ธรรมะสอนใจ

สอบ “เด็กยุคใหม่” เข้าโรงเรียน ต้องทำงานบ้านได้

นักเรียนโชว์รีดผ้าเพื่อสอบสัมภาษณ์เข้าโรงเรียน ทักษะชีวิตที่ต้องเริ่มตั้งแต่เล็ก พ่อแม่ต้องสอนลูกเรื่องการช่วยเหลืองานบ้าน การช่วยเหลืองานบ้าน พ่อแม่ต้องสอนเรื่องการช่วยเหลืองานบ้าน สอนลูกทำงานบ้าน หมั่นทำกิจกรรมฝึกความรับผิดชอบ เพื่อให้ลูกรู้จักหน้าที่ มีระเบียบวินัย เพราะทักษะชีวิตต้องเริ่มตั้งแต่เล็ก

โชว์รีดผ้าคัดเด็กเข้าเรียน ทักษะชีวิตสำคัญการช่วยเหลืองานบ้าน กลายเป็นภาพไวรัลสุดฮอต เมื่อมีแอคเคาท์ทวีตเตอร์รายหนึ่งชื่อว่า Hasif ได้โพสต์ภาพ เด็ก ๆ กำลังรีดผ้า ท่ามกลางสายตาของผู้ใหญ่ คล้ายกับการสอบหรือแข่งขันอะไรบางอย่าง

Hasif เป็นอดีตนักเรียนของโรงเรียน Sekolah Menengah Sains Lahad Datu รัฐซาบาห์ ประเทศมาเลเซีย โดยเขาได้เห็นภาพเหล่านี้จากเฟซบุ๊กของอาจารย์ที่เคยสอนเขา

อดีตนักเรียนคนนี้บอกด้วยว่า ไม่เคยเห็นการสอบรีดผ้า เป็นส่วนหนึ่งในการสอบสัมภาษณ์ เพื่อคัดเด็กนักเรียนเข้าโรงเรียนแบบนี้ และนี่ก็ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ดี เราจะไม่ได้เห็นเด็กนักเรียนใส่เสื้อยับ ๆ ในโรงเรียนอีกต่อไป

สำหรับ Hasif นั้น เคยเข้าเรียนที่โรงเรียน Sekolah Menengah Sains Lahad Datu ช่วงปี 2010 – 2014 ซึ่งในสมัยที่เขาเรียนอยู่นั้น ไม่เคยมีการสอบรีดผ้ามาก่อน และเชื่อว่า ปีนี้อาจจะเป็นปีแรกที่ทางโรงเรียนสอบทักษะการรีดผ้า โดยเป็นส่วนหนึ่งของการสอบสัมภาษณ์เข้าเรียน

การช่วยเหลืองานบ้านต้องสอนลูกตอนไหนดี พ่อแม่สามารถฝึกให้ลูกทำกิจวัตรประจำวันด้วยตัวเอง โดยเริ่มฝึกได้ตั้งแต่วัยเตาะแตะที่สามารถฟังคำสั่งรู้เรื่องคืออายุประมาณ 2 ปีขึ้นไป ยกตัวอย่างอย่างง่ายๆ เช่น

เก็บของที่เล่นให้เข้าที่ด้วยตัวเอง เอาเสื้อผ้าที่ใส่แล้วไปใส่ในตระกร้าซัก ถือเป็นการฝึกให้รับผิดชอบงานบ้านอย่างง่าย ๆ รวมทั้งให้รู้จักการตื่นนอน เข้านอน อาบน้ำ และทานข้าวให้เป็นเวลา โดยทานข้าวด้วยตนเอง

นอกจากจะเป็นการฝึกความรับผิดชอบแล้ว ยังทำให้ลูกได้รู้จักหน้าที่ของตนและมีระเบียบวินัยด้วย ฝึกให้ลูกรู้จักรับผิดชอบงานบ้านที่เป็นส่วนรวม เมื่อลูกเริ่มโตขึ้น คืออายุมากกว่า 4 ปีขึ้นไป คุณพ่อคุณแม่สามารถฝึกให้ลูกรู้จักรับผิดชอบงานส่วนรวมง่าย ๆ ในบ้านได้ เช่น ช่วยจัดโต๊ะอาหารด้วยอุปกรณ์ที่ไม่ตกแตก ช่วยหยิบของใช้ในบ้านให้กับผู้ใหญ่เพื่อการทำงานต่าง ๆ ช่วยเอาขยะไปทิ้งถังขยะ

โดยสอนให้ลูกรู้จักแบ่งเวลาช่วยทำงานบ้าน อันเป็นส่วนรวมเหล่านี้ให้สมดุลกับการทำงานส่วนตัว อันได้แก่กิจวัตรประจำวันและการบ้านที่ได้รับมอบหมายจากโรงเรียน และเน้นให้ลูกฝึกฝนการทำงานทุกอย่างให้เสร็จเรียบร้อยในเวลาที่กำหนด โดยให้คำชมเชยแก่ลูกเมื่อทำสำเร็จ

ฝึกให้ลูกรับผิดชอบต่องานบ้านที่ยากขึ้นและใช้เวลามากขึ้นตามลำดับอายุ เมื่อลูกเริ่มเข้าสู่วัยเรียน คุณพ่อคุณแม่ก็ควรมอบหมายงานบ้านที่ยากขึ้น ซึ่งต้องใช้ความพยายามและใช้เวลาในการทำให้สำเร็จมากขึ้นเพิ่มตามอายุของลูก ตัวอย่างงานบ้านที่เหมาะสมกับเด็กอายุต่าง ๆ ในช่วงวัยเรียนได้แก่
พับผ้าห่มเอง รดน้ำต้นไม้ ยกอาหารที่ไม่ร้อนไปวางที่โต๊ะ เมื่ออายุ 5-7 ปี
กวาดบ้าน ถูบ้าน ตากผ้า เก็บผ้า ล้างจาน เมื่ออายุ 8-10 ปี
และหัดล้างห้องน้ำ ทำอาหารเอง เมื่ออายุ 11 ปีขึ้นไป เป็นต้น

พ่อแม่ต้องใส่ใจสอนลูกเรื่องการช่วยเหลืองานบ้านตั้งแต่เล็ก ๆ เพื่อให้ลูกมีระเบียบ วินัย เติบโตไปมีความรับผิดชอบ เพราะการช่วยเหลืองานบ้านนั้นเป็นทักษะชีวิตที่ต้องเริ่มตั้งแต่เล็ก

หากพูดถึง “งาน บ้าน” กลายเป็นเรื่องไกลตัวสำหรับเด็กยุคใหม่ไปเสียแล้ว ส่วนหนึ่งเพราะทัศนคติอันเนื่องมาจากกระแสการแข่งขันในสังคม ซึ่งส่งผลให้พ่อแม่กลุ่มหนึ่ง ต่างผลักดันให้ลูกมุ่งเรียน เพื่อแย่งชิงโอกาสทางการศึกษา ขณะที่งานบ้านปล่อยให้ตกมาเป็นหน้าที่ของพ่อแม่ พี่เลี้ยง หรือแม่บ้านแทน

เมื่อเป็นเช่นนี้ ดร.วรนาถ รักสกุลไทย นักการศึกษาและกรรมการสมาคมอนุบาลแห่งประเทศไทย เผยถึงแนวโน้มของเด็กไทยในทศวรรษที่ 21 ว่า เด็กจะขาดวินัย และความรับผิดชอบ เพราะแม้แต่เวลาไปโรงเรียน พ่อแม่ยังช่วยแบกเป้ สะพายกระเป๋า ถือปิ่นโต ห้อยกระติกน้ำแทนลูก ดังนั้นถ้าพ่อแม่สอนให้ลูกรู้จักช่วยเหลือตัวเอง ถือเป็นจุดเริ่มต้นการสอนให้ลูกมีความรับผิดชอบ รู้จักหน้าที่ มีระเบียบวินัย กล้าเผชิญกับปัญหา แก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้

อย่างไรก็ดี หนึ่งในงานที่ช่วยฝึกหน้าที่ และความรับผิดให้เด็กได้ดีนั้น คือ “งานบ้าน” เพราะถือเป็นสิ่งจำเป็นที่ลูกควรจะมีส่วนร่วมอย่างเหมาะสมในแต่ละวัย ฝึกให้เด็กเรียนรู้ทักษะการใช้ชีวิต เนื่องจากเด็กจะเรียนรู้ได้ดีผ่านการเล่น พ่อแม่ต้องทำให้งานบ้านเป็นเรื่องเล่นๆ สำหรับเด็ก ทำให้ลูกรู้สึกว่าอยากทำ และเชื่อว่าสามารถทำได้ โดยเริ่มจากเรื่องง่ายๆ เช่น การมีน้ำใจหยิบน้ำเย็นๆ มาให้ญาติผู้ใหญ่ดื่ม หรือให้กับคุณพ่อคุณแม่ที่กลับจากทำงานนอกบ้านมาเหนื่อยๆ

“เด็กอนุบาลวัย 3 ขวบขึ้นไป สามารถสื่อสารกับผู้ใหญ่อย่างเข้าใจได้ แต่ต้องใช้เวลา ซึ่งพ่อแม่ต้องมีความอดทนในการสอนงานบ้านให้กับลูก อย่าดูถูกความสามารถของลูก ให้เวลากับเขาได้ใช้ความพยายาม อาจมีการท้าทายแบบชักชวน เช่น การขัดรองเท้าว่าวันนี้ลูกขัดรองเท้าข้างซ้ายสะอาดกว่าข้างขวาอีกนะ แล้วจะทำยังไงให้มันสะอาดเหมือนกันดีค่ะ เด็กจะพยายามทำให้รองเท้าคู่นั้นสะอาดเหมือนกันได้” กรรมการสมาคมอนุบาลฯ อธิบาย

สำหรับข้อควรระวัง ดร.วรนาถย้ำว่า เมื่อต้องการให้ลูกมีส่วนร่วมในงานบ้าน พ่อแม่ไม่ควรใช้คำสั่งกับลูก เพราะเด็กจะคิดทันทีว่าถูกจำกัดอยู่ในกรอบ ทางที่ดีควรพูดชักชวนให้มาร่วมทำกิจกรรมด้วยความสนใจเอง โดยใช้อุปกรณ์ที่เหมาะสมกับเด็ก นอกจากนี้ควรมีคำชมให้ลูกทุกครั้ง เมื่อลูกทำความดี เป็นการสร้างแรงบันดาลใจให้กับลูก เช่น “วันนี้หนูเก่งจังเลยคะ หนูล้างจานได้ตั้ง 5 ใบ ได้เยอะกว่าเมื่อวานอีก” คำพูดเหล่านี้ จะช่วยให้เด็กมีกำลังใจ และเกิดความพยายามที่จะทำต่อให้ดีขึ้นกว่าเดิม

ทั้งนี้ ผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษาของเด็กอนุบาลรายนี้ได้ยกตัวอย่างจากครอบครัวของ ตัวเธอไว้เป็นแนวทางว่า สมัยก่อนครอบครัว เป็นชาวประมง มีกิจวัตรประจำวันหลังอาหารมื้อเย็นที่ทุกคนในบ้านต้องรับผิดชอบ ด้วยกันคือ นั่งล้อมวงกันเพื่อช่วยกันเก็บเศษไม้ใบหญ้าที่ติดมากับกุ้ง หอย ปู ปลาที่หามาได้ ทุกคนจะไม่คิดว่าเป็นการทำงานเลย

นอกจากนี้ ยังมีเกมที่ดึงเด็กให้สนุกกับงานบ้าน ชื่อว่า “งานบ้านตามล่ามหาสมบัติ” โดยเกมนี้ ดร.วรนาถ เล่าว่า คุณตาคุณยายมักจะชอบวางเงินไว้ตามใต้แจกัน หลังตู้เสื้อผ้า บนเก้าอี้ หลานๆ คนไหนขยันทำความสะอาด หรือว่าทำงานบ้านก็จะได้เงินไป เหมือนเป็นเกมตามล่ามหาสมบัติ สร้างแรงจูงใจในตัวเธอ และพี่น้อง ขยัน ที่จะทำงานบ้านอย่างเต็มที่ และสนุกในเวลาเดียวกัน

แม้ว่า “งานบ้าน” จะถูกมองว่าเป็นเรื่องไม่จำเป็น แต่เป็นงานที่สอนให้เด็กรู้จักหน้าที่ได้เป็นอย่างดี ถ้าพ่อแม่ทำให้เป็นเรื่องสนุก และเลือกทำอย่างเหมาะสม ถึงจะทำได้ไม่เต็มที่ อย่างน้อยลูกจะได้ซึมซับความรับผิดชอบ หน้าที่ และการช่วยเหลือคนอื่น ไม่เห็นแก่ส่วนตนเพียงอย่างเดียว

ขอบคุณข้อมูลและภาพ จาก theasianparent / thaihealth

Facebook Comments Box
สวัสดี