น่าอ่าน

ภูมิปัญญาชาวบ้านทำเสวียนหมักปุ๋ยให้ต้นไม้

เสวียน ภูมิปัญญาชาวบ้านที่อยู่คู่กับเกษตรกรไทยมาตั้งแต่สมัยก่อน โดยจะเห็ดได้ทั่วไปในชนบท กับการที่นำไม้ไผ่มาสานเป็นวงกลม แล้วนำไปครอบโคนต้นไม้ไว้ หรือที่เราเรียกกันว่า “เสวียน”

ไม้ไผ่เป็นไม้ที่มีความยืดหยุ่นสูง ทนทาน ดัดงอให้โค้งได้ง่าย แต่หักยาก เวลาว่างจากการทำสวนทำนา ชาวบ้านก็จะใช้เวลามานั่งสานเสวียนที่ทำจากไม้ไผ่ เพื่อเอาไว้เก็บเศษใบไม้ใบหญ้าเพื่อที่จะหมักปุ๋ย

เมื่อสานเสวียนเสร็จแล้วก็ไม่ต้องทำอะไรมาก เอาไปครอบไว้ที่โคนต้นไม้ กวาดเศษใบไม้ใบหญ้าทุกชนิด เทลงไปในเสวียน ใบไม้ที่ร่วงหล่นลงมาจากต้นไม้ใหญ่ก็จะร่วงลงมาใส่ในเสวียนที่โคนต้น เมื่อปล่อยทิ้งไว้นานวันเข้ายิ่งทับถมกันมากขึ้น ก็จะเกิดการย่อยสลาย กลายเป็นปุ๋ยและไหลลงสู่ดิน กลับไปเป็นปุ๋ยให้ต้นไม้อีกที วนเวียนอยู่อย่างนี้ไปเรื่อยๆ

คนสมัยก่อนเขาช่างคิดช่างทำ สามารถนำสิ่งรอบตัวมาประยุกต์ใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย เขาไม่กวาดกองแล้วเผา แต่สิ่งเหล่านี้กำลังจะเลือนหายไปตามกาลเวลา พร้อมกับการมาแทนที่ของการทำไร่ ทำสวน ทำเกษตรเชิงเดี่ยว กับการเข้ามาของแนวิดทุนนิยมสมัยใหม่

วิธีการใช้เสวียนหมักปุ๋ยให้ต้นไม้
1 นำเสวียนมาครอบโคนต้นไม้
2 กวาดเศษใบไม้ เศษวัชพืช ต่างๆมากองใส่ไว้ในเสวียน
3 เพื่อเร่งการหมัก การย่อยสลายให้เร็วขึ้น รดน้ำหมักชีวภาพลงไปเล็กน้อย

dav

ข้อดีของการใช้เสวียนหมักปุ๋ย
1 ลดการเผาใบไม้ ลดมลพิษทางอากาศ
2 ลดการใช้ปุ๋ยเคมี ไม่ต้องพึ่งพาปุ๋ยเคมี
3 ลดต้นทุน ลดค่าใช้จ่าย เพราะ ไม่ต้องซื้อปุ๋ย

โครงการ “อาสาร่วมใจ เชียงรายปลอดขยะ” โดยมี นายวรพจน์ เอี่ยมรักษา ท้องถิ่น จ.เชียงราย นำตัวแทนส่วนราชการต่างๆ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั่ว จ.เชียงราย กลุ่มจิตอาสา กลุ่มประชาชนอาสามัครท้องถิ่นรักษ์โลกขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและประชาชนทั่วไป

เข้าร่วมประมาณ 1,000 คน กิจกรรมมีการร่วมกันจัดทำเสวียนครอบต้นไม้ทุกต้นบริเวณโดยรอบศาลากลาง จ.เชียงราย และริมฝั่งแม่น้ำกกเพื่อใช้เป็นสถานที่เก็บกิ่งไม้ใบไม้รวมทั้งขยะเปียกให้เป็นปุ๋ยของต้นไม้ โดยกิจกรรมจะมีการร่วมกันทำเสวียนตลอดระยะเวลา 4 วันต่อไป

โดยนายณรงค์ศักดิ์ กล่าวว่า ปัญหาขยะเป็นนโยบายแห่งชาติที่ต้องอาศัยการบริหารจัดการให้ถูกต้อง เพราะขยะเป็นสิ่งที่ไม่มีวันหมดไปจากโลก ทำให้หากมุ่งจะกำจัดอย่างเดียวจะไม่มีทางประสบความสำเร็จได้

โดยการบริหารจัดการมีทั้งหลากหลายวิธีทั้งการนำไปทำปุ๋ยอินทรีย์ กำจัดโดยตรง นำมาใช้ใหม่หรือรีไซเคิล ฯลฯ รวมทั้งแบ่งประเภทขยะออกเป็น 4 ประเภทขยะอันตราย ขยะติดเชื้อ ขยะอุตสาหกรรม และขยะในครัวเรือน ซึ่งในปี 2560 ที่ผ่านมา จ.เชียงราย ก็สามารถลดขยะได้กว่าร้อยละ 21 จากการที่รัฐบาลได้กำหนดให้ลดขยะให้ได้ร้อยละ 5 ด้วย

นายณรงค์ศักดิ์ กล่าวอีกว่า ปีเดียวกันนี้ จ.เชียงราย มีการติดตั้งจุดรับขยะอันตรายทั่วจังหวัดไปกว่า 1,890 จุด ทำให้สามารถนำขยะประเภทนี้ออกไปทำลายได้อย่างถูกวิธีแล้ว ส่วนด้านขยะติดเชื้อพบว่าในปี 2561

นี้ยังได้รับงบประมาณจากกรมควบคมมลพิษจัดทำสถานที่ทำลายขยะติดเชื้อ ณ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ขณะที่ขยะอุตสาหกรรมพบว่าในพื้นที่จังหวัดมีอยู่น้อยมากเพราะส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมแปรรูปทางการเกษตร

ดังนั้นจึงเหลือเพียงขยะชุมชนหรือในครัวเรือนดังกล่าวซึ่งที่ผ่านมาก็สามารถลดได้ร้อยละ 21 ดังกล่าวโดยบางชุมชนนำขยะมารีไซเคิลได้ถึงร้อยละ 50 ของขยะทั้งหมดทำให้เชียงรายกลายเป็นจังหวัดสีเขียวอย่างแท้จริงแล้ว

“การทำเสวียนสามารถเก็บกิ่งไม้ ใบไม้ เศษอาหาร ให้เป็นปุ๋ยอินทรีย์กับต้นไม้ได้ ซึ่งเรื่องนี้ถือเป็นภูมิปัญญาที่ชาวบ้านมีมานานแล้วและสมควรอย่างยิ่งที่จะได้นำกลับมาใช้โดยร่วมกันดูแลรักษา

ซึ่งในส่วนของท้องถิ่นต่างๆ ที่เข้ามาสร้างที่ศาลากลางจังหวัดครั้งนี้ก็จะได้เข้ามาดูแลเพื่อให้คงอยู่ตลอดไป” นายณรงค์ศักดิ์ กล่าวและว่า นอกจากทำเสวียนแล้วทางจังหวัดยังจะหาสถานที่เพื่อรวบรวมขยะอินทรีย์เพื่อนำไปทำน้ำหมักชีวภาพอีกด้วย

ด้านนายวรพจน์ กล่าวว่า ปีที่ผ่านมาจังหวัดมีการรณรงค์และให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นร่วมกันกำจัดขยะอย่างถูกวิธีอย่างต่อเนื่อง และในส่วนของการรวบรวมขยะอันตรายพบว่าสามารถนำไปกำจัดนอกพื้นที่ได้อย่างถูกต้องตามหลักวิชาการได้กว่า 23 ตัน และการดำเนินการจะมีความต่อเนื่องต่อไปโดยการจัดทำเสวียนดังกต่อไป.

Facebook Comments Box
สวัสดี