ปลูกผักหลอกศัตรูพืช ทำให้ผักงาม สร้างผลผลิตได้ทั้งปี
พงษ์พัฒน์ แก้วพะเนาว์ เกษตรกรรุ่นใหม่ จ.มหาสารคาม เผยถึงวิธีบริหารจัดการสวนผักในแบบฉบับของตัวเอง “ผมพลิกฟื้นดินทุ่งกุลาร้องไห้ให้กลับมามีแร่ธาตุ จนสามารถปลูกพืชผักได้แล้วเริ่มคิดว่า เราทำยังไงถึงจะได้ผลผลิตออกขายทุกวัน

เลยทดลองทำในที่ตัวเอง 7 ไร่ครึ่ง ลองผิดลองถูกจนได้วิธีการปลูกผักให้เก็บเกี่ยวได้ตลอด 365 วัน โดยปลูกพืชคละชนิดกัน ไล่ไปตามอายุเก็บเกี่ยว จากนั้นขยายสู่แปลงอื่น ทยอยลงไล่วันกันไป โดยอาศัยปฏิทินเพาะปลูกที่คิดขึ้นเอง”

โดยวันนี้เราก็จะนำเทคนิคดีๆมาฝากซึ่งนั่นก็เป็นการปลูกผักหลอกศัตรูพืช ซึ่งหลายคนอาจจะสงสัยว่าวิธีนี้มันทำกันอย่างไรโดยในวันนี้ก็จะมาบอกวิธีนี้กันซึ่งก็จะเป็นจะวิธีคุณพงษ์พัฒน์ แก้วพะนาว์ ที่ได้มีการใช้วิธีนี้ในส่วนของตัวเองมาอย่างยาวนานแล้ว

โดยเริ่มต้นคุณพงษ์พัฒน์เริ่มจากการแบ่งพื้นที่ออกเป็น 60 แปลง โดยแบ่งเป็นแปลงละประมาณครึ่งงานและแบ่งซอยยกแปลงออกเป็น 7 แถว จากนั้นก็ทำการปลูกพืชสลับกับปลูกพืชชนิดอื่นสลับกันไปเป็นจำนวน 7 ชนิดซึ่งจะประกอบไปด้วยขึ้นฉ่าย ผักโขม ผักสลัด ผักบุ้ง กะเพรา หอม โหระพา

โดยจะมีการนำผักลงในแปลงปลูกและทยอยปลูกห่างกันแปลงละ 1 วันและมีการปลูกพืช 7 ชนิดและเจ็ดแถวโดยในแต่ละแปลงนั้นจะต้องทำการปลูกห่างกันประมาณ 1 สัปดาห์
สัปดาห์ที่ 1 ปลูกพืชที่มีอายุเก็บเกี่ยว 60 วันเช่น ขึ้นฉ่าย
สัปดาห์ที่ 2 ปลูกพืชที่มีอายุเก็บเกี่ยว 50 วันเช่นผักสลัด
สัปดาห์ที่ 3 ปลูกพืชที่มีอายุเก็บเกี่ยว 45 วันเช่น หอมแบ่ง

สัปดาห์ที่ 4 ปลูกพืชที่มีอายุเก็บเกี่ยว 35 วันเช่น ผักโขม
สัปดาห์ที่ 5 ปลูกพืชที่มีอายุเก็บเกี่ยว 30 วันเช่น ผักบุ้ง
สัปดาห์ที่ 6 ปลูกพืชที่มีอายุเก็บเกี่ยว ครึ่งปี วันเช่น กะเพรา โหระพา
สัปดาห์ที่ 7 สุดท้าย ปลูกผักพื้นบ้านอย่าง พริก สะระแหน่ ผัก เครื่องเคียงต่างๆ
ซึ่งการปลูกผักแบบนี้จะทำให้ผักนั้นมีระยะเวลาเก็บเกี่ยวที่ได้เรียกกันทุกชนิดและไม่ต้องกลัวว่าผักนั้นจะล้นตลาดจนทำให้เสียราคาและเมื่อได้มีการเก็บผักชนิดแต่ละชนิดหมดแล้วก็ทำการพลิกหน้าดินกลบเข้าที่เดิมและเป็นเติมปุ๋ยอินทรีย์ลงไปพักดินไว้ 3 วันก่อนจะค่อยเริ่มปลูกผักชนิดใหม่ในทันทียกเว้นกระเพราและโหระพาจะต้องรอไปจนถึงครึ่งปี

ตั้งแต่สิ่งที่สำคัญข้อควรที่จะต้องควรระวังเอาไว้นั่นก็คือไม่ควรปลูกพืชชนิดเดียวกันซ้ำในที่เดิมควรปลูกพืชชนิดอื่นสลับกันไปในแต่ละครั้งซึ่งวิธีนี้จะสามารถช่วยป้องกันโรคและศัตรูพืชได้เป็นอย่างดี
ถ้าจะไม่ต้องใช้สารเคมีในการดูแลเลยผลการบริหารจัดการสวนผักด้วยวิธีนี้ พงษ์พัฒน์ บอกว่า ปีหนึ่งๆ คิดเฉลี่ยแล้วทำเงินได้ไร่ละ 600,000 ยังไม่นับรวมรายได้จากพืชอื่นๆ ข้าวโพด กล้วย แครอท มะเขือ กะหล่ำ เห็ดจากโรงเรือน ฯลฯ ที่ปลูกในพื้นที่ว่างอีกต่างหาก อยากเรียนรู้วิธีทำมาหากินเยี่ยงนี้ ถามไปได้ที่ 06-1339-0743.