เกษตรน่ารู้

การเลี้ยงปลาไหล สร้างรายได้หลักแสน พร้อมวิธีการเลี้ยง การให้อาหาร จากผู้เลี้ยงมา 30 ปี

กลับมาพบเจอกันอีกแล้ว ก่อนอื่นแอดมินและทีมงานเพจแบบบ้านเกษตรกับธรรมะ ก็ขอขอบคุณที่ท่านผู้อ่านยังคงติดตามผลงานของเรามาตลอด เราจะคอยสรรหานำเสนอเรื่องราวดีๆ ให้ความใจโลงใจและมีประโยชน์แก่แฟนเพจทั้งหลายให้ท่านได้อ่านเรื่อยๆนะคะ ก่อนที่เราจะไปอ่านเรื่องราวในวันนี้  แอดมินและทางทีมงานขออวยพรให้ท่านแฟนเพจมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง มีแต่สิ่งดีๆเข้ามาในชีวิตด้วยนะคะ

การเลี้ยงปลาไหลถือว่าเป็นอีกหนึ่งอาชีพที่มีเกษตรกรเลี้ยงยังไม่แพร่หลายนักแต่พูดถูกการสร้างรายได้ข ายกิโลกรัม 350 บาท เลยทีเดียว เรามาดูขั้นตอนการเลี้ยงและการให้อาหารกันครับ

ระยะเวลาในการเลี้ยงก็ใช้เวลาราวๆ ประมาณ 6 เดือน ก็สามารถจับข ายได้ครับ ปลาไหลที่เราเลี้ยงนั้น เริ่มแรกก็รับซื้อมาจากชาวบ้านที่ไปหาได้ตามธรรมชาติแต่ทุกวันนี้สามารถเพาะขย ายพั น ธุ์เองทั้งหมด

ส่วนประกอบของอาหารที่ใช้เลี้ยงปลาไหล

1รำ

2ขี้ปลา ไม่ว่าจะเป็นขี้ปลาดุก ปลานิล ปลาช่อน ใช้ได้ทั้งหมดครับ

3EM

4กากน้ำตาล

อัตราส่วน 1:1 หมักทิ้งไว้ 1 คืน แล้วปั้นให้เป็นก้อน แล้วนำออกไปแตกแดดให้แห้งสนิทเลยนะครับ การให้อาหารก็ประมาณ 1 สัปดาห์ต่อครั้ง บ่อหนึ่งจะให้อาหารแก่ปลาไหลประมาณ 10 ก้อนต่อบ่อและอาจจะเป็นพวกปลาต า ยก็สามารถเป็นอาหารของปลาไหลได้

การให้อาหารก็กระจายเป็นจุดๆ ในบ่อครับ

ลักษณะของบ่อที่เลี้ยงนั้นจะคล้ายๆ การเลี้ยงหอยหรือกุ้งฝอยแต่ที่พิเศษกว่าคือจะแบ่งบ่อเลี้ยงออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่เป็นโคนตม ซึ่งโคนที่นำมาเลี้ยงควรที่จะมาจากสระหรือบ่อที่ปลาไหลอาศัยตามธรรมชาติมาเลี้ยง ส่วนที่เป็นน้ำเพื่อให้ปลาไหลได้ว่ายออกมาหาอาหาร

ระดับน้ำที่ใช้ก็ประมาณครึ่งฝามือ ไม่ต้องลึกมากกว่านี้ พืชที่ใช้ในการเลี้ยงก็หาได้ทั่วไป ในที่นี้เราใช้ผักตบชวาให้เป็นที่อยู่อาศัยให้กับปลาไหลครับ

ในตอนกลางวันนั้นพฤติกรรมของเขาจะชอบหมักตัวอยู่ในตม แต่ถ้าตอนกลางคืนจะออกมาว่ายน้ำ การเปลี่ยนถ่ายน้ำในบ่อ ควรที่จะสังเกตสีของน้ำว่าขุ่นมากขุ่นน้อย แต่ที่แน่นอนที่สุดก็จะเป็นสัปดาห์ละครั้ง หลักการสังเกตปลาไหลตัวที่สมบูรณ์นั้นมีหลักการสังเกตง่ายๆ คือสีของตัวเขาจะใส เงาครับ

ชมการเลี้ยงปลาไหลให้ตัวใหญ่ พร้อมสูตรอาหารที่ทำให้ปลาไหลของคุณ ตัวโต สุขภาพแข็งแรง โดยผู้มีประสบการณ์มากว่า 30 ปี ขอบคุณ คุณแม่สายสมร จารุวันโน โทร.061-0459764

แหล่งที่มาจาก ช่องยูทูป ทุ่งกุลา channel ขอบคุณข้อมูล วิถีชีวิตเกษตรพอเพียง เรียบเรียงโดย เพจแบบบ้านเกษตรกับธรรมะ

Facebook Comments Box
สวัสดี