น่าอ่าน

เผย 9 เทคนิคปลูก“กล้วยน้ำว้า”ให้ได้ผลดี เครือใหญ่ มีขายตลอดปี

9 เทคนิคปลูกกล้วยน้ำว้าให้ได้ผลดี เคล็ดลับจาก อาจารย์กัลยาณี สุวิทวัส นักวิจัยชำนาญการพิเศษ สถานีวิจัยปากช่อง สถาบันอินทรีจันทรสถิตย์เพื่อการค้นคว้าและพัฒนาพืชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา
จากการทุ่มเทและคลุกคลีกับการปลูกกล้วยน้ำว้ามาอย่างยาวนานกว่า 10 ปี จึงทำให้อาจารย์กัลยาณีค้นพบเทคนิคการปลูกกล้วยน้ำว้าให้ประสบความสำเร็จอย่างน่าสนใจ และเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการปลูกกล้วยน้ำว้าของเกษตรกร อาจารย์กัลยาณีบอกว่า มีเทคนิคที่ต้องใส่ใจ ดังนี้


1 คัดเลือกต้นพันธุ์ที่มีขนาดความสูง 15 ซม.ขึ้นไป หรือมีเส้นรอบวงต้นมากกว่า 3.5 ซม. หากต้นเล็กกว่านี้จะพบปัญหาเรื่องการดูแล และเสี่ยงต่อการไม่รอดสูง
2 เตรียมแปลงปลูก ระยะ 3×3 หรือ 4×4 เมตร ขนาดหลุมปลูก 50x50x50 ซม. เพื่อให้ระบบรากเดินดี ขึ้นโคนช้า ระยะปลูกขึ้นอยู่กับการดูแล และถ้าดูแลดี ก็จะทำให้กอกล้วยใหญ่ ควรปลูกระยะ 4×4 เมตร 1 กอ ควรไว้เพียง 4 ต้นเท่านั้น

3 คลุกเคล้าปุ๋ยคอกผสมดินประมาณหลุมละ 2 กก. รองก้นหลุมขึ้นมาประมาณ 30 ซม. แล้วจึงปลูกต้นกล้วยและกลบบริเวณโคนต้นให้แน่น ทำแอ่งดินรอบต้นเพื่อเก็บน้ำรักษาความชื้นของดิน และควรรองก้นหลุมด้วยสารป้องกันหนอนกอกล้วยประมาณ 1 ช้อนโต๊ะ ต่อหลุม
4 ปลูกเสร็จให้น้ำตามทันทีให้ชุ่มชื้นพอเพียง ไม่เช่นนั้นต้นจะเหี่ยวเฉา ใบแห้งและยุบตัว บางต้นไม่รอด บางต้นแตกต้นใหม่ขึ้นแทนทำให้อายุต้นไม่สม่ำเสมอกัน

5 ในระยะเดือนแ รกต้องให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ และดินต้องชุ่มชื้นเพียงพอ เป็นเดือนที่ต้องเอาใจใส่อย่างมาก หากเป็นการให้น้ำแบบฝอยหรือมินิสปริงเกลอร์ จะทำให้ต้นตั้งตัวได้เร็ว สามารถสร้างใบและลำต้นใหม่ได้ดี
โอกาสรอดสูงกว่าการลากสายยางรดน้ำ และเริ่มให้ปุ๋ยสูตร 15-15-15 หรือ 16-16-16 ประมาณ 100-150 กรัม ต่อต้น หลังปลูกได้ 1 เดือน แล ะเดือนที่ 2 ส่วนเดือนที่ 3 ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักแทน
6 เดือนที่ 2 และ 3 ต้นกล้วยจะมีต้นและใบใหม่ทั้งหมด ปัญหาคือหญ้าขึ้นคลุ มต้น ต้องถอนหญ้าบริเวณโคนต้น และฉีดยากำจัดหญ้าพาราควอต ระหว่างแถ ว ต้องระวังอย่าให้ละอองยาโดนต้นกล้วย จะทำให้ต้นชะงักแล ะไม่รอดได้

7 เดือนที่ 4 การเจริญเติบโตเร็วมาก ทั้งความสูงและรอบวงต้นใกล้เคียงปลูกจากหน่อพันธุ์ แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับขนาดต้นปลูกเริ่มแรก ถ้าสูง 15 ซม. ขึ้นไป จะโตทันกัน ถือว่าเดือนนี้เป็นเดือนที่ต้นรอดไม่รอดทั้งหมด
การดูแลทำเช่นเดียวกับการปลูกด้วยหน่อ โดยให้ปุ๋ย 15-15-15 หรือ 16-16-16 ประมาณ 100-150 กรัม ต่อต้นในเดือนที่ 4 และ 5 ส่วนเดือนที่ 6 ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักแ ทนและงดใส่ปุ๋ยจนก ว่าจะแทงปลี ถึงจะใส่ปุ๋ยเคมีอีกค รั้ง จนกระทั่งห ลังเก็บเกี่ย วถึงจะเริ่มให้ปุ๋ยในรอบใหม่

8 เดือนที่ 6 หรือ 7 กล้วยเริ่มแทงหน่อ และสะสมอาหารเพื่อการตกเครือ
9 เดือนที่ 9 กล้วยเริ่มแทงปลี การแทงปลีหรือตกเครือจะเร็วหรือช้ากว่าหน่อพันธุ์ ขึ้นอยู่กับขนาดลำต้นปลูกเริ่มแรกและการดูแลรักษาหากต้นพันธุ์ที่มีขนาดความสูง 15 ซม. ขึ้นไป หรือมีเส้นรอบวงต้นมากกว่า 4 ซม. การตกเครือใกล้เคียงกับหน่อพันธุ์ ขนาด 1 เมตร หากต้นมีขนาดใหญ่กว่านี้ การตกเครือจะเร็วกว่าหน่อพันธุ์และหากเล็กกว่านี้การตกเครือจะช้ากว่าหน่อพันธุ์ อายุเครือกล้วยจากการแทงปลีจนกระทั่งเก็บเกี่ยวมีอายุประมาณ 4 เดือน เท่ากับหน่อพันธุ์กล้วยน้ำว้าทั่วไป

ท่านที่สนใจจะทรา บข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อ สถานีวิจัยปากช่อง สถาบันอินทรีจันทรสถิตย์เพื่อการค้นคว้าและพัฒนาพืชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อ. ปากช่อง จ. นครราชสีมา โทร. (044) 311-796


กล้วยน้ำว้าเป็นแหล่งพลังงานสำรองชั้นดีที่อุดมไปด้วยน้ำตาลธรรมชาติมากถึง 3 ชนิด ได้แก่ ซูโครส ฟรุกโตส และกลูโคส นอกจากนี้ยังมีเส้นใย กากอาหาร และยังมีแร่ธาตุอย่างแมกนีเซียมและโพแทสเซียมที่มีส่วนช่วยป้องกันโรคความดันโลหิตได้อีกด้วย
ขอบคุณที่มา เทคโนโลยีชาวบ้าน

Facebook Comments Box
สวัสดี