สูตรทำจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง แดงง่ายๆ ใช้ไข่ 2 ฟอง ใช้รดผัก ผลไม้งามไว้มาก
จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง มีประโยชน์อย่างมาก สามารถนำมาใช้ด้วยการฉีดพ่นทางใบโดยตรง หรือใช้เป็น ปุ๋ย น้ำก็ได้ เพราะมีคุณสมบัติดังนี้ ช่วยตรึงไนโตเจนในดิน เพิ่มไนโตเจนให้กับ พืช เร่งการเจริญเติบโต
ทำให้ พืช แข็งแรงแล้ว โตเร็วขึ้นเมื่อใช้ทางดินทำให้ราก พืช แข็งแรงและหาอาหารได้ดีขึ้นใช้ฉีดพ่นในนาข้าวช่วยเร่งการ แตกกอ ช่วยในการย่อยธาตุอาหารลงดิน เพื่อให้ พืช ดูดซึมไปใช้ได้ดีเมื่อจุลินทรีย์สังเคราะห์แสงมีมากในดิน จะไปช่วยกำจัด จุลินทรีย์ไม่ดีบางชนิด ลดการเกิด โรคพืช ได้

วิธีการทำ
จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง ทำจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง นั้น ง่ายมาก แค่นำน้ำที่มาจากแหล่งธรรมชาติที่สะอาด ไม่ขุ่นมาก กรองใส่ขวดลิตรชนิดใสเตรียมไว้ตามต้องการ ไม่ต้องใส่เต็มขวด ให้เหลือพื้นที่ หายใจ เล็กน้อย ให้สามารถเติม หัวเชื้อ อีก 1-2 ช้อนโต๊ะลงไปได้ จะได้ไม่เต็มจนล้น ปิดฝาวางพักน้ำไว้ 2-3 วัน
ส่วนผสม ไข่ 2 ฟอง / นมเปรี้ยว / น้ำปลา

เตรียมนำไข่ไก่ ไข่เป็ด หรือไข่อะไรก็ได้ ประมาณ 2-3 ฟองก็ทำได้เกือบ 10 ขวดแล้ว ส่วนประกอบอื่นๆ มีหรือไม่มีก็ได้ เช่น น้ำปลา ผงชูรส นมเปรี้ยว สารพัดสูตร แต่แนะนำ นมเปรี้ยว ขวดเล็กๆ หรือน้ำปลา ซัก 1 ช้อนโต๊ะ ก็พอ
เริ่มลงมือผสมจุลินทรีย์ ตอกไข่ 2-3 ฟองใส่ถ้วย เติมส่วนประกอบอื่นๆ เพียง 1 อย่างเป็นตัวเร่งเชื้อ เช่น น้ำปลา เติมไป 1 ช้อนโต๊ะ ผสมให้เข้ากัน แล้วพักเก็บไว้ นำไข่ที่ตีแล้วตักใส่ขวดน้ำ ตามสูตร ไข่ 1 ช้อนโต๊ะต่อน้ำ 1.5-2 ลิตร
(หรือน้ำ 1 ขวดลิตร ต่อไข่ 1 ช้อนโต๊ะ) กะดูว่าถ้าใส่ไข่ลงไป แล้วควรให้เหลือช่องอากาศซัก 2 นิ้ว ปิดฝา เขย่าให้เข้ากันเลยจ้า นำขวดที่ผสมแล้ว จะมีสีขาวขุ่น ตั้งไว้ในบริเวณกลางแจ้งที่มีแดดส่องถึงตลอดวัน
ประมาณ 2-3 อาทิตย์ก็จะเห็นผล ถ้าเริ่มมีสีแดงๆ ก็เป็นอันว่าใช้ได้ ตากแดดต่อให้แดงแจ๋ไปเลย แล้วไม่ได้สีแดง สาเหตุหลักๆ คือ น้ำไม่สะอาด หรือหัวเชื้อ มีปริมาณไม่เพียงพอ หรือน้ำไม่โดนแดดเพียงพอ
แก้ปัญหาได้จากสาเหตุข้างต้น หรือ เททิ้ง ทำใหม่ ปกติแล้ว ไม่เกิน 3 เดือน น้ำจะออกสีแดง ถ้าน้ำเป็นสีอื่นๆ เช่น สีเขียว = ตะไคร่น้ำ หรือรา ควรเททิ้ง / สีดำ = น้ำเน่า ควรเททิ้ง / สีขาวขุ่น = ยังไม่เกิดจุลินทรีย์ ให้ตากแดดจัดๆ ต่อไป

ประโยชน์ของการใช้จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง โดยรวมมีดังนี้
1 ช่วยย่อยสลายของเสียในแปลงนา โดยเฉพาะกลุ่มก๊าซไข่เน่า หรือไฮโดรเจนซัลไฟด์ จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง จะเข้าไปทำลายกำจัดก๊าซไฮโดรเจน ซึ่งเป็นก๊าซหลักของก๊าซไข่เน่าโดยนำของเสียนั้นมาเป็นพลังงานใช้ในการเจริญเติบโตและแบ่งเซลล์ ในระหว่างกระบวนการเหล่านี้ จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง จะเข้าไปขับของเสียออกมาให้อยู่ในรูปกลุ่มโกสฮอร์โมน ที่มีประโยชน์ต่อพืช
2 ช่วยลดสภาวะโลกร้อนจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง จะเข้าไปทำลายและย่อยสลายกลุ่มก๊าซมีเทนที่มีอยู่ในแปลงไร่นาทำให้โครงสร้างของก๊าซมีเทนเสียไป ให้เหลือแต่ธาตุคาร์บอนซึ่งสามารถย่อยสลายได้โดยธรรมชาติ
3 ช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกันโรคพืชได้ดีและมีระบบรากฝอยที่ดี การใช้จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง ทำให้เปลือกหรือลำต้นแข็งแรง ทนต่อการกัดกินของแมลงและช่วยกระตุ้นเซลล์เจริญ บริเวณปลายรากพืชให้ขยายตัวและ แตกแขนงได้ดีทำให้เกิดรากฝอย ที่หากินเก่งจำนวนมากจึงทำให้พืชมีการสะสมอาหารได้ดี ส่งผลให้เพิ่มผลผลิตมากขึ้น
4 สามารถใช้แทนปุ๋ยยูเรีย โดยใช้หลักการย่อยสลายกลุ่มก๊าซของเสียให้เป็นธาตุอาหารหลักของพืช ได้และเมื่อใช้เป็นประจำและต่อเนื่อง สามารถลดการใช้อาหารเสริม หรือปุ๋ยสูตรต่างๆ ลงได้ ทำให้ต้นทุนในการผลิตลดลง และมีกำไรเพิ่มมาก ขึ้นทั้งยังสามารถใช้ร่วมกับน้ำหมักชีวภาพ หรือปุ๋ยสูตรต่างๆ จะทำให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น และคุณภาพผลผลิตดีขึ้นด้วย
คุณประโยชน์มหาศาลนี้ เกษตรกร ผู้ผลิต และผู้บริโภค ทั้งหลาย สามารถร่วมมือกันนำจุลินทรีย์สังเคราะห์แสงไปให้กันอย่างทั่วถึง จะได้ช่วยกันบำบัดน้ำเสียที่อยู่ทั่วไปในท่อรางน้ำ ฟาร์มเลี้ยงสัตว์ หรือน้ำเสียที่เหลือจากอุตสาหกรรมการผลิตต่างๆ นะครับ