัดสางออกในระหว่างการปลูกช่วงแรก โดยให้มีระยะการปลูก 10 x 10 เมตร ดังนั้นในพื้นที่ 1 ไร่ จะมีจามจุรี 16 ต้น แต่หากความอุดมสมบูรณ์ด

26 การปลูกตะแบกนา การใช้ประโยชน์ ทรงพุ่มสวย มีดอกสวยมีสีสัน นิยมปลูกประดับสวน ให้ร่มเงา ริมถนน ลาดจอดรถ ริมสระว่ายน้ำ ปลูกริมทะเล ทนแล้ง และทนน้ำท่วมขังได้บ้าง เนื้อไม้ละเอียดแข็ง ใจกลางมักเป็นโพรง ใช้ทำสิ่งปลูกสร้างที่รับน้ำหนัก เสา กระดานพื้น และเครื่องมือการเกษตร

27 ประโยชน์ของตะเทียนทอง : เปลือก แก้ปวดฟัน แก้เหงือกอักเสบ เนื้อไม้ แก้คุดทะราด แก้ท้องร่วงแก้กำเดา สมานแผล ใช้ทำบ้านเรือน เสาด้าม เครื่องมือกสิกรรมพื้นกระดานไม้ฟืน แก่น รักษาคุดทะราด ขับเสมหะ แก้บิด แก้กำเดาสมานแผล ยาง รักษาบาดแผล แก้ท้องเสีย

28 การปลูกต้นฝาง การปลูกที่ดีได้แก่ตอนเอากิ่งไปปลูก หรืออาจจะเอาเมล็ดจากพบทั่วไปในป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง ป่าเขาหินปูนแห้งแล้ง และตามชายป่าดงดิบทั่วประเทศไทย ในต่างประเทศ พบที่อเมริกาใต้ ปลูกกันอย่างกว้างขวางตลอดเขตร้อน อินเดีย ศรีลังกา พม่า กัมพูชา ลาว เวียดนาม จีนตอนใต้

29 สาธรเป็นไม้ที่พบขึ้นในป่าเบญจพรรณใกล้แหล่งน้ำทั่ว ๆ ไปในพื้นที่ที่สูงจากระดับน้ำทะเลไม่เกิน 600 เมตร เป็นไม้ต้นขนาดกลางผลัดใบ สูง 18-20 เมตร เรือนยอดกลมหรือทรงกระบอก เปลือกต้นสีเทาเรียบหรือแตกเป็นสะเก็ดเล็ก ๆ ตื้น ๆเนื้อไม้สีขาวอมน้ำตาล แก่นสีน้ำตาลอมดำ เรือนยอดเป็นพุ่มทึบ ดอกออกเป็นช่อกระจายแยกแขนงสีขาว ยาวประมาณ 20 เซนติเมตร ออกพร้อมใบอ่อน รูปดอกถั่ว กลีบดอก 5 กลีบ กลีบเลี้ยง 4 กลีบติดกันเป็นหลอดสั้น ออกรวมกันเป็นช่อตามง่ามใบและปลายกิ่ง ออกดอกช่วงเดือนมีนาคม-พฤษภาคม ผลเป็นฝักแบน รูปขอบขนานคล้ายฝักมีด มีเปลือกแข็ง กว้างประมาณ 2 เซนติเมตร ยาว 4-10 เซนติเมตร ฝักแก่แตกเป็น 2 ซีก ฝักหนึ่ง ๆ มี 1-3 เมล็ด เมล็ดสีน้ำตาล รูปร่างแบนคล้ายโล่ เส้นผ่านศูนย์กลาง

30 เทพทาโร เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ไม่ผลัดใบ เรือนยอดเป็นพุ่มกลับทึบ สีเขียวเข้ม ลำต้นเรียบไม่มีพูพอน เปลือกต้นสีเทาอมเขียวหรืออมน้ำตาล ค่อนข้างเรียบ แตกเป็นร่องยาวตามลำต้น เมื่อถากเปลือกออกจะมีกลิ่นหอม กิ่งมีลักษณะอ่อนเรียว เกลี้ยงและมักมีคราบขาวการขยายพันธุ์ไม้เทพทาโรที่นิยมปฏิบัติกันคือ การขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ดและการปักชำ

31 ประดู่บ้านเป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ลักษณะทั่วไปคล้ายประดู่ แต่แตกกิ่งก้านเป็นทรงพุ่มกว้างกว่าและมีปลายกิ่งยาวห้อยระย้า[6] มีความสูงประมาณ 10–25 เมตร ผิวเปลือกลำต้นมีสีดำหรือเทา ลำต้นเป็นพูไม่กลม แตกเป็นสะเก็ดร่องตื้น ๆ มีน้ำยางน้อยกว่าประดู่ ใบเป็นช่อแตกออกจากปลายกิ่ง มีใบย่อยประกอบอยู่ประมาณ 6–12 ใบ ลักษณะของใบเป็นรูปมนรี ปลายใบแหลม โคนใบมน ขอบใบเรียบเป็นมันสีเขียว ใบมีขนาดยาวประมาณ 2–3 นิ้ว กว้างประมาณ 1–2 นิ้ว ดอกมีขนาดเล็กสีเหลือง ออกเป็นช่อตามปลายกิ่ง โดยช่อดอกจะแตกแขนงเป็นช่อใหญ่กว่าประดู่[7] ผลมีขนเล็ก ๆ ปกคลุม ขนาดผลโตประมาณ 4–6 เซนติเมตรการปลูกประดู่บ้านต้องการแสงแดดจัด หรือกลางแจ้ง ต้องการปริมาณน้ำปานกลาง ชอบดินร่วนซุย ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด นิยมปลูกริมถนนเพราะกิ่งทอดลงห้อยย้อยสวยงาม

32 ต้นเหลืองปรีดีนาธรช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงช่วงประมาณต้นเดือนเมษายนที่ผ่านมา สำหรับท่านที่ปลูก ต้นเหลืองปรีดียาธรไว้ก็จะเห็นไม้ออกดอกเหลืองสะพรั่งเต็มไปหมด ไม่เฉพาะแต่ที่ปลูกไว้ตามบ้านเรือนเท่านั้น ตามถนนหนทางหรือตามสถานที่สาธารณะทั่วไปตามโครงการหมู่บ้านจัดสรรต่างๆที่ปลูกไม้พันธ์ุนี้ไว้ ก็พร้อมใจกันออกดอกเหมือนนัดกันไว้ ผ่านไปทางไหนก็จะเห็นแต่ดอกของต้นเหลืองปรีดียาธรเหลืองสะพรั่งเต็มไปหมด เป็นภาพที่สวยงามมากจัดเป็นไม้ขนาดเล็กถึงขนาดกลาง มีความสูงเต็มที่ประมาณ 8-9 เมตร มีใบประกอบคล้ายลักษณะรูปนิ้วมือ ลักษณะเป็นรูปรี ประมาณ 5-6 ใบ ดอกสีเหลืองสดเป็นช่อ

33 ต้นกฤษณา,ไม้หอมคำว่า กฤษณา หมายถึง ไม้กฤษณา หรือกฤษณา หรือต้นไม้หอม ไม้กฤษณาที่ยังเป็นต้นไม้อยู่ (ตอนที่ยังไม่เกิดบาดแผล) จะมีเนื้อไม้สีขาว แต่เมื่อเกิดบาดแผลแล้วก็จะมีน้ำมันสีดำเกิดขึ้น และขยายวงกว้างออกไป สำหรับไม้กฤษณาที่เกรดดี ๆ ที่มีราคาหลายหมื่นบาท ก็จะต้องทิ้งไว้หลายปี จนเป็นสีดำสนิท หรือสีน้ำตาล

34 ประโยชน์ของยางนา : เนื้อไม้ใช้ในการก่อสร้างทั่วไป เช่น พื้น ฝา รอด ตงและหีบใส่ของ น้ำมัน ใช้ทาไม้ ยาแนวเรือ ยาเครื่องจักสาน ทำไต้ ทำน้ำมันใส่แผล แก้โรคเรื้อน และ กินแก้โรคหนองการปลูกไม้ยางนาควรทำในฤดูฝนเพราะในช่วงนี้กล้าไม้ยางนามีการเจริญเติบโตดีสามารถจะตั้งตัวได้ง่าย

เมื่อฤดูฝนผ่านไปแล้วก็เป็นระยะที่ต้นยางตั้งตัวได้แล้ว และเริ่มเจริญเติบโตต่อไปการดายวัชพืช : ควรดายวัชพืชอย่างน้อย ๓ ครั้ง คือ ภายในเดือนกรกฎาคมเดือนกันยายน และเดือนพฤศจิกายน โดยในการดายวัชพืชครั้งแรกใช้มีดถางวัชพืชให้ชิดดินให้ตลอดไปก่อนแล้วจึงใช้จอบดายรอบ ๆ ต้นอีกครั้งหนึ่งการป้องกันไฟ : ในเดือนกุมภาพันธ์วัชพืชในสวนป่าเริ่มจะแห้ง อาจเป็นเชื้อไฟได้ จึงต้องทำการป้องกันไฟ การป้องกันไฟที่อาจเกิดขึ้นในสวนป่าใช้วิธีถางวัชพืชตลอดทั้งหมดแล้วรวมกองเล็ก ๆ แล้วชิงเผาเสียก่อน การป้องกันไฟจากภายนอกใช้วีการดายวัชพืชเป็นแนวกันไฟรอบ ๆ สวนป่า

35 ประโยชน์ของสะเดา : เปลือก ให้สีแดงใช้ย้อมฝ้าย ช่อดอก นิยมใช้เป็นอาหาร ใบและเมล็ดแก่ ใช้กำจัดศัตรูพืช ก้านใบ แก้ไข้ การปลูก ปลูกโดยวิธีจัดเตรียมกล้าไม้ในเรือนเพาะชำแล้วย้ายไปปลูก สำหรับขนาดของกล้าไม้ที่เหมาะในการย้ายปลูกอายุประมาณ 4-5 เดือน สูงประมาณ 20-30 เซนติเมตร ควรเลือกปลูกหลังจากวันที่ฝนตกหนัก ส่วนถุงพลาสติกที่ใช้ใส่กล้าไม้ต้องฉีกออกก่อนที่จะนำกล้าไม้ลงปลูก กลบและกดดินรอบ ๆ ต้นไม้ให้แน่น

การใช้ระยะการปลูกถี่หรือปลูกห่างเท่าใดขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการนำไม้ไปใช้ประโยชน์และความต้องการใช้ไม้ในท้องถิ่น เช่นถ้าปลูกเพื่อต้องการขายไม้ฟืนหรือเผาถ่าน ควรใช้รอบหมุนเวียนสั้นไม่เกิน 5 ปี มีระยะปลูก 2 X 2 เมตร ใช้กล้าไม้ในการปลูก 400 ต้น/ไร่การปลูกเพื่อต้องการไม้ใหญ่สำหรับใช้ในการก่อสร้างและทำเฟอร์นิเจอร์ ควรใช้รอบหมุนเวียน 15-20 ปี มีระยะปลูกที่เหมาะสมคือ 2 X 4 เมตร และ 4 X 4 เมตร ซึ่งจะปลูกได้ 100-200 ต้น/ไร่ ในระหว่างปีที่ 5 และปีที่ 10 อาจทำการตัดสางโดยตัดต้นเว้นต้นเพื่อนำไม้ที่ได้จากการตัดสางไปใช้ประโยชน์ก่อนการเจริญเติบโต ไม้สะเดาจะเจริญเติบโตได้ดีมาก เมื่อผ่านฤดูกาลปลูกในปีแรกแล้วเพราะได้มีการพัฒนาระบบร

36 ไม้ยมหิน เป็นพันธุ์ไม้พระราชทานเพื่อปลูกเป็นมงคลแก่จังหวัดแพร่ ซึ่งมีคำขวัญประจำจังหวัดคือ หม้อห้อม ไม้สัก ถิ่นรักพระลอ ช่อแฮศรีเมือง ลือเลื่องแพะเมืองผี คนแพร่นี้ใจงาม โดยแต่ละท่อนของคำขวัญมีความหมายดังนี้ “หม้อห้อม” เป็นภาษาพื้นเมือง เป็นการรวมคำ ระหว่าง คำว่า “หม้อ” กับ “ห้อม” ซึ่งคำว่า หม้อ หมายถึง ภาชนะชนิดหนึ่ง ส่วน คำว่า ห้อม หมายถึง พืชชนิดหนึ่งที่เรียกว่า ต้นห้อม หรือต้นคราม ซึ่งจะให้สีน้ำเงินหรือกรมท่าในการย้อมผ้า “ผ้าหม้อห้อม” เป็นของดีเลื่องชื่อของเมืองแพร่ ที่มีชื่อเสียงมานาน หม้อห้อม เป็นผ้าพื้นเมืองที่ชาวแพร่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย เกิดจากภูมิปัญญาชาวบ้านที่นำเอาลำต้นและใบของห้อม (พืชล้มลุกในตระกูลคราม) มามัดและหมักในหม้อตามกรรมวิธีโบราณ

ทำให้ได้น้ำสีกรมท่าหรือสีน้ำเงิน เสื้อหม้อห้อมมีลักษณะเป็นเสื้อคอกลม แขนสั้น ผ่าอกตลอด มักย้อมสีนํ้าเงินเข้มหรือดำ เขียนเป็น “ม่อห้อม” หรือ “ม่อฮ่อม” ก็มี หม้อห้อมเป็นเครื่องแต่งกายพื้นบ้านของไท ตั้งแต่ไทลื้อ ในสิบสองปันนา ลาวในประเทศลาว และไทล้านนาทางภาคเหนือของไทย

37 ไม้แดงเป็นไม้ผลผัดใบขนาดใหญ่สูงประมาณ 20- 30 เมตร บางครั้งจะพบสูงถึง 30- 37 เมตร และขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ประมาณ 30- 120 ซม.ลำต้น แดงจะเปลาตรง โดยปกติจะมีความสูงถึงกิ่งแรก 12 เมตร ขึ้นไปแต่ในสภาพที่ดินตื้นไม่เหมาะสมกับการ เจริญเติบโตบางครั้งลำต้นจะเล็กและคดงอจะแตกกิ่งต่ำมีพุ่มใบมาก เปลือกเรียบสีเทาอมแดงตกสะเก็ดออกเป็นแผ่นกลมบาง ๆ รอบลำต้น เมื่อสับเปลือกทิ้งไว้จะได้ชันสีแดง เนื้อไม้มีสีน้ำตาลแดงหรือสีแดงเรื่อ ๆ ละเอียด เสี้ยนเป็นลูกลื่น

38 ต้นราชพฤกษ์(คูณ)การปลูกควรขุดหลุมให้มีระยะห่างระหว่างต้นห่างกันพอสมควรขนาดของหลุมตามความเหมาะสมหากกล้าไม้มีขนาดโตควรขุดหลุมให้มีขนาดประมาณ 50 X 50 เซนติเมตร และลึกประมาณ 50 เซนติเมตรแต่ถ้ากล้าไม้มีขนาดสูง 25-30 เซนติเมตร ขนาดของหลุมควรใช้ประมาณ 30×30 เซนติเมตร และลึกประมาณ 30 เซนติเมตร ใส่ปุ๋ยรองก้นหลุมและคลุกเคล้าดินกับเศษปุ๋ยพืชสด แล้วจึงทำการปลูกต้นกล้าที่เตรียมไว้

39 วิธีการปลูกพลับพลาก่อนปลูกดินในกล่องที่เตรียมไว้สำหรับพลับควรจะหลั่งได้ดี หลังจากการอบแห้งเพียงเล็กน้อยก็ควรคลายให้ทั่ว ในการเก็บกระดูกลูกพลับลงบนพื้นดินนั้นจะต้องอาศัยประมาณ 1.5 ซม. ในกรณีนี้ควรใส่วัสดุปลูกลงในหลุมไม่แบน แต่อยู่บนซี่โครง หลังจากที่กระดูกทั้งหมดอยู่ในพื้นดินกล่องจะต้องถูกปกคลุมด้วยฟิล์มจึงจัดเรือนกระจกขนาดเล็กการดูแลต้นกล้าหลังจากแตกหน่อพวกเขาอาจต้องช่วยกำจัดส่วนที่ยึดติดของเปลือกกระดูก ในกรณีที่หลังไม่ตกใน 3 วัน – น่าเสียดายที่พืชจะตาย สามารถเก็บต้นกล้าได้ด้วยการคลุมหม้อค้างคืนด้วยถุงพลาสติก (หลังจากฉีดพ่นและรดน้ำ) แล้วเอาครึ่งหนึ่งของเมล็ดออกด้วยแหนบในตอนเช้า

40 มะค่าแต้ ต้นมะค่าแต้ มีเขตการกระจายพันธุ์จากภูมิภาคอินโดจีนจนถึงมาเลเซีย ในประเทศไทยสามารถพบได้ตามป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณแล้ง ป่าโคกข่าว ป่าผลัดใบ ป่าดิบแล้ง และป่าชายหาดที่ระดับใกล้กับน้ำทะเลไปจนถึงที่ระดับความสูง 400 เมตร[2] โดยจัดเป็นไม้ยืนต้น มีความสูงของต้นประมาณ 10-15 เมตร แตกกิ่งก้านแผ่กว้าง มีเรือนยอดเป็นรูปร่มหรือเป็นทรงเจดีย์ต่ำ กิ่งอ่อนและยอดอ่อนมีขนสีน้ำตาล เปลือกต้นเรียบเป็นสีเทาคล้ำ ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดและวิธีการตอนกิ่ง]การคัดเลือกพื้นที่และการเตรียมพื้นที่สำหรับปลูกโดยทั่วไปการคัดเลือกพื้นที่ที่จะทำการปลูกสร้างสวนป่า

มักจะพิจารณาหาพื้นที่ขนาดใหญ่ราบเรียบ ไม่เป็นที่ลุ่มน้ำขังเมื่อฝนตก สภาพความอุดม สมบูรณ์ของดินดีพอใช้ แต่ในปัจจุบันในทางการปฏิบัติการคัดเลือกหาพื้นที่ดังที่ได้กล่าวมาแล้วคงหาได้ยากมาก เพราะสภาพที่ดินราบเรียบ จะถูกนำไปใช้ในด้านการเกษตรเสียเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้นการพิจารณาคัดเลือกพื้นที่ที่จะปลูกสร้างสวนป่าคงหนีไม่พ้นจากพื้นที่ที่มีความลาดชัน แต่อย่างไรก็ตาม ควรคัดเลือก

41 การปลูกไม้ไผ่ทุกชนิด เคล็ดลับการปักชำกิ่งแขนงเลือกกิ่งแขนงไผ่ที่สมบูรณ์ อายุไม่เกิน 1 ปี สังเกตกิ่งแขนงจะไม่อ่อนและแก่เกินไป มีปมรากขนาดเม็ดสาคู ตัดแต่งกิ่งแขนงยาวไม่เกิน 70 เซนติเมตร หรือยาว 2-3 ปล้อง โดยตัดให้ชิดข้อ จากนั้นนำไปแช่น้ำ 1 ชั่วโมง แล้วนำไปบ่มในถัง 200 ลิตร พร้อมใส่น้ำลงในถัง 1 แก้ว เพื่อให้ความชื้น และปิดฝาคลุมด้วยพลาสติกใส ถัง 200 ลิตร จะบรรจุได้ประมาณ 100 กิ่งสำหรับการบ่มกิ่งแขนงเป็นการกระตุ้นให้เกิดราก จะใช้เวลาการบ่ม ประมาณ 3-5 วัน แต่ไม่เกิน 7 วัน สังเกตสภาพตารากจะเปล่ง ก็จะนำไปปักชำในถุงดำ โดยผสมดิน : แกลบดิบ : ปุ๋ยคอก อัตราส่วน 1:1:1 แล้วนำไปวางไว้ในที่ร่มหรือโรงเรือนพรางแสงด้วยซาแรน ทิ้งไว้ประมาณ 2 เดือน รากจะเดินเต็มถุงก็สามารถนำไปปลูกลงแปลงได้

42 การปลูกดอกจำปี (Michelia longifolia Blume.)เป็นไม้พุ่มยืนต้น มีถิ่นกำ หนดอยู่ในประเทศอินโดนีเซียเป็นพืชในตระกูล Magnoliaceae เช่นเดียวกับจำ ปีและจำ ปูน ไม่มีหลักฐานปรากฏแน่ชัดว่าเข้ามาในประเทศไทยเมื่อใด แต่ก็นานจนกลายเป็นไม้ไปแล้ว จำ ปีนิยมปลูกกันทั่วไปตามบริเวณบ้าน

43 นางพญาเสือโคร่งซากุระเมืองไทยต้นนางพญาเสือโคร่งเป็นไม้ป่า ส่วนมากจะอยู่บนพื้นที่สูง เนินเขา ไหล่เขา ที่น้ำไม่ขัง ปัญหาส่วนมากของคนที่นำไปปลูกในพื้นราบแล้วไม่รอดคือ น้ำขัง ซึ่งต้นนางพญาเสือโคร่งจะไม่ชอบพื้นที่ที่แฉะหรือมีน้ำเยอะ ท้ำให้รากเน่าง่ายวิธีปลูกขุดหลุมให้ลึกพอที่จะเอาต้นลงปลูกได้ ลงปลูกแล้วกลบดินให้สูงพูนๆโคนต้นขึ้นมา เพื่มไม่ให้น้ำขังรอบๆ ถ้าพื้นที่ๆปลูกเป็นเนินหรือพื้นที่สูงน้ำไม่ขังไม่ต้องพูนดินขึ้นมาก็ได้ และถางวัชพืชรอบๆต้นออกให้หมดจากนั้นหาหลัก มาปักและมัดลำต้นยึดกับหลักไว้เพราะนางพญาเสือโคร่งต้นจะโน้นง่าย ถ้าโน้นแล้ว จะแตกกิ่งเรื่อยๆ แต่ความสูงจะไม่เพิ่ม

44 ประดู่ป่า ( P. macrocarpus )เป็นไม้ผลัดใบขนาดใหญ่ สูงตั้งแต่ 20 เมตรขึ้นไป มีเส้นผ่าศูนย์กลางของลำต้นประมาณ 1.3+2.1 เมตร เรือนยอดสูงประมาณ 6-12 เมตร เป็นรูปทรงกระบอกหรือรูปเจดีย์ต่ำ ๆ กิ่งสั้นไม่แผ่กว้าง ปลายกิ่งส่วนมากจะชี้ขึ้น จัดเป็นไม่มีค่าทางเศรษฐกิจสูงชนิดหนึ่งในแถบเอเชีย มีชื่อทางการค้าว่า Padauk หรือ Nara คำว่า “Padauk” เป็นภาษาพม่าที่ใช้เรียก เฉพาะ ไม้ประดู่ ( Pterocarpus macrocarpus ) แต่ต่อมาได้เรียกรวมถึงไม้อีก 2 ชนิด คือ Pterocarpus dalbergioides Roxb. (Andaman Padauk) และ Pterocarpus indicol (Nara) ลักษณะเปลือกของไม้ประดู่ป่ามีเปลือกหนา เปลือกนอกสีน้ำตาล เทา – หนา แตกหยาบเป็นร่องลึก

เปลือกในสีน้ำตาล เนื้อไม้แข้ง มีสีขาวอมเหลือง แก่นสีน้ำตาลแกมแดง ลักษณะของใบและดอกไม่ใคร่แตกต่างสำหรับไม้ประดู่นั้นจากการทดลองปลูกในพื้นที่ที่ดินมีความอุดมสมบูรณ์ปานกลางหรือมีความอุดมสมบูรณ์ดี พบว่าการใส่ปุ๋ยไม่ทำให้การรอดตายและการเจริญเติบโตของไม้ประดู่แตกต่างจากการไม่ใส่ปุ๋ย แต่ในพื้นที่ที่ดินขาดความอุดมสมบูรณ์พบว่าการใส่ปุ๋ยสูตรเสมอ (complete fertilizer) ซึ่งมีส่วนประกอบของ N:P:K เท่ากับ 15 : 15 : 15 จะทำให้กล

45 การปลูกมะม่วงไม่ว่าจะปลูกด้วยกิ่งตอน กิ่งทาบ หรือต้นที่เพาะเมล็ดก็ตาม ต้องทำด้วยความระมัดระวัง อย่าให้รากขาดมาก เพราะจะทำให้ต้นชะงักการเติบโตหรือตายได้ ต้นมะม่วงที่ปลูกไว้ในภาชนะนานๆ ดินจะจับตัวกันแข็ง และรากก็พันกันไปมา เวลานำออกจากภาชนะแล้วให้บิแยกดินก้นภาชนะให้กระจายออกจากกันบ้าง ส่วนรากที่ม้วนไปมาให้พยายามคลี่ออกเท่าที่จะทำได้ เพื่อจะได้เจริญเติบโตต่อไปอย่างรวดเร็ว ฤดูปลูกมะม่วงควรปลูกตอนต้นฤดูฝน หรือในประมาณเดือนพฤษภาคม – กรกฎาคม เพื่อให้มะม่วงตั้งตัวได้เร็วขึ้น เนื่องจากในฤดูฝนอากาศมีความชุ่มชื้นดี ทำให้มะม่วงตั้งตัวได้เร็ว และเป็นการสะดวกไม่ต้องรดน้ำในระยะแรก

หลังจากที่ได้ปลูกมะม่วงกันไปแล้วก็ควรศึกษาในเรื่อง การดูแลมะม่วง, โรคของมะม่วง, แมลงศัตรูมะม่วง, การเก็บเกี่ยวผลมะม่วงและถ้าจะต่อยอดทางธุรกิจให้มีรายได้เพิ่มขึ้น ท่านผู้อ่านสามารถศึกษาข้อมูลได้จาก : เทคนิคการผลิตมะม่วงนอกฤดู และการแปรรูปมะม่วง

46 อินทนิลน้ำลักษณะทั่วไปและลักษณะเด่น: ไม้ต้น สูงถึง ๒๕ เมตร เรือนยอดแผ่กว้างเป็นพุ่มกลม เปลือกค่อนข้างเรียบสีน้ำตาลอ่อน หรือสีเทาใบ: ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม เรียงสลับ หรือเยื้องกันเล็กน้อย รูปขอบขนานหรือรูปรีแกมรูปขอบขนาน ปลายแหลมหรือมน โคนกลม แผ่นใบหนาคล้ายหนัง ผิวใบเกลี้ยงทั้งสองด้านการปลูกและการดูแล: ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด ช่วงเวลา ที่เหมาะสมในการเก็บเมล็ดคือ ช่วงเดือนพฤศจิกายนถึง มกราคม วิธีการเก็บผล ใช้ตะขอตัดช่อผลลงมาก่อนที่จะแตก นำมาผึ่งแดด ผลก็จะแตกและเมล็ดจะหลุดร่วงออกมา คุณภาพ ของเมล็ด

เมล็ดมีอัตราการงอกประมาณร้อยละ ๖๐-๘๐ เปอร์เซ็นต์ เมล็ดเก็บไว้ได้นาน โดยอัตราการงอกจะเพิ่มขึ้น ตามลำดับตามระยะเวลาที่เก็บรักษา การเก็บรักษาเมล็ดควร คลุกยาฆ่าแมลงและเก็บไว้ในที่ปิดมิดชิด การปฏิบัติต่อเมล็ด และการเพาะเมล็ด แช่เมล็ดในน้ำเย็น ๒-๔ ชั่วโมง เพาะโดย การหว่านเมล็ดลงแปลงเพาะ ใช้ดินร่วนกลบหนาประมาณ ๐.๕ เซนติเมตร เมล็ดจะงอกภายใน ๑๐-๒๐ วัน ขนาดของกล้า ย้ายชำควรมีความสูง ๔-๖ เซนติเมตร ขนาดของกล้าย้ายปลูก สูงตั้งแต่ ๓๐ เซนติเมตร อายุ ๓-๔ เดือน (สวนพฤกษศาสตร์ ตามพระราชเสาวนีย์ฯ, ๒๕๔๖ ค)

47 การปลูกต้นตีนเป็ดทะเล การปลูก และดูแลรักษา วิธีการขยายพันธุ์ : ที่นิยมกันทั่วไปสำหรับไม้ป่า คือ การขยายพันธุ์โดยอาศัยเมล็ด เนื่องจากการผลิตกล้าไม้จำนวนมาก ๆ นั้น การเพาะเมล็ดทำได้สะดวกที่สุด ตลอดจนการดูแลรักษากล้าไม้ก็ไม่ต้องอาศัยวิธีปฏิบัติที่ยุ่งยากมากนัก วิธีการเพาะเมล็ดจึงเป็นที่นิยมโดยทั่วไป เพราะทำได้ง่ายประหยัดและได้ผลดีนอกจากการผลิตกล้าโดยการเพาะเมล็ดด้วย การผลิตกล้าไม้ตีนเป็ดยังสามารถ ทำได้โดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อจากการทดลองของอาจารย์ปราณี, ฮัมเมอร์ลิงค์ (หัวหน้าโครงการพัฒนาการผลิตกล้าไม้โตเร็วและปลอดโรคเพื่อการปลูกป่าและการอุตสาหกรรม ภาควิชาโรคพืช คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์) ปรากฏว่าตีนเป็ดจากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อมีการเจริญ เติบโตดี

48 การปลูกกัลปพฤกษ์กัลปพฤกษ์พบกระจายมากในภาคเหนือ และภาคอีสาน เป็นต้นไม้ที่ชอบดินร่วนปนทราย มีการระบายน้ำดี ไม่ชอบพื้นที่น้ำท่วมขังการปลูก และขยายพันธุ์ นิยมปลูกด้วยเมล็ด ที่สามารถเก็บได้จากฝักแก่บนต้น หรือ ฝักที่ร่วงในช่วงเดือนเมษายน-มิถุนายน นอกจากนั้น ยังปลูก และขยายพันธุ์ได้ด้วยวิธีการตอน ซึ่งจะได้ต้นใหม่ที่ไม่สูง วิธีนี้ก็เป็นที่นิยม เนื่องจากลำต้นไม่สูงมาก แต่มักมีอายุน้อย และทนต่อสภาพแวดล้อมไม่สู้การ

49 การปลูกต้นมะหาด : นิยมปลูกโดยการเพาะเมล็ดและการตอนกิ่ง ขึ้นได้ในดินแทบทุกชนิด วิธีปลูกจะต้องเพาะต้นก่อน แล้วจึงนำเอามาปลูกในหลุมที่มีปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมักรองก้นหลุม ระยะแรกดูให้น้ำและกำจัดวัชพืชด้วย มะหาดที่เจริญเติบโตดี จะให้ผลเมื่ออายุได้ 5 ปีแล้ว การปลูกดูแลบำรุงรักษาระยะเริ่มปลูกควรรดน้ำทุกวันถ้าฝนไม่ตก และต้นกล้ายังตั้งตัวไม่ได้ควรใช้ไม้หลักปักยึดกับลำต้นกันโยก และทำที่พรางแสงแดดให้ด้วย นอกจากนี้เมื่อต้นโตขึ้นควรกำจัดวัชพืชรอบ ๆ โคนต้นบ้าง มะหาดที่มีความเจริญเติบโตดีจะให้ผลเมื่ออายุประมาณ 5 ปีการคัดเลือกพื้นที่และเตรียมพื้นที่ปลูกวิธีการปลูกและระยะปลูกที่เหมาะสม ขุดหลุมกว้าง และยาวด้านละ 1 เมตร ตากดินไว้นาน 1–2 สัปดาห์ เพื่อฆ่าเชื้อโรคในดิน ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยอินทรีย์ที่สลายตัวดีแล้วรองก้นหลุม แล้วจึงนำต้นกล้าลงปลูกกลบดินให้แน่น

50 ต้นมะขามป้อมมะขามป้อม ” เป็นพืชสมุนไพรประจำบ้าน ที่มีสรรพคุณทางยาสูง ในตำราแพทย์แผนไทยใช้มะขามป้อม เป็นส่วนผสมสำคัญในตำรับยามากกว่า 100 ตำรับ เช่น ตำรับยา“ สมุนไพรตรีผลา ” ซึ่งเป็น กลุ่มยาอายุวัฒนะ ผลงานวิจัยทางการแพทย์ในสหรัฐอเมริกาและยุโรปยืนยันตรงกันว่า มะขามป้อมจัดเป็นผลไม้ที่มีปริมาณของสารแทนนินสูงเป็นชนิดที่มีฤทธิ์ในการต่อต้านอนุมูลอิสระต้านสารก่อมะเร็ง

51 ตะแบกเลือดเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ถึงขนาดใหญ่ สูงประมาณ 20-30 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มทรงกระบอก โคนมาพูพนต่ำ ๆ เปลือกสีเทา หลุดเป็นสะเก็ดเป็นแผ่น เปลือกในสีแดงคล้ำใบ เป็นชนิดใบเดี่ยว รูปมน ขนาด 5-7 x 10-19 ซม. ปลายแหลม โคนมนหรือแหลม ขอบเรียบ มีขนอ่อนนุ่มสีขาวเป็นมันเหมือนเส้นไหมปกคลุม ท้องใบสีจางกว่าหลังใบ ซึ่งมีขนสีน้ำตาลอ่อนหนาแน่น เมื่อใบแก่ขนอาจร่วงหลุดไปดอก ดอกสีขาวค่อนข้างเหลือง ออกเป็นช่อเดี่ยวๆ ไม่แตกกิ่งก้าน ก้านช่อดอกยาว 12-16 ซม. ช่อดอกอ่อนมีขนสีน้ำตาลหนาแน่น ดอกบานเต็มที่กว้างประมาณ 4-5 มม. เป็นดอกสมบูรณ์เพศทั้งสิ้นการนำไม้ตะแบกเลือดมาใช้ประโยชน์ยังมีอยู่น้อย นอกจากจะนำมาปลูกในลักษณะเป็นไม้ประดับ การใช้ประโยชน์ด้านอื่น ๆ ได้แก่

52 สัตบรรณหรือต้นตีนเป็ดดอกของต้นนี้มีกลิ่นค่อนข้างฉุน บางคนก็บอกว่าเหม็น แต่รู้หรือไม่ว่าประโยชน์ของต้นตีนเป็ดมีเยอะมากทีเดียว วันนี้กระปุกดอทคอมเลยจะพาทุกคนไปทำความรู้จัก ต้นตีนเป็ด หรือพญาสัตบรรณ หรือสัตบรรณ ต้นไม้มีกลิ่นฉุน หนึ่งในต้นไม้มงคล วิธีการปลูก และประโยชน์ของมัน จนมองข้ามดอกไม้กลิ่นฉุนของต้นไม้ต้นนี้ไปเลยล่ะ

53 ตะเคียนหิน ประโยชน์ของตะเคียนหิน : เนื้อไม้ใช้ทำเรือ เรือขุด เครื่องเรือน กระเบื้องไม้ เสา สะพาน หมอนรางรถไฟ ตลอดจนใช้ในการก่อสร้างอื่นๆ ที่ต้องการความทนทานและแข็งแรงมาก (การแปรรูปไม้ควรทำใน ขณะที่ไม้ยังสดอยู่) ทำพื้น ฝา รอด ตง และเครื่องบนได้ทนทานและแข็งแรง ทำเรือใบ โครงเรือเดิน ทะเล ทำลูกประสัก แจว พาย กรรเชียง เสากระโดงเรือ ส่วนประกอบของเกวียน ด้ามเครื่องมือและ ใช้ผสมยารักษาเลือดลม เปลือกต้นกับเกลือป้องกันฟันหลุด เนื่องจากกินยาเข้าสารปรอทและต้มชะล้าง บาดแผลเรื้อรัง ดอกอยู่ในจำพวกเกสรร้อยแปด ผสมยาทิพย์เกสร ยางใช้ผสมน้ำมันรักษาบาดแผล

54 เคี่ยมคะนอง ไม้ต้นขนาดใหญ่ สูงถึง 35 เมตร ไม้ผลัดใบ เรือนยอดแน่น มีสีออกเหลือง ลำต้นกลม มี พูพอนใหญ่ตามอายุ มักมีส่วนเจริญคล้ายหนาม เปลือกสีน้ำตาลอมเทาถึงน้ำตามเข้ม หนาแตกเป็น แผ่นและเกล็ดไม้เป็นระเบียบ เปลือกในสีน้ำตาลอมส้มอ่อน ใบ รูปขอบขนานแกมรูปไข่ กว้าง 2.5-4 เซนติเมตร ยาว 4-8 เซนติเมตร ปลายแหลมถึงเรียวแหลม กว้าง ยอดบาก โคนทู่หรือกลม ใบอ่อนสีน้ำตาลอ่อน มีเกล็ดเล็กสีอมชมพูปนกับขนสั้นสีดำ ใบแก่คล้าย แผ่นหนัง ด้านหลังมีนวล มีเขียวอมเทาและมีกระจุกขนสั้นสีน้ำตาลเข้ม ไม่มีตุ่มใบ หูใบรูปขอบขนานแคบ ค่อนข้างติดทน ดอกเป็นช่อเล็กเรียวห้อยลง ยาวถึง 11 เซนติเมตร

ดอกสีขาวถึงครีม มีแต้มสีเหลืองด้าน ใน ส่วนมากจะออกเป็นกลุ่มไปยังปลายกิ่ง มีขนคล้ายเกล็ด มีใบประดับชัด ตาดอกรูปรี กลีบดอกรูป ขอบขนาน บิดเป็นเกลียวไม้เชื่อมติดกันที่ฐาน ผลเป็นปีก ปียาว 3 ปีก กว้างถึง 1.5 เซนติเมตร ยาวถึง 9 เซนติเมตร คล้ายแถบ ปลายทู่ หรือกลม อีก 2 ปีกสั้นรูปขอบขนานแคบ กว้างถึง 0.7 เซนติเมตร ยาวถึง 6 เซนติเมตร ปลายแหลม ตัวผลรูปไข่ยาวถึง 2.2 เซนติเมตร ปลายเรียว เกลี้ยง โคนปีกหุ้มผลมิด มีเกล็ดเป็นขุยหรือเกลี้ยง

55 ไม้มะค่าโมงเป็นไม้ที่มีต้นขนาดใหญ่ แต่ไม่สูงมากนักมี ความสูงระหว่าง 10-18 เมตร แตกกิ่งต่ำ เรือนยอดเป็นพุ่มแผ่กว้าง เปลือก มีสีน้ำตาลอ่อน หรือชมพูอมน้ำตาล กิ่งอ่อนม้วน คลุมบางๆ ใบเป็นช่อเรียงสลับกัน ช่อใบยาว 18-29 ชม. ก้านช่อใบ ค่อนข้างสั้น ยาวประมาณ 2 ชม. บนแกนช่อใบมีใบย่อยชิ้นตรงกันข้าม 3-5 คู่ ใบย่อย รูปไข่แกรมรูปขอบขนานกว้าง 2-5 ชม. ยาว 4-9 ชม. ปลายใบมนมักจะเว้าตื้นๆ ตรงกลางฐานใบมนหรือตัด

ก้านใบย่อยยาว 3-5 ชม. ดอก ออกเป็นช่อ แตกแขนงที่ปลายกิ่ง ยาว 5-15 ชม. มีขนคลุมบางๆ ก้านดอกย่อยยาว 7-10 มม. ใบประดับรูปขอบขนานแกรมรูปไข่ยาว 6-9 มม. มีขนประปราย กลีบรองกลีบดอกติดกัน ส่วนนี้แยกเป็นกลีบรูปขอบขนาน 4 กลีบแต่ละกลีบซ้อนทับกัน กลีบยาวประมาณ 10-12 มม. กลีบดอกมีเพียงกลีบบนสุด

56 ไม้เคี่ยมลักษณะทั่วไป ไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่สูง 20-40 ม. ทรงพุ่มทึบทรงเจดีย์ตํ่า ลำต้นตรง เปลือกต้นเรียบสีน้ำตาลเข้ม มีรอยด่างสีเทาและเหลืองสลับ มีต่อมระบายอากาศกระจายทั่วไป ตามยอดอ่อนและช่อดอกมีขนสีน้ำตาลปกคลุมเนื้อไม้แข็งแรงทนทาน ใช้ในงานก่อสร้าง เปลือกไม้ใส่ในภาชนะรองรับน้ำตาลไม่ให้บูดเน่า ใช้เป็นยาห้ามเลือด แก้ท้องร่วง

57 สะเดาเทียมลักษณะทั่วไป : ไม้ยืนต้นสูงตรงไม่มีกิ่งขนาดใหญ่ เมื่ออายุน้อยเปลือกต้นเรียบ เมื่ออายุมากเปลือกจะแตก เป็นแผ่นล่อนสีเทาปนดำ เรือนยอดเป็นพุ่มกลมทึบ ใบเป็นใบประกอบ ขอบใบหยักคล้ายฟันเลื่อย ใบเบี้ยวไม่ได้สัดส่วน ปลายใบแหลมเป็นติ่ง ฐาน ใบเบี้ยวไม่เท่ากัน เนื้อใบหนา เกลี้ยง สีเขียวเป็นมัน ดอกเป็นช่อตามง่ามใบหรือปลายกิ่ง ดอกบานสีขาว มีกลิ่นหอม กลีบดอกมี 5 กลีบ ออก ดอกช่วงเดือนมีนาคม ผลทรงกลมรี รูปไข่ ผลอ่อนสีเขียว ผลอ่อนสีเหลือง เมื่อแก่จะเป็นสีเหลือง ผลแก่ประมาณ เดือนพฤษภาคมถึงเดือนมิถุนายน

58 ตะเคียนชันตาแมว ไม้ยืนต้นสูง 30–40 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มทึบ ลำต้นเปลาตรง เปลือกสีน้ำตาลเข้มล่อน เป็นสะเก็ด มียางชันสีขาว ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับ แผ่นใบรูปหอกหรือรูปดาบ ปลายใบแหลม โคนใบสอบ ดอกแบบช่อแยกแขนง ออกตามง่ามใบและปลายกิ่ง มีกลีบเลี้ยงและกลีบดอกอย่างละ 5 กลีบ สีขาว กลิ่นหอม ออกดอกช่วงเดือนเมษายน-มิถุนายน ผลแบบเปลือกแข็ง รูปขอบขนาน กว้าง 1.5 เซนติเมตร ยาว 2-4 เซนติเมตร ปลายแหลม เบี้ยวๆ กลีบเลี้ยงหนาหุ้มผล ออกผลแก่เดือน มีนาคม-พฤษภาคมประโยชน์ของตะเคียนชันตาแมว : เนื้อไม้มีความแข็งแรง ทนทาน ใช้ในการก่อสร้าง ทำเรือสำเภา เสากระโดงเรือ ชันมีราคาสูง

ใช้ผสมน้ำมันชักเงาอย่างดีวิธีการปลูกไม้ตะเคียนก็เหมือนกับไม้ป่าทั่วไป กล้าที่ปลูกจะต้องทำให้แกร่งเสียก่อน โดยการนำออกมารับแสงเต็มที่สัก ๑-๒ สัปดาห์ แล้วย้ายไปปลูกหลังจากฝนตก ถ้าทำได้ควรนำถังใส่น้ำเข้าไปในพื้นที่ปลูก นำกล้าตะเคียนจุ่มลงถังน้ำเพื่อให้รากดูดน้ำไว้จน อิ่มตัวแล้วจึงแกะถุงพลาสติกที่ห่อหุ้มรากออกนำลง หลุมปลูก

ขอบคุณข้อมูลจากเว็บไซต์ www.dnp.go.th กรมอุทยาน

Facebook Comments Box